Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/204
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเสาวนิจ นิจอนันต์ชัย-
dc.contributor.authorกัญชิตา ประพฤติธรรม-
dc.date.accessioned2022-05-04T01:23:35Z-
dc.date.available2022-05-04T01:23:35Z-
dc.date.issued2003-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/204-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546th
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง “ทางเลือกการฟื้นฟูการจัดสวัสดิการชุมชน : ศึกษากรณีกลุ่มสัจจะออมรายวันชุมชนเขตห้วยขวาง” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการ สภาพปัญหา อุปสรรค ในการฟื้นฟูสวัสดิการชุมชนของกลุ่มสัจจะออมรายวันชุมชนห้วยขวาง รวมทั้งศึกษารูปแบบและทางเลือกในการฟื้นฟูสวัสดิการชุมชนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของสมาชิกกลุ่มสัจจะออมรายวันชุมชน เขตห้วยขวาง โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มสัจจะออมรายวันชุมชนเขตห้วยขวาง ผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญเป็นผู้ที่รู้จักสภาพของชุมชนและรู้กระบวนการของกลุ่มสัจจะออมรายวันเป็นอย่างดีโดยการสัมภาษณ์ เจาะลึก (Indepth Interview) จำนวน 10 คนประกอบไปด้วยผู้นำกลุ่ม 1 คน หัวหน้าสาย 3 คน สมาชิกชุมชนละ 1 คน จาก 6 ชุมชน และโดยการสนทนากลุ่ม (Focus group) กับสมาชิก 1 ครั้ง จำนวน 12 คน หัวหน้าสาย 1 ครั้ง จำนวน 6 คน ผลการศึกษาพบว่าความต้องการในการฟื้นฟูสวัสดิการชุมชนของกลุ่มสัจจะออมรายวัน ชุมชนเขตห้วยขวางประกอบด้วยความต้องการ 2 ด้านคือ 1) ความต้องการในการฟื้นฟูสวัสดิการชุมชนอันเกิดจากกลุ่มเพื่อใช้เป็นทางเลือกในการตอบสนองความต้องการของสมาชิกและเป็นแรงจูงใจในการส่งเงินออมหรือการชำระเงินกู้ของสมาชิกคืนกลุ่ม 2) ความต้องการในการฟื้นฟูสวัสดิการชุมชนเพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างเชิงอำนาจและผลประโยชน์เข้าสู่กลุ่มตามแผนขององค์กร จากภายนอก สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการจัดสวัสดิการชุมชนของกลุ่มสัจจะออมรายวันชุมชนเขตห้วยขางเกิดจากปัจจัยหลัก 2 ปัจจัยคือ 1) ปัจจัยภายในกลุ่มประกอบด้วย ปัจจัยอันเกิดจากการตอบสนองตามแผนงานของหน่วยงานภายนอกที่วางไว้โดยมิได้ทำความเข้าใจกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน ประกอบกับการเร่งผลักดันให้มีการจัดตั้งระบบสวัสดิการชุมชนของกลุ่มโดยมิได้มีการสำรวจความต้องการของสมาชิกในกลุ่ม ส่วนรูปแบบในการฟื้นฟูสวัสดิการชุมชนของกลุ่มสัจจะออมรายวันชุมชนเขตห้วยขวางนั้น เริ่มต้นด้วยการจัดสวัสดิการเงินกู้โดยการนำกำไรที่ได้มาจัดเป็นรูปแบบของสวัสดิการตามความต้องการของสมาชิก มี 6 ประเภทดังต่อไปนี้ 1) สวัสดิการเงินกู้ 2) เงินปันผล 3) สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล 4) สวัสดิการฌาปนกิจ 5) กองทุนสวัสดิการตอบแทนคนทำงาน และ 6) กองทุน เงินสำรอง สำรองทางเลือกในการฟื้นฟูสวัสดิการชุมชนสำหรับสมาชิกเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับการจัดสวัสดิการชุมชนของกลุ่มสัจจะออมรายวันมี 3 ทางเลือก ดังนี้ ทางเลือกที่ 1 แบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ 1) เงินปันผล 30% 2) สวัสดิการสำหรับคนทำงาน20% 3) กองทุนเงินสำรองกลุ่ม 20% และ 4) กองทุนสวัสดิการ 30% ประกอบด้วย การรักษาพยาบาล 10% ฌาปนกิจศพ 10% คลอดบุตร 10% ทางเลือกที่ 2 แบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ 1) เงินปันผล 25% 2) สวัสดิการคุ้มครองเงินกู้ 25% 3) สวัสดิการคนทำงานกลุ่ม 30% และ 4) กองทุนสวัสดิการ 20% โดยที่สมาชิกออกเงินสมทบ 50 บาทต่อเดือน สำหรับการรักษาพยาบาล 10% และฌาปนกิจศพ 10% ทางเลือกที่ 3 แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ 1) เงินปันผล 30% 2) เงินทุนสำรอง 20% และ 3) กองทุนสวัสดิการสำหรับสมาชิก 50% ประกอบด้วย สวัสดิการคนทำงาน 20% การรักษาพยาบาล 15% และฌาปนกิจศพ 15% ผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวทางในการจัดสวัสดิการชุมชนของกลุ่มสัจจะออมรายวันดังนี้ การจัดระเบียบสวัสดิการที่ครอบคลุมผู้ยากลำบากและผู้ด้อยโอกาสอื่น ๆ ในชุมชนที่นอกเหนือจากผู้เป็นสมาชิกกลุ่ม แต่ต้องคำนึงถึงศักยภาพในการบริหารจัดการของกลุ่มเอง แนวคิดการจัดสวัสดิการเป็นสิ่งที่ดีควรทำจากสิ่งที่เป็นจริงและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของสมาชิกในชุมชน เริ่มจากเล็กไปหาใหญ่ทำแบบค่อยเป็นค่อยไปหากคิดจะจัดสวัสดิการโดยที่คนไม่พร้อม ไม่มีส่วนร่วม ไม่รู้สึกเป็นเจ้าของ จะทำให้ไม่เกิดสวัสดิการที่เป็นของคนในชุมชน สมาชิกต้องเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ ไม่ใช่ฝ่ายหนึ่งหามาให้ อีกฝ่ายหนึ่งรอรับอยู่เสมอ จึงจะเกิดเป็นความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมกันและมีศักดิ์ศรีควรมีโครงการนำร่องสำหรับชุมชนที่มีความพร้อมในการฟื้นฟูสวัสดิการชุมชน เพื่อให้กลุ่มสัจจะออมรายวันเป็นที่รู้จักและเพื่อเป็นการเผยแพร่แนวคิดและรูปแบบกระบวนการทำงานขององค์กรการเงินประเภทนี้ ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาเชิงปริมาณเกี่ยวกับความต้องการของสมาชิกเพื่อประโยชน์ของกลุ่มเองและควรมีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มสัจจะออมรายวันที่ประสบความสำเร็จในการจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิกเช่นที่กลุ่มสัจจะออมรายวันชุมชนบ่อบัว จังหวัดฉะเชิงเทรา เพราะการศึกษาเปรียบเทียบจะทำให้เห็นถึงความแตกต่าง ข้อดีข้อเสีย ของทั้ง 2 กลุ่ม เพื่อนำมาเป็นแบบอย่างในการทำงานของกลุ่มสัจจะออมรายวันกลุ่มอื่นต่อไป และควรมีการติดตามประเมินผลการจัดสวัสดิการของกลุ่มสัจจะ ออมรายวันชุมชนเขตห้วยขวางเพื่อทราบความก้าวหน้าและผลของการจัดสวัสดิการของกลุ่มต่อไปth
dc.description.abstractThe research on the title of Alternatives for the improvement of the daily saving group in Huay Khwang District Area had the objectives of studying the demands, and obstacles in improving of community welfare of the daily saving groups : in Huay Khwang District Area. In addition, the researcher wanted to study the models and alternatives in improving the community welfares which were related to way of life of the members of the daily saving group s in Huay Khwang District Area by collecting the information from the daily saving groups in Huay Khwang District Area. The key informants in this research were the persons who know the community’s condition and the procedure of the daily saving group very well and the researcher had used the methods of indepth interview with the samples in order to collect the datas. The total samples were 10 persons who were a group leader, 3 Chiefs, 6 members of 6 communities (member : 1 community) and another method by using focus group on 12 members of community and the other group on 6 chiefs. The finding indicated that there was 2 demands in improving of the daily saving groups which were: 1) The demand in improving the community welfares from within the group which would be the alternatives in responding the demand of members and it would groups. 2) The demand in improving the community welfares which was related to the power Structure or external demands which were effected to the group. Accordingly, the problems and obstacles in improving the daily saving groups were come from 2 main factors which were: 1) Internal Factors of Group which were the lacks of knowledge, understanding on the meaning of “welfare” and community Community welfare” of group members and committees and also the tacks of personnels, budget and group management. 