Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/201
Title: | การเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุ การมองเห็นคุณค่าตนเองและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนแออัดเขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Self Preparation for Aging Self Esteem and Health Behavior of the Aging in Bangkok Slum Areas |
Authors: | ทิพาภรณ์ โพถวิล Thipaporn Phothithawil สุภาวดี สว่างจิตต์ Supawadee Sawangjit Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
Keywords: | ผู้สูงอายุ -- การดูแล ผู้สูงอายุ -- สุขภาพและอนามัย ความนับถือตนเอง ชุมชนแออัด -- ไทย -- กรุงเทพฯ ผู้สูงอายุ -- การดำเนินชีวิต Older people -- Care Older people -- Health and hygiene Self-esteem Slums -- Thailand -- Bangkok Older people -- Conduct of life |
Issue Date: | 2003 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุ การมองเห็นคุณค่าตนเองและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนแออัดเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุ การมองเห็นคุณค่าตนเอง พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป และอาศัยอยู่ในชุมชนแออัดเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือและวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรม SPSS FOR WINDOW เพื่อหาค่าร้อยละ (Percent) การวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Multiple Regression) ผลการศึกษาข้อมูลโดยทั่วไปพบว่า ส่วนใหญ่ผู้ตอบแบบสัมภาษณ์เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 60-74 ปี สถานภาพสมรส มีบุตรจำนวน 1-3 คน มีสมาชิกที่อยู่ประจำในครัวเรือนจำนวน 4-6 การศึกษาระดับประถมศึกษา สุขภาพร่างกายในปัจจุบันแข็งแรง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างเป็นอาชีพสุดท้าย ปัจจุบันมีรายได้จากบุตรหลานประมาณ 1,000-5,000 บาท การเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุ พบว่า 1) การเตรียมตัวด้านจิตใจ ส่วนใหญ่ใช้กิจกรรมยามว่าง ดูทีวี ฟังวิทยุ 2) การเตรียมตัวด้านร่างกาย ส่วนใหญ่รับประทานผัก ผลไม้ เป็นประจำ 3) การเตรียมตัวด้านที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่ได้รับอากาศถ่ายเทสะดวกในห้องนอนที่พัก 4) การเตรียมตัวด้านเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่มีเงินออมและทรัพย์สมบัติ การมองเห็นคุณค่าตนเอง พบว่า 1) ความรู้สึกต่อร่างกายตนเอง ส่วนใหญ่ทำใจได้ที่สามารถขับถ่ายอุจจาระได้ทุกวัน 2) ความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับบุคคลอื่น ส่วนใหญ่มีความสุขที่ได้ร่วมกิจกรรมในชุมชน 3) ความสำเร็จของตนเอง ส่วนใหญ่มีความสุขที่อบรมบุตรหลานให้เป็นคนดี และ 4) ความเชื่อมันในตนเอง ส่วนใหญ่มีความพอใจที่ได้ทำประโยชน์แก่บุตรหลานและสมาชิก พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่า 1) พฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรค ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมสุขภาพในการรักษาความสะอาดของร่างกายและรับประทานอาหาร 2) พฤติกรรมสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย ส่วนใหญ่เมื่อเจ็บป่วยจะพักผ่อนตามคำแนะนำของแพทย์ และ 3) พฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถดูแลตนเองตามคำแนะนำของแพทย์ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ได้แก่การเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุด้านร่างกาย การมองเห็นคุณค่าตนเองต่อร่างกาย การมองเห็นคุณค่าตนเองต่อความสำเร็จ การมองเห็นคุณค่าตนเองต่อความเชื่อมั่นในตนเอง ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะในการศึกษา ได้แก่ 1) จัดให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้และบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะในด้านการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุ 2) รณรงค์เสริมสร้างและปลูกฝังค่านิยมให้แก่ ครอบครัว ชุมชน สังคม เห็นคุณค่าของผู้สูงอายุ ในด้านของความรู้และประสบการณ์ของผู้สูงอายุโดยอาศัยความร่วมมือจากสื่อมวลชนในรูปแบบต่าง ๆ และ 3) รัฐควรขยายบริการสวัสดิการด้านสุขภาพอนามัยสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่การให้ความรู้ การรักษาการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ This research is study on self preparation, self esteem and health behavior of the Aging in Bangkok slum areas. Objectives are to study characters of self preparation, Self Esteem, Health Behavior of the aging and factors resulting in health behavior of older people. The target group is older people aged starting from 60 year olds onward, numbering 400 people. Theses people live in Bangkok slum areas. Data collection is designed to use interview form as a tool. Data analysis is made by computer (Spss For Window Program) to get the percentage of analysis on the relations of determining factors by analyzing Multiple Regression. Results of the study reveal that most of those who answer interview forms are married female aged ranging from 60-74 year olds. They have 1-3 children. Regular members in their families are ranging from 4-6 people. Level of education is primary schooling. They are still strong. Most of them make their living as daily wage earners as their last occupations. At present, they get Bahts 1,000-5,000 from their children/grand children. Regarding Self Preparation for Aging the study finds that 1) mental preparation; most of the target people spend their free times to watch television and listen to radio. 2) physical preparation; most of them regularly eat vegetables and fruits, 3) residential preparation; most of them get good ventilation in their bedrooms/horses, 4) economic preparation : mist of them have savings and possessions. Regarding Self Esteem, the study finds that 1) self physical feelings: most of them accept that they are able to go to the toilet daily, 2) relations between themselves and the other: most of them are happy to attend activities in their communities, 3) self success: most of them appreciate all benefits they have done for their children/grand children and members in families. Regarding Health Behavior of older People, the study fins that 1) disease prevention : most of them have good health behavior on body cleaning and food eating, 2) when the get sick: most of them take a rest as suggested by physicians, 3) as on older person who is sick: most of them are able to take care of themselves as suggested by physicians. Results of testing Hypothesis, the study finds that there are several factors greatly having influences on behaviors of older people such as self preparation physical aspects, self esteem on physical successful and Reliant aspects. There are several suggestion of this study of this study such as 1) Education ad services on basic public health for older people, especially for self preparation for old age, 2) campaign and values made to family, community, society in order to pay attention to values made of knowledge and experiences of older people though cooperation from mass media in different forms, 3) government agencies in charge should expand health welfare services to older people such as health education, treatment support promotion and revived. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/201 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.pdf | 578 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tableofcontents.pdf | 230.61 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter1.pdf | 1.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter2.pdf | 4.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter3.pdf | 352.71 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter4.pdf | 2.64 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter5.pdf | 966.99 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Reference.pdf | 1.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.