Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1992
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพวงชมพู โจนส์-
dc.contributor.authorกานต์รวี จันทร์เจือมาศ-
dc.date.accessioned2024-03-31T03:42:24Z-
dc.date.available2024-03-31T03:42:24Z-
dc.date.issued2005-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1992-
dc.descriptionภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2548th
dc.description.abstractปัจจุบัน ปัญหาประการหนึ่งที่ทางธุรกิจประสบกันอย่างมาก ก็คือ การสูญเสียบุคลากร ซึ่งปัญหาดังกล่าว อาจเกิดจากสาเหตุสำคัญหลายประการ สาเหตุประการหนึ่ง ก็คือ ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรนั่นเอง ซึ่งเมื่อธุรกิจได้รับบุคลากรเข้าทำงานแล้ว บุคลากรไม่มีความรักในองค์การ บุคคลประเภทนี้ก็จะไม่มีความกระตือรือร้น ไม่มีความทุ่มเทในการทำงาน องค์การจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความผูกพันต่อองค์การให้เกิดขึ้น เพื่อมัดใจให้บุคลากรอยู่กับองค์การนานๆ ซึ่งเมื่อบุคลากรเกิดความผูกพันต่อองค์การแล้ว ก็อาจจะนำไปสู่ความจงรักภักดี ความทุ่มเท ความกระตือรือร้นในการทำงาน ทั้งยังอาจช่วยลดปัญหาการลาออกของพนักงานในอนาคตต่อไปได้อีกด้วย การศึกษาเรื่อง “ปัจจัยจูงใจที่มีอิทธิพบต่อความผูกพันต่อองค์การ : กรณีศึกษา บริษัทอุตสาหกรรมแอคมิ จำกัด” ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตการศึกษาเฉพาะพนักงานระดับปฏิบัติที่ทำงาน ณ โรงงานบางบ่อ ถนนบางนา-ตราด กม. 35 เท่านั้น ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม โดยทำการแบ่งคำถามออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นคำถามข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 เป็นคำถามวัดความพึงพอใจในปัจจัยจูงใจ 6 ด้าน ส่วนที่ 3 เป็นคำถามวัดความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์การ การวิเคราะห์ใช้ค่าสถิติที่เหมาะสมกับข้อมูล คือ ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ อัตราส่วนร้อยละ ข้อมูลด้านปัจจัยจูงใจและข้อมูลความผูกพัน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ อัตราส่วน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐาน ในการเปรียบเทียบความแตกต่างของตัวแปรตามใช้การทดสอบที่ไม่ใช้พารามิเตอร์ ส่วนการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ใช้ค่าสถิติไคสแควร์ในการทดสอล สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ คือ ปัจจัยทั้ง 6 ปัจจัย ได้แก่ ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน เงินเดือน/ผลตอบแทน ความมั่นคงในงาน ลักษณะงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน มีอิทธิพลกับความผูกพันของพนักงานต่อองค์การในระดับปานกลาง ผลการวิจัยในครั้งนี้ อาจจะมี Bias บ้าง เนื่องจากพนักงานอาจจะไม่กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นที่แท้จริงของตนเอง เพราะกลัวการถูกตำหนิจากหัวหน้างาน แต่อย่างไรก็ตาม ผลงานวิจัยครั้งนี้ เป็นสิ่งที่ผู้บริหาร หรือผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องของบริษัทอุตสาหกรรมแอคมิ จำกัด ควรจะพิจารณานำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาและปรับปรุงหน่วยงาน พร้อมทั้งแก้ไขในเรื่องของการบริหารทรัพยากมนุษย์ในองค์การ โดยเฉพาะในเรื่องของการสร้างความผูกพันในองค์การ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การต่อไปth
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectบริษัท อุตสาหกรรมแอคมิ จำกัดth
dc.subjectAcme Industries Co., Ltd.th
dc.subjectพฤติกรรมองค์การth
dc.subjectOrganizational behaviorth
dc.subjectการบริหารงานบุคคลth
dc.subjectPersonnel managementth
dc.subjectการบริหารองค์การth
dc.subjectOrganization -- Managementth
dc.subjectความผูกพันต่อองค์การth
dc.subjectOrganizational commitmentth
dc.titleการศึกษาปัจจัยจูงใจที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การ กรณีศึกษา : บริษัท อุตสาหกรรมแอคมิ จำกัดth
dc.title.alternativeThe Motivational Factors Influencing Loyalty to the Organization : Case Study of Acme Industries Co., Ltd.th
dc.typeIndependent Studiesth
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineบริหารธุรกิจth
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Karnrawee-Chancheumas.pdf11.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.