Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2072
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมาริสสา อินทรเกิด-
dc.contributor.authorจักร เข็มพงษ์-
dc.date.accessioned2024-04-27T14:21:06Z-
dc.date.available2024-04-27T14:21:06Z-
dc.date.issued2013-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2072-
dc.descriptionการศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (การจัดการอุตสาหกรรม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2556th
dc.description.abstractอุตสาหกรรมรถยนต์มีความต้องการชิ้นส่วนรถยนต์เป็นจำนวนมากจากอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองต่อผู้ผลิตรถยนต์ที่มีอัตราส่วนเพิ่มขึ้นแต่ละปี และนำประเทศไทยให้เป็นผู้นำในการผลิตรถยนต์ 1 ใน 10 ลำดับแรกของโลก ซึ่งผู้ผลิตรถยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์มีความสัมพันธ์กันโดยตรงในห่วงโซ่อุปทาน การศึกษาอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดของเสียและเพื่