Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2025
Title: สิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องขังในเรือนจำ : มุมมองของนักสังคมสงเคราะห์
Other Titles: The Rights and Freedoms of Inmates in prisons: The Perspective of a Social Worker
Authors: กฤตวรรณ สาหร่าย
Kittawan Sarai
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Keywords: นักโทษ
Prisoners
สิทธินักโทษ
Prisoners -- Civil rights
Issue Date: 2020
Citation: วารสารวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 11, 1 (ก.ค.-ธ.ค.2563) : 8-21
Abstract: การเปรียบเทียบพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 กับทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ จะเห็นได้ว่าในลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ส่วนใหญ่สามารถตอบสนองได้ถึงขั้นที่ 1-5 ประกอบด้วยความต้องการทางกายภาพ ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย ความต้องการมิตรภาพและความรัก การเคารพนับถือและความสมบูรณ์ของชีวิต แต่สำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำความต้องการของผู้ต้องขังอยู่ในลำดับขั้นที่ 1-2 เท่านั้น ซึ่งทั้งสองขั้นนี้ก็ยังมีข้อจำกัดในบางประเด็น อาทิ ด้านการรักษาพยาบาลที่มีข้อจำกัดด้านบุคลากร ด้านที่อยู่อาศัยมีพื้นที่จำกัดในเรือนนอน ส่วนในขั้นที่ 3-5 กระทำได้ยากเพราะมีข้อจำกัดจากการถูกจำคุก ข้อเสนอแนะควรมีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของผู้ต้องขัง ใน 5 ประเด็น ดังนี้ 1) สิทธิของผู้ต้องขังด้านการติดต่อญาติ เรือนจำควรปรับเปลี่ยนการเยี่ยมญาติให้มีหลายช่องทาง นอกเหนือจากการมาเยี่ยมญาติที่เรือนจำ จัดให้มีห้องสื่อสารออนไลน์โต้ตอบระหว่างผู้ต้องขังและสมาชิกในครอบครัวเพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านจิตใจ 2) เรือนจำจัดให้มีคลินิกให้คำปรึกษาในเรือนจำเพื่อคัดกรองผู้ต้องขังที่มีความเครียด มีอาการทางจิตเข้าสู่ระบบเพื่อการดูแลอย่างใกล้ชิด 3) เรือนจำควรจัดให้มีทีมสหวิชาชีพในการบำบัด ฟื้นฟู และพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง เน้นการเปลี่ยนแปลงความคิดและจิตใจเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 4) สิทธิด้านที่อยู่อาศัย เรือนจำมีพื้นที่เรือนนอนที่จำกัด ควรมีการปรับปรุงเรือนนอนให้เหมาะสม ลดความแออัด 5) สิทธิด้านการประกอบอาชีพ ควรมีการเพิ่มเติมกฎหมายจัดตั้งคณะกรรมการในการในการส่งเสริมการประกอบอาชีพของผู้ต้องขังอย่างจริงจังและดำเนินงานประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน
Comparing the Corrections Act 2017 with Maslow's hierarchy of needs, it can be seen that most human needs can be met with steps 1-5, including physical needs, needs Security, desire for friendship and love, respect and fullness of life, but for inmates in prison, the needs of inmates are In steps 1-2 only, both of which are still limited in some areas, such as medical care that has limitations on personnel, housing, space is limited in a bed, and in stages 3- 5 It is difficult to do because of the limitations of imprisonment. Suggestions should be made to amend the law on the rights of inmates on the following 5 points: 1) The rights of inmates to contact relatives, prisons should be adjusted to visit relatives in various ways, in addition to visiting relatives at the prison, provided There is an interactive online communication room between inmates and family members to meet psychological needs.2) Providing a clinic for prisons counselling to screen inmates with stress, mental symptoms into the system for close monitoring 3) Prisons should provide a multidisciplinary team to rehabilitate and develop the behaviour of inmates, focusing on the change of mind and mind to lead to behaviour changes 4) Right of residence, the prison has limited sleeping space, the bed should be improved to reduce congestion 5) Occupational rights should be added to the law to establish a committee to seriously promote inmates' career and work in coordination with all sectors.
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/lawhcu/article/view/244017/165386
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2025
ISSN: 2286-6965 (Print)
2730-2563 (Online)
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prisoners-Civil rights.pdf124.06 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.