2) External Factors of Group which were from the response to the programs of other agencies without the understanding of the problems. For the models of improving the community welfare of the daily saving group in Huay Khwang District Area were initiated in setting up the loan service and its interest could be used in improving the welfares which were the demands of the members in 6 categories: 1) loan service 2) profit sharing 3) welfare of medical fee 4) welfare of cremation 5) personnel bonus 6) provident fund There were 3 alternatives in improving the community welfare of the daily saving Groups which were The first alternative with 4 parts : 1) profit sharing 30% 2) personnel bonus 20% 3) provident fund 20% 4) welfare fund child delivery 10% The second alternative with 4 parts : 1) profit sharing 25% 2) loan service 25% 3) personnel bonus 30% 4) welfare fund 20% and each members’ monthly payment for 50 baht; welfare of medical fee 10% and welfare of cremation 10% The third alternative with 3 parts : 1) profit sharing 30% 2) provident fund 20% 3) welfare fund 50% which were personnel bonus 20%, welfare of medical fee 15% and welfare of cremation 15% The researcher suggested ways to improve the daily saving groups by setting up the community welfare by community people with government support according to potentiality of community’s members, community welfare could be extended to serve underprivileged people in the community who were not saving group members The concept of community welfare management should be based on the reality and it’s related to the way of life of the community people be starting from the small one to the big one of little by little. If they did not have readiness in personnel or people participation or sense of belonging the community welfare could not be happen. The community welfare must have the member who will give and take something at the same time. They should not be the persons who always give or always take. It could be the relationship based on the equality and human dignity. Additionally, the group members should study or exchange experiences with other comminutes which were successful in welfare management for the purpose of improving their own management and it should have pilot projects for any communities which had the potentiality in improving the community welfare in order to make the daily saving groups be well-know and publicize the concepts and working models of these financial organizations. The suggestions of the next research, it should be a comparative study of the success daily saving group e.g. the daily saving groups of Borbua Community in Chachoengsao Province. The comparative study could reveal the differences, advantages, disadvantages between 2 groups and the study could be used as a modes in the management of other daily saving groups. It should also have an assessment of the management of the daily saving groups in Huay Khwsang District Area.th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectกลุ่มสัจจะออมรายวันห้วยขวางth
dc.subjectบริการสังคมth
dc.subjectSocial servicesth
dc.subjectองค์กรชุมชนth
dc.subjectCommunity organizationth
dc.titleทางเลือกในการฟื้นฟูสวัสดิการชุมชน : ศึกษากรณีกลุ่มสัจจะออมรายวันชุมชนเขตห้วยขวางth
dc.title.alternativeAlternative's for the Improvement of Community Welfare of the Daily Saving Groups : A Case Study of the Daily Saving Group's in Huay Khwang District Areath
dc.typeThesisth
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการจัดการโครงการสวัสดิการสังคมth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf546.23 kBAdobe PDFView/Open
Tableofcontents.pdf222.92 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf689.47 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf196.25 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf5.61 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
Reference.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.