Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2019
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพวงชมพู โจนส์-
dc.contributor.advisorPuangchompoo Jones-
dc.contributor.authorขนิษฐา บุญเผือก-
dc.contributor.authorKanittha Bunpaug-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.date.accessioned2024-04-07T04:26:43Z-
dc.date.available2024-04-07T04:26:43Z-
dc.date.issued2006-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2019-
dc.descriptionภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2549.th
dc.description.abstractธุรกิจร้านค้าทองรูปพรรณ เป็นธุรกิจที่แสดงถึงสภาะทางเศรษฐกิจของประเทศโดยความต้องการของผู้บริโภคแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะที่สำคัญ คือ ลักษณะแรก เป็นการบริโภคทองคำในรูปสินค้า อาทิ เครื่องประดับทั่วไปที่ต้องการอรรถประโยชน์จากสินค้า (Utility) เป็นหลัก ลักษณะที่สอง เป็นการบริโภคทองคำในรูปของการสะสมความมั่งคั่ง เนื่องจากทองคำเป็นสินค้าที่มีลักษณะพิเศษ คือ เป็นสินค้าที่รักษาความมั่งคั่งหรือมีมูลค่าในตนเอง ซึ่งทองคำมีสภาพคล่อง (Liquidity) สูง สามารถที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทุกเวลา เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ดังนั้น ทองคำจึงเป็นเสมือนหนึ่งเครื่องสะสมความมั่งคั่งให้กับบุคคลนั่นเอง ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการจากร้านค้าทองรูปพรรณ และศึกษาถึงความคิดเห็น ความต้องการของผู้บริโภค เพื่อทำการวางแผนการตลาดของธุรกิจร้านค้าทองรูปพรรณอย่างเหมาะสม จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการจากร้านค้าทองรูปพรรณทั้งเพศชายและเพศหญิง จำนวนตัวอย่างที่ใช้ 400 ตัวอย่าง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ เท่านั้น ผลการศึกษามีดังต่อไปนี้1, การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม ผลจากการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ ร้อยละ 81.0 เป็นเพศหญิงโดยร้อยละ 41.3 มีอายุระหว่าง 26-29 ปี และส่วนใหญ่สมรสแล้ว ร้อยละ 45.5 โดยมีระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าร้อยละ 45.3 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 43.5 และ ร้อยละ 59.0 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน และมีเขตที่พักอาศัยอยู่บริเวณถนนสุขุมวิท ร้อยละ 60.0 2. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการใช้บริการร้านค้าทองรูปพรรณ สามารถสรุปพฤติกรรมด้านต่างๆ ได้ดังนี้ 1) ด้านการเลือกใช้บริการจากร้านค้าทองรูปพรรณ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่มีร้านที่เลือกใช้บริการเป็นประจำ โดยเลือกใช้บริการจากร้านค้าในบริเวณทำเลที่ตั้งแถวตลาดสด 2) ด้านการเสียเปรียบราคาของแต่ละร้านก่อนการเลือกใช้บริการ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ต้องการเปรียบเทียบราคาของแต่ละร้านก่อนการเลือกใช้บริการโดยนิยมเลือกใช้บริการในวันเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ โดยนิยมใช้บริการในช่วงเวลา 11.01-13.00 น. และมีความถี่ในการเลือกใช้บริการ 7-12 เดือนต่อครั้ง 3) ด้านลักษณะในการเลือกใช้บริการ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามโดยมีลักษณะการใช้บริการเพื่อเป็นการซื้อทองรูปพรรณให้ตนเองสวมใส่ รองลงมา คือ เพื่อเปลี่ยนลวดลาย รูปแบบ น้ำหนักและเพื่อเป็นของขวัญของกำนัล ตามลำดับ 4) ด้านรูปแบบของทองรูปพรรณที่เลือกซื้อ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่นิยมเลือกซื้อ สร้อยคอ ส่วนค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการเลือกซื้อทองรูปพรรณเฉลี่ยต่อครั้ง พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้ง อยู่ระหว่าง 5,001-10,000 บาท 5) ด้านความถี่ในการเปลี่ยนลวดลายทองรูปพรรณ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความถี่ในการเปลี่ยนแปลงลวดลายของทองรูปพรรณ 7-12 เดือนต่อครั้ง รองลงมา คือ มากกว่า 1 ปี ต่อครั้ง 3. ในการพิจารณาลำดับความสำคัญต่อระดับอิทธิพลด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดสามารถจัดลำดับความสำคัญได้ดังนี้ คือ มีสถานที่ตั้งอยู่ในย่านชุมชนที่ไป-มาสะดวก มีรูปแบบให้เลือกหลายแบบหลายประเภท มีการกำหนดราคารับซื้อสินค้าคืนทองคำรูปพรรณที่สูง และมีการรับประกันการซื้อคืนทองคำรูปพรรณในราคายุติธรรม 4. ในการพิจารณาด้านสภาพปัญหาในการใช้บริการร้านค้าทองรูปพรรณ สามารถจัดลำดับความสำคัญ ได้ดังนี้ คือ ไม่มีใบรับประกันเปอร์เซ็นต์และน้ำหนักทองคำ มีราคาค่ากำเหน็จสูงและมีเปอร์เซ็นต์ของทองคำรูปพรรณต่ำ จากข้อมูลทั่วไปสามารถสรุปได้ว่า กลุ่มผู้ซื้อทองรุปพรรณในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ อยู่ในช่วงวัยทำงาน ซึ่งมีรายได้ต่อเดือนค่อนข้างสูง และระดับการศึกษาวุฒิปริญญาตรี ถึงแม้ส่วนมากประกอบอาชีพเป็นพนักงานรับจ้างบริษัทเอกชน ซึ่งมีความต้องการซื้อทองรูปพรรณเพื่อเข้าสังคมในที่ทำงานเป็นส่วนใหญ่th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภคth
dc.subjectConsumer behaviorth
dc.subjectทองรูปพรรณth
dc.subjectGold ornamentsth
dc.subjectการตัดสินใจth
dc.subjectDecision makingth
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อทองรูปพรรณและการใช้บริการจากร้านค้าทองรูปพรรณของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการth
dc.title.alternativeFactors Effecting Consumers' Behavior in Purchasing Gold Ornament and Using the Shops' Services in Amphor Mueang, Samutprakarn Provinceth
dc.typeIndependent Studiesth
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineบริหารธุรกิจth
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanittha-Boonpeuk.pdf
  Restricted Access
18.59 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.