Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2006
Title: การวิเคราะห์การบริหารเงินทุนหมุนเวียน : กรณีศึกษา บริษัท อินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด
Other Titles: Analysis of the Working Capital Management : A Case Study of Industrial Gas Co.,Ltd.
Authors: กุศยา ลีฬหาวงศ์
ขวัญชนก บางหลวง
Keywords: เงินทุนหมุนเวียน
Working capital
การบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน
Asset-liability management
บริษัท อินดัสเตรียลแก๊ส
Issue Date: 2002
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดโอกาสการเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง ซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้หลายบริษัทถึงกับล้มละลายแม้จะมีกำไรก็ตาม ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมุ่งศึกษา การบริหารเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งหมายถึงการบริหารสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียน โดยใช้บริษัทอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด เป็นกรณีศึกษา เนื่องจากเป็นบริษัที่เป็นผู้นำในตลาดก๊าซอุตสาหกรรม เพื่อศึกษาถึงความเหมาะสมของระดับเงินทุนหมุนเวียน การแก้ปัญหาด้านเงินทุนหมุนเวียน รวมทั้งเสนอแนวทางเพิ่มเติมในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารเงินทุนหมุนเวียน โดยศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งจะมีการวิเคราะห์งบการเงิน และการบริหารเงินทุนหมุนเวียนในรอบปี 2539-2543 ซึ่งเป็นช่วงก่อนและหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไทย ผลการศึกษา พบว่า บริษัทมีนโยบายในการรักษาระดับเงินทุนหมุนเวียนที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน คือ มีหนี้สินหมุนเวียนสูงกว่าสินทรัพย์หมุนเวียนมาก แสดงถึงบริษัทมีแนวโน้มที่อาจจะเกิดปัญหาสภาพคล่องได้ แต่บริษัทก็มีความสามารถในการบริหารสินทรัพย์หมนุเวียนได้เร็วกว่าบริษัทคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยมีวงจรเงินสดที่สั้นที่สุด อย่างไรก็ตามบริษัทยังคงต้องระวังในการให้กู้ระยะสั้นกับบริษัทร่วมและบริษัทย่อย ซึ่งมีอัตราสูงกว่าร้อยละ 50 ของสินทรัพย์หมุนเวียนที่มีอยู่ทั้งหมดตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา เพราะหากมีสภาพคล่องน้อย อาจส่งผลกระทบให้บริษัทเกิดปัญหาสภาพคล่องได้ ดังนั้น บริษัทควรมีการกระจายความเสี่ยงโดยการลดระดับเงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บริษัทย่อยและบริษัทร่วม นอกจากนี้ ถึงแม้บริษัทจะมีวงจรเงินสดที่สั้น แต่ระยะเวลาในการจ่ายชำระหนี้ของบริษัทก็ยังสั้นกว่าระยะเวลาที่บริษัทเก็บหนี้จากลูกค้าได้ ซึ่งทำให้บริษัทต้องใช้แหล่งเงินทุนระยะสั้นจากภายนอกมาชำระหนี้ ซึ่งบริษัทก็จะมีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยในส่วนนี้ ดังนั้น บริษัทควรจะขยายเวลาในการขำระหนี้ออกไปอีก และควรมีเร่งรัดการเก็บหนี้ให้เร็วขึ้นพอดีกัน
Description: ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2545
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2006
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kwanchanok-Bangluang.pdf8.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.