Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1994
Title: การประยุกต์ใช้หลักการซิกซ์ ซิกม่า เพื่อลดปริมาณการสูญเสียก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการจัดส่ง : กรณีศึกษาบริษัทแพรกซ์แอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
Other Titles: Six Sigma Approach for Decreasing Losses of Carbon Dioxide Gas via Distribution Process : A Case Study of Praxair (Thailand) Co., Ltd.
Authors: พิษณุ วรรณกูล
กำจร สมาธิ
Keywords: บริษัท แพรกซ์แอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
Praxair (Thailand) Co., Ltd.
ซิกซ์ซิกมา (มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ)
Six sigma (Quality control standard)
การควบคุมความสูญเปล่า
Loss control
คาร์บอนไดออกไซด์ -- การขนส่ง
Carbon dioxide -- Transportation
Issue Date: 2011
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาอิสระเรื่อง “การประยุกต์ใช้หลักการซิกซ์ ซิกม่า (Six Sigma) เพื่อลดปริมาณการสูญเสียก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการจัดส่ง กรณีศึกษา บริษัทแพรกซ์แอร์ (ประเทศไทย) จำกัด” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและหาแนวทางแก้ไขปัจจัยที่ส่งผลต่อการสูญเสียของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ให้บรรลุเป้าหมายในการลดต้นทุนในกระบวนการจัดส่งก๊าซ โดยผู้ศึกษาได้ประยุกต์ใช้หลักการซิกซ์ ซิกม่า เริ่มเก็บรวมบรวมช้อมูลจากการสัมภาษณ์ สำรวจและสังเกตการณ์พื้นที่หน้างาน และนำข้อมูลการจัดส่งก๊าซที่มีการบันทึกไว้ มาศึกษาหาปัจจัยที่ส่งผล และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการตามแนวทางของซิกซ์ ซิกม่า 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการหาปัญหาและกำหนดขอบเขตของปัญหา (Define Phase) ขั้นตอนการวัดและการเก็บรวบรวมข้อมูล (Measure Phase) ขั้นตอนการวิเคราะห์หาสาเหตุ (Analyze Phase) ขั้นตอนการปรับปรุง (Improve Phase) และขั้นตอนการควบคุมและขยายผล (Control Phase) ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการสูญเสีย คือ แรงดันของแทงค์ และการใช้งานลูกค้าขณะถ่ายเทก๊าฐ มีอัตราการสูญเสียก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการจัดส่งก่อนการปรับปรุงเฉลี่ย ร้อยละ 3.03 หลังจากดำเนินการตามขั้นตอนของซิกซ์ ซิกม่าจนครบสมบูรณ์ทุกขั้นตอนแล้ว สามารถลดอัตราการสูญเสียก๊าซดังกล่าว เหลือร้อยละ 2.78 หรือลดลงร้อยละ 11 จากการสูญเสียก๊าซทั้งหมด เมื่อนำผลการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งระบบ สามารถคิดเป็นเงินได้ประมาณ 1.9 ล้านบาทต่อไป อีกทั้งยังนำไปใช้เป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้กับก๊าซชนิดอื่นๆ ที่มีวิธีการในกระบวนการจัดส่งในรูปแบบเดียวกัน เช่น ก๊าซไนโตรเจน ก๊าซอาร์กอน ก๊าซออกซิเจน หรือก๊าซผสมอื่นๆ เป็นต้น
Description: การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (การจัดการอุตสาหกรรม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2554
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1994
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kamjorn-Samati.pdf14.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.