Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/205
Title: การศึกษาความเข้มแข็งของชุมชนโดยผ่านกองทุนชุมชนเมืองในจังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: The Study of Community Empowerment through Urban Community Fund in Samutprakarn Province
Authors: ขัตติยา กรรณสูต
Kattiya Kannasut
ขจรพัฒน์ เกษตระชนม์
Kjohnpat Keprachon
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Keywords: กองทุนเพื่อชุมชน
สังคมเมือง
การพัฒนาชุมชน
Community development
Issue Date: 2003
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยระหว่างกลุ่มชุมชนเมืองที่เข้มแข็งกับชุมชนที่ไม่เข้มแข็งรวมทั้งศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ของกองทุนชุมชนเมืองในจังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากสมาชิกกองทุนชุมชนเมือง จำนวนทั้งสิ้น 313 คน จากเทศบาล 3 แห่ง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลครบถ้วนจึงนำมาประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC เพื่อศึกษาระดับความเข้มแข็งของชุมชน และปัญหาอุปสรรคของการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้ค่าสถิติการถดถอยพหูคูณ และการเปรียบเทียบความแตกต่างของชุมชนที่เข้มแข็งกับชุมชนไม่เข้มแข็ง โดยค่าสถิติวิเคราะห์จำแนกประเภท ซึ่งการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายและเพศหญิงในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 36.2 ปี ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา-ป.ว.ช. โดยมีรายได้ต่อเดือนระดับปานกลางเฉลี่ยเท่ากับ 10,018.56 บาท ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง และอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนานเฉลี่ย 18.8 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพเป็นสมาชิกกองทุนและภายหลังจากเข้ากลุ่มกองทุนชุมชนเมือง กลุ่มตัวอย่างมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 หรือมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 1,850 บาท และพบว่าก่อนมีกองทุนหมู่บ้านมีกลุ่มกิจกรรมภายในชุมชนเฉลี่ย 2.5 กลุ่มภายหลังมีการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านแล้วเกิดกลุ่มกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉลี่ยเป็น 4.5 กลุ่ม จำนวนสมาชิกในกลุ่มกองทุนเฉลี่ย 40.4 คน มีจำนวนเงินหมุนเวียนภายในกลุ่มกองทุนเฉลี่ยประมาณ 50,000 บาทพบปัจจัยเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน 5 ด้าน คือ 1. ด้านโครงสร้างทางสังคมของกลุ่มชุมชน 2. ด้านโครงสร้างทางเศรษฐกิจของชุมชน 3. ด้านการเรียนรู้และภูมิปัญญาของชุมชน 4. ด้านความสัมพันธ์กับประชาชนกับภาคราชการ และ 5 ด้านประสิทธิภาพการบริหารจัดการของชุมชนและจากการวัดระดับความเข้มแข็งของชุมชน 3 ด้าน คือ 1.ด้านการพึ่งพาตนเอง 2. ด้านความสามัคคีและเอื้ออาทร และ 3 ด้านการมีส่วนร่วม จากข้อมูลของชุมชนเมืองตัวอย่าง 38 แห่ง พบว่าด้านการพึ่งพาตนเองของชุมชนอยู่ในระดับสูง โดยด้านความสามัคคีและเอื้ออาทรของชุมชนทั้งหมดอยู่ในระดับปานกลาง และด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนทั้งหมด อยู่ในระดับปานกลาง เช่นกัน ซึ่งสามารถจัดระดับของชุมชนเมืองในจังหวัดสมุทรปราการออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้คือ ชุมชนเมืองที่มีความเข้มแข็งระดับ ต่ำ 14 ชุมชนชุมชนที่มีความเข้มแข็งระดับปานกลาง 5 ชุมชน และ ชุมชนที่มีความเข้มแข็งระดับสูง 19 ชุมชน จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบตัวแปร 6 ตัวแปร ที่มีอิทธิพลต่อความเข้มแข็งของชุมชน 1. ระดับโครงสร้างทางสังคม 2. ระดับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ 3. ระดับประสิทธิภาพการบริหารจัดการในกลุ่ม 4. จำนวนเงินหมุนเวียนภายในกลุ่ม 5. ระดับรายได้ และ 6. ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ และพบตัวแปรที่แตกต่างกันของกลุ่มชุมชนเมืองที่เข้มแข็งกับชุมชนเมืองที่ไม่เข้มแข็งได้ 5 ตัวแปร คือ ระดับโครงสร้างทางสังคม จำนวนเงินทุนหมุนเวียนภายในกลุ่ม ระดับประสิทธิภาพการบริหารจัดการในกลุ่ม ระดับความรู้และภูมิปัญญา ระดับความสัมพันธ์ของกลุ่มกับภาครัฐ ปัญหาการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนเมือง คือ 1. ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ 2. การขาดการประชาสัมพันธ์ 3. การขาดจิตสำนึกในการเป็นผู้นำ ขาดความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของตนเองของคณะกรรมการชุมชน ขัดแย้งทางการเมืองและส่วนตัว 4. ปัญหาค่าใช้จ่ายไม่มีค่าตอบแทน 5. การขาดการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง 6. การกีดกันเล่นพรรคเล่นพวก และแสวงหาผลประโยชน์ 7. การขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในชุมชน ส่วนแนวทางการสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนเมือง 9 ประการ 1. การคัดสรรหาผู้นำองค์กรชุมชนที่มีความรู้ ความสามารถ มีเวลาเสียสละ 2. การพัฒนาเพิ่มทักษะความรู้ 3. กระตุ้นการทำงานให้มีกิจกรรมผูกพันและต่อเนื่องตลอดเวลา 4. การพัฒนากิจกรรมให้มีประสิทธิภาพ 5. การติดตามประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข กิจกรรม ชุมชนอย่างสม่ำเสมอ 6. การพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างงานใหม่ ๆ ที่เกิดประโยชน์ 7. การพัฒนาบทบาทหน้าที่องค์กรชุมชนทุกระดับไปสู่การปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอื่นที่สามารถหมุนเวียนแทนกันได้ 8. การพัฒนาความร่วมมือกับภาคเอกชน 9. การส่งเสริมการพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างชุมชน ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ กรมการพัฒนาชุมชนควรให้ความสำคัญแก่งานประชาสัมพันธ์ การรณรงค์สร้างความเข้าใจ ในการทำงานของกองทุนหมู่บ้าน ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นรับผิดชอบให้มากยิ่งขึ้นควรเพิ่มการประสานการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชน เครือข่ายชุมชนอื่น ๆ รวมทั้งการประสานแผนงานโครงการฯ การตลาด การแลกเปลี่ยนช่วยเหลือด้านผู้เชี่ยวชาญ ปราชญ์ผู้รู้ บุคลากร อุปกรณ์ซึ่งจะสามารถสร้างความสำเร็จของงานกิจกรรมของชุมชนได้เพิ่มขึ้น
