Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2020
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิรัตน์ ทองรอด | - |
dc.contributor.advisor | Wirat Tongrod | - |
dc.contributor.author | ขนิษฐา อาชามาส | - |
dc.contributor.author | Kanitta Archamas | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration | - |
dc.date.accessioned | 2024-04-07T04:34:52Z | - |
dc.date.available | 2024-04-07T04:34:52Z | - |
dc.date.issued | 2008 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2020 | - |
dc.description | การศึกษาอิสระ (บธ. ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2551 | th |
dc.description.abstract | การศึกษาอิสระฉบับนี้ เป็นการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาของกระบวนการในการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีน ปัญหาของสินค้า การติดต่อสื่อสารกับคนจีน รวมถึงระบบกวนซี่ วัฒนธรรมการค้าขายของคนจีน เพื่อนำมาหาแนวทางแก้ไขปัญหาในแต่ละขั้นตอน วิธีการศึกษาในครั้งนี้ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้นำเข้าทั้ง 5 ราย โดยการตั้งคำถามปลายเปิดให้ผู้ถูกสัมภาษณ์แสดงความคิดเห็นและนำข้อมูลที่ได้มา ทำการถอดเทป (Transcript) และจดบันทึกเก็บไว้ การวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลโดยใช้ Case By Case Analysis และ Cross Case Analysis พบว่า ในกระบวนการขั้นตอนของการนำเข้าสินค้า จุดประสงค์ของผู้ประกอบการในการนำเข้า คือ เพื่อนำมาจำหน่ายภายในประเทศไทย โดยวิธีค้นหาสินค้าที่ใช้กันมาก คือ การเข้าร่วมงานแฟร์ การใช้บริการนายหน้าและการไปขนหาสินค้าด้วยตัวเอง ซึ่งใช้การขนส่งทางเรือเป็นหลัก ยกเว้นสินค้าที่เสียหายง่ายหรือหมดอายุเร็วจะใช้การขนส่งทางอากาศ เมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทยก็จะให้บริษัท Shopping เป็นผู้ทำการออกสินค้าให้เลย โดยทางผู้ประกอบการจะต้องจัดเตรียมเอกสารไว้ให้ดี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการออกของและการชำระค่าสินค้า ที่นิยมใช้เล็ตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า (L/C) ในการชำระค่าสินค้า เพราะให้ความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย สาเหตุส่วนใหญ่ที่เลือกนำเข้าสินค้าจากประเทศจีน เพราะว่า สินค้ามีราคาถูก มีผู้ผลิตหลายรายให้เลือก สินค้ามีความหลากหลายทั้งสีสัน ขนาดและรูปร่าง คุณภาพของสินค้าขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรองกัน และการขนส่งที่มีให้เลือกหลายทางระยะทางก็ไม่ไกลจากประเทศไทย ปัญหาที่พบเกี่ยวกับสินค้า ที่พบจะเกี่ยวกับความสม่ำเสมอของคุณภาพสินค้าที่สั่งสินค้า มักจะมีปัญหาในเรื่องของคุณภาพสินค้าไม่เหมือนกับที่ผลิตและส่งมาในตอนแรกๆ รวมถึงการปะปนของเสียมาในสินค้า การสั่งซื้อที่ต้องมีปริมาณขั้นต่ำ และการผลิตได้ไม่ตรงตามปริมาณที่สั่งทำให้สินค้าขาดตลาด ปัญหาของการสื่อสารที่ใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อค้าขายกับคนจีน เพราะยังมีคนจีนอีกมากที่ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษกับคู่ค้าต่างชาติได้ รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ติดต่อสื่อสารกับคนจีน ซึ่งผู้ประกอบการเลือกใช้การติดต่อผ่านทาง MSN เพราะสามารถสื่อสารกันได้ทั้งสองฝ่าย เข้าใจสิ่งที่ผู้ส่งสารต้องการจะสื่อออกมาได้ และถ้ามีคำศัพท์คำไหนไม่เข้าใจก็สามารถเปิดพจนานุกรมหาความหมายได้ เรื่องของระบบกวนซี่ที่เป็นสิ่งที่ผู้จะทำการค้ากับคนจีน ต้องตระหนักไว้ให้ดี การจะทำการค้ากับคนจีนได้ ไม่เพียงว่า มีข้อเสนอดี น่าสนใจแล้วคนจีน จะยอมทำการค้าด้วย แต่คนจีนจะชอบทำการค้ากับคนที่รู้จักกันมากกว่า ซึ่งผู้ประกอบการทั้ง 5 ราย ได้แสดงความคิดเห็นที่เหมือนกันเกี่ยวกับระบบกวนซี่ว่า เป็นระบบที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในการทำการค้า และระบบกวนซี่ ยังช่วยในเรื่องของโอกาสในการทำการค้าอีกด้วย เช่น การนำเสนอสินค้าใหม่ๆ ของคนจีนแก่คนที่รู้จักก่อน การให้ส่วนลดพิเศษ รวมไปถึงช่วยเหลือในเรื่องการขนส่งอีกด้วย | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.rights | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | การค้าระหว่างประเทศ | th |
dc.subject | International trade | th |
dc.subject | บรรษัทข้ามชาติ | th |
dc.subject | International business enterprises | th |
dc.subject | สินค้าเข้า -- จีน | th |
dc.subject | Imports -- China | th |
dc.subject | ภาษาจีนธุรกิจ | th |
dc.subject | Chinese language -- Business Chinese | th |
dc.title | ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขของผู้ประกอบการไทยในการนำเข้าสินค้าจากจีน | th |
dc.title.alternative | Problems, Obstacles and Guidelines to Solve Problems of Thai Entrepreneurs to Import Goods from China | th |
dc.type | Independent Studies | th |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต | th |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th |
dc.degree.discipline | บริหารธุรกิจ | th |
Appears in Collections: | Business Administration - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kanittha-Arechamas.pdf Restricted Access | 14.23 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.