Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1988
Title: การพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมที่อยู่บ้าน
Other Titles: The Development of Clinical Practice Guideline for Aging Dementia at Home
Authors: รัชนี นามจันทรา
กัลยา ศารทูลทัต
Keywords: ผู้สูงอายุ -- การดูแล
Older people -- Care
ภาวะสมองเสื่อม -- ผู้ป่วย -- การดูแลที่บ้าน
Dementia -- Patients -- Home care.
Issue Date: 2006
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: ในสังคมไทย การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมที่อยู่บ้าน เป็นบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมที่อยู่บ้านประสบกับปัญหาหลายอย่าง อาทิเช่น การขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแล การเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการดูแลที่ไม่เหมาะสมและความเครียดของผู้ดูแล ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่สามารถป้องกันหรือลดความรุนแรงของปัญหาลงได้หากมีการจัดการที่เหมาะสม การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมที่อยู่บ้าน การดำเนินการศึกษาแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นการพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมที่อยู่บ้าน จากการศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง การทบทวนผลการวิจัย เอกสารตำราทางวิชาการเกี่ยวกับผู้สูงอายุ และข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมจากฐานข้อมูลต่างๆ นำมาสังเคราะห์ และพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมที่อยู่บ้าน 9 เรื่อง คือ 1) การรับประทานอาหาร 2) การอาบน้ำ 3) การแต่งตัว 4) การขับถ่ายและการใช้ห้องน้ำ 5) การนอน 6) อาการประสาทหลอน 7) การลืมของ ชอบกล่าวหาผู้อื่น 8) การหลงออกนอกบ้าน และ 9) การส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วย การออกกำลังกายสม่ำเสมอ ภาวะโภชนาการที่เหมาะสม การมีส่วนร่วมในกิจกรรมครอบครัวและสังคม การมีสุขภาพจิตที่ดีอยู่เสมอ และการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ขั้นตอนที่ 2 เป็นการนำแนวปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมที่อยู่บ้านไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมและผู้ดูแลที่ติดต่อเข้ามาปรึกษา ณ สถานที่รับดูแลผู้สูงอายุแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครา จำนวน 3 ราย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบทดสอบสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย MMSE-Thai 2002 แบบบันทึกการซักประวัติและตรวจร่างกายทั่วไปตามระบบ และแบบสัมภาษณ์ปัญหาและการจัดการการดูแลด้านกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ ผลการศึกษา พบว่า การใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมที่อยู่บ้าน สามารถช่วยลดปัญหาต่างๆ ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมได้ ผู้สูงอายุสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันบางอย่างได้มากขึ้น ญาติผู้ดูแลรู้สึกเครียดน้อยลง และมีความมั่นใจในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น
In Thai society, dementia aging care at home is responsibility of the family. There are some problems occur with members in the family, for examples, lack of proper understanding for care giving, complication happening from inappropriate care giving, and stress of care giver. All of these problems can be prevented or released the severity if there are ways for appropriate management. In this independent study, the development of clinical practice guideline for aging with dementia at home is the main purpose. The process of the study has been divided into 2 phases. First, the development of clinical practice guideline for aging with dementia at home were studied in all essential knowledge relevant in aging with dementia, revised some clinical practice guidelines from many researches about aging, and some information about dementia aging care from many diverse databases. All of these were synthesized and developed to the clinical practice guideline for aging with dementia at home in main 9 topics. These are eating, bathing, dressing, defecation and activities in toilet, sleeping, hallucination, forgetting something and blaming somebody in general, wandering, and health promotion. About health promotion, they consist of periodic self exercise, nutrition in proper, participation in activities within family and community, always having good mental mind, and avoidance from all risky activities. In second phase, that is the application of clinical practice guideline for aging with dementia at home in sample size group, that are the 3 aging with dementia and theirs caregiver who contacted for consulting in the one aging home care in Bangkok. This study used MMSE-Thai 2002, health assessment and general physical examination form, and an interviewed question guideline for problems and management in aging daily activities. The study found that the implementation of the clinical practice guideline for dementia aging care at home can release some problems in dementia aging care. The ages persons could perform more daily activities by themselves. The family’s caregivers felt release and had more confident in taking for the elderly with dementia.
Description: การศึกษาด้วยตนเอง (พย. ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2549
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1988
Appears in Collections:Nursing - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kulaya-Saltoontat.pdf13.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.