The objectives of thesis were to study the factors that effected the empowerment to community and to compare between strengthened urban and non-strengthen urban communities, including the study of problems of the community fund in Samutprakarn province. Given the sampling from 313 members covered 3 municipals by using the questionnaires, which collected and calculated by SPSS/PC program, The statistical analysis using percentage, means and multiple regression. The study found that the ratio of sampling is equally between male and female and their age on average is 36.2 years old. Most of the sampling are educated from secondary school-vocational education. An income earning at medium level about 10,018.56 Baht. The occupation is being employee and the average period of residence in municipal area were 18.8 years. Mostly samplings were member of the urban community fund, thereafter bring to increase the income by 18.5 percent or average 1,850 Baht/month. And found that before the urban community fund started there have 2.5 groups concerned commune activity, but later increasing to 4.5 groups. The average number of member in the community fund were 40.4 members and the average of current flow about 50,000 Baht. The finding of the five factors to encourage the empowerment community; are 1) Social structure of the community 2) Economic structure of the community 3) Education and knowledge of the community 4) Government sector and civilian relation and 5) The effectiveness of the community administration. The sample data from 44 urban communities in level of the community empowerment Found that self-reliance were at highest level but the cooperation and aiding, including the participation is at medium level. There would be classifying the urban community in Samutprakarn Province into three levels as; high level 14 communities, medium level 11 communities and low level as 19 communities. The result of statistical analysis found the 6 variable factors that the the empowerment of community; 1) Social structure of the community 2) Economic structure of the community 3) Level of the community administration’s effectiveness 4) Budget flow in the community 5) The level of income and 6) Period of residence on the community. Otherwise, the study found that there are five factors that differ between urban strengthened and non-strengthen communities which were the level of social structure, budget flow in the community, the effectiveness of the community administration, level of education and knowledge of community, level of government sector and civilian relation. Problems of the strengthening of community empowerment are 1) Economic critic 2) Lack of promotion 3) Non-leadership responsibility politic 4) Non-salary payable 5) Non-continue activities 6) Red-Taped and take advantage and 7) Lack of educated and specialist personel in the community. There are 9 issues to guidance for strengthen the community empowerment; are 1) Recruitment who has ability and donate to be the leader of community 2) Develop and upgrade the skill and knowledge 3) Encourage the activities continuously 4) Improve activities effectively 5) Evaluation, monitoring and adjustment 6) Develop and create up benefit from the new job 7) Develop the role and function in all level of community rotation to other authority 8) Develop the cooperation with private sector and 9) Promotion to exchange the knowledge and learning among the communities.
Description: วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/205
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Front.pdf108.78 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdf379.34 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdf87.67 kBAdobe PDFView/Open
TableContents.pdf286.46 kBAdobe PDFView/Open
chapter1.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
chapter2.pdf3.36 MBAdobe PDFView/Open
chapter3.pdf244.48 kBAdobe PDFView/Open
chapter4.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
chapter5.pdf661.24 kBAdobe PDFView/Open
references.pdf290.49 kBAdobe PDFView/Open
vitae.pdf50.25 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.