Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2028
Title: | ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารมื้อเช้าของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Other Titles: | Predictors of breakfast consumption behavior among undergraduate students: Faculty of Public and Environmental Health, Huachiew Chalermprakiet University |
Authors: | ณัฏฐวี ชั่งชัย ภัททิตา เลิศจริยพร จิรัตติกาญจน์ สงห้อง มลทิญา พิมพ์ชัย ต่วนนาซูฮา โตะกูมาโละ Nuttawee Changchai Pattita Lerdjariyaporn Jirattikan Songhong Montiya Pimchai Tuannasuha Tokumalo Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health. Student of Bachelor of Public and Environmental Health Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health. Student of Bachelor of Public and Environmental Health โรงพยาบาลบางปะกอกสมุทรปราการ Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health. Student of Bachelor of Public and Environmental Health |
Keywords: | การบริโภคอาหาร Food consumption อาหารเช้า Breakfasts มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ -- นักศึกษา Huachiew Chalermprakiet University -- Students |
Issue Date: | 2023 |
Citation: | วารสารวิจัยสาธารณสุขและวิทยาศาสตรสุขภาพ 5,3 (กันยายน-ธันวาคม 2566) : 77-91 |
Abstract: | งานวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารมื้อเช้าและวิเคราะห์ปัจจัยนำ ปัจจัยเสริม และปัจจัยเอื้อ สำหรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาจำนวน 130 คน ใช้เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ให้กลุ่มตัวอย่างตอบด้วยตนเอง โดยสุ่มตัวอย่างแบบโควต้าและแบบสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 78.5 บริโภคอาหารมื้อเช้า และร้อยละ 21.5 มีพฤติกรรมงดบริโภคอาหารมื้อเช้า โดยร้อยละ 85.7 ให้เหตุผลหลักที่งดบริโภคอาหารมื้อเช้า เนื่องจากตื่นนอนสาย พฤติกรรมการบริโภคอาหารมื้อเช้าของกลุ่มตัวอย่าง มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.97 คะแนน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.03 และส่วนใหญ่ร้อยละ 75.4 มีระดับพฤติกรรมการบริโภคอาหารมื้อเช้า อยู่ในระดับดี การวิเคราะห์ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารมื้อเช้าของกลุ่มตัวอย่างมีอำนาจการทำนายของทุกตัวแปร ร้อยละ 15.8 (R2 = 0.158, p-value < 0.05) เพศหญิง เงินรายได้ แหล่งบริโภคอาหารมื้อเช้า (โรงอาหารมหาวิทยาลัย รับประทานมาจากที่พัก และร้านสะดวกซื้อ) และความรู้ทางโภชนาการ มีผลต่อการทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารมื้อเช้า (Beta = -0.223, -0.213, -0.212 และ 0.201, p-value < 0.05) ตามลำดับ ดังนั้น ผลการศึกษานี้สามารถใช้ส่งเสริมการบริโภคอาหารมื้อเช้าที่เหมาะสมตามวัยสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ This cross-sectional research aimed to study breakfast consumption behavior and to investigate predisposing factors, reinforcing factors, and enabling factors for breakfast consumption behavior among undergraduate students from the Faculty of Public and Environmental Health, Huachiew Chalermprakiet University. One hundred thirty samples were collected using self-administered questionnaires by quota and simple random sampling. Data analysis was carried out using descriptive statistics and multiple regression analysis. The results showed that in all of the samples, 78.5 percent were found consuming breakfast, and 21.5 percent abstaining from breakfast, with 85.7 percent giving the main reason for not consuming breakfast due to waking up late. The average mean score of breakfast consumption behavior was 1.97 with a standard deviation of 1.03, and 75.4 percent of samples were found in a good level of breakfast consumption behavior. The results of multiple regression analysis showed that all factors could predict breakfast consumption behavior in samples by 15.8 percent (R2 = 0.158, p-value < 0.05). Female, income, breakfast consumption sources (canteen, residence, and convenience store), and nutrition knowledge variables significantly predicted breakfast consumption behavior (Beta = -0.223, -0.213, -0.212, and 0.201, p-value < 0.05), respectively. Therefore, the finding of this study can be used to promote healthy breakfast consumption among undergraduate students in order to complete both physical and mental health. |
Description: | สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPHNU/article/view/262020/180024 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2028 |
ISSN: | 2985-296X (Online) |
Appears in Collections: | Public and Environmental Health - Artical Journals |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Food-Consumption.pdf | 122.05 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.