Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2014
Title: การประเมินการปฏิบัติงานโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบท (กศ.พช.) ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: An Evaluation on Job Performance of the Educational Project for Village Development in School of Office of Samutprakarn Provincial Primary Education
Authors: ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
เกียรติศักดิ์ ลักษณะ
Keywords: โครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบท
การพัฒนาชนบท -- ไทย -- สมุทรปราการ.
Rural development -- Thailand -- Samut Prakarn
ความจำเป็นพื้นฐาน
Basic needs
คุณภาพชีวิต
Quality of life
Issue Date: 1997
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต การพัฒนาชนบท กิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของโครงการ 8 ประการ ปัจจัยด้านต่างๆ ของการดำเนินงาน 5 ด้าน ของโรงเรียนในโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบทสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนที่เข้าดำเนินงานโครงการ กศ. พช. ทั้งหมด ในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 141 โรงเรียน ใช้วิธีการเก็บข้อมูลและประเมินผู้บริหารโรงเรียน และสภาพร่องรอยการดำเนินงานที่แท้จริงของโรงเรียน ได้รับแบบสอบถามฉบับที่สมบูรณ์กลับคืนมา 115 ชุด แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC เพื่อศึกษาค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ ได้จัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต และพัฒนาชนบท ตั้งแต่ปีการศึกษา 2530 เป็นต้นมา จนถึงปีการศึกษา 2539 มีกิจกรรมต่างๆ ที่โรงเรียนดำเนินการทั้งสิ้น 56 กิจกรรม กิจกรรมที่โรงเรียนได้ปฏิบัติทุกโรงเรียน และต่อเนื่องมาทุกปี และถือว่าประสบความสำเร็จ ได้แก่ กิจกรรมวันกตัญญู กิจกรรมการปลูกไม้ดอก ไม้ผล หรือพืชสมุนไพร กิจกรรมผู้ปกครองเยี่ยมโรงเรียน และกิจกรรมวันถวายพระพร ทั้งนี้ อาจจะเป็นเพราะว่ากิจกรรมดังกล่าว เป็นกิจกรรมอยู่ในความสนใจและเป็นความต้องการของชุมชน เป็นกิจกรรมที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมเหล่านั้นได้อย่างชัดเจน และเป็นกิจกรรมที่ไม่ต้องใช้งบประมาณมาก ไม่ต้องใช้เวลาในการดำเนินงานยาวนาน ไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก สำหรับกิจกรรมที่โรงเรียนได้ปฏิบัติรองๆ ลงมานั้น เป็นกิจกรรมที่บางโรงเรียนสามารถปฏิบัติได้ และบางโรงเรียนไม่สามารถปฏิบัติได้ ซึ่งอาจจะมาจากสาเหตุสภาพพื้นที่และสภาพแวดล้อมของโรงเรียน และเป็นความต้องการของชุมชนที่จะเข้าร่วมและให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมนั้นๆ และในบางกิจกรรมจะเห็นว่า โรงเรียนได้ปฏิบัติบ้าง หยุดบ้าง ไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่อง อาจจะเป็นเพราะว่า สภาพแวดล้อมของโรงเรียนเปลี่ยนไป สภาพความต้องการของชุมชนที่มีต่อกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น เปลี่ยนแปลงไปด้วย และในบางกิจกรรมที่โรงเรียนปฏิบัติแล้วไม่ประสบความสำเร็จ จึงเปลี่ยนไปปฏิบัติกิจกรรมอื่นๆ แทนการปฏิบัติกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเขตชนบท 8 ประการนั้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ สามารถดำเนินการในด้านการปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านการคัดเลือกและพัฒนาผู้นำ อยู่ในระดับ ดี ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะว่า กิจกรรมทั้งสองเป็นกิจกรรมมที่โรงเรียนจะต้องปฏิบัติอยู่แล้ว เป็นภาระหน้าที่ของโรงเรียนน และเป็นความต้องการของผู้ปกครองนักเรียน และให้คุณประโยชน์ต่อนักเรียนโดยตรง เป็นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาพร้อมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่วนกิจกรรมด้านอื่นๆ อีก 6 ด้าน ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ โรงเรียนปฏิบัติได้อยู่ในระดับปานกลาง อาจจะเป้น เพราะว่ากิจกรรมเหล่านี้ เป็นกิจกรรมที่จะต้องประสานกับชุมชน บุคคลภายนอก หรือหน่วยงานอื่นๆ เป็นกิจกรรมที่มีขั้นตอน การปฏิบัติกิจกรรมต้องมีคณะทำงานอย่างต่อเนื่อง ต้องใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติกิจกรรม ต้องมีปัจจัยอื่นเกื้อหนุน เช่น บุคลากร เงิน วัสดุ การบริหาร การจัดการ การนิเทศติดตาม กำกับ และอื่นๆ อีกหลายประการ ส่วนผลการดำเนินงานในด้านสภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และผลกระทบของโรงเรียนในโครงการ กศ. พช. สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ ปรากฏว่า ผลกระทบ (Impact) ที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ กศ. พช. ให้ผลในระดับที่ดี หรือมากกว่าด้านอื่นๆ ทั้ง 4 ด้าน โดยเฉพาะในเรื่องของความสะอาด ร่มรื่น และความเป็นระเบียบของบ้านโรงเรียน เรื่องของสุขภาพอนามัยของคนในชุมชนโดยส่วนรวมดีขึ้น ประชาชนในชุมชนมีความสัมพันธ์ สมานสามัคคีอันดีต่อกัน นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามที่หลักสูตรกำหนด อัตราการซ้ำชั้นของนักเรียนโดยส่วนรวมลดลง และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น ผลในด้านสภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต โรงเรียนในโครงการ กศ. พช. สามารถดำเนินการได้อยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ อาจจะเป็นเพราะว่า การดำเนินงานโครงการ กศ. พช. ในด้านต่างๆ ของโรงเรียนในโครงการขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ที่โรงเรียนตั้งอยู่ สภาพที่เอื้ออำนวยในการดำเนินงานความพร้อมของบุคลากร ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ตั้งแต่ผู้บริหารโรงเรียนลงไป จนถึงประชาชนที่ให้การสนับสนุน งบประมาณในการดำเนินงานเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่ง ที่มีผลต่อการดำเนินงาน ในเรื่องของกระบวนการ การบริหาร การจัดการ การใช้เทคนิควิธี และในเรื่องของความมุ่งมั่น ความตั้งใจ ความสนใจของผู้เกี่ยวข้อง
Description: ภาคนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2540
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2014
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kiettisak-Laksana.pdf21.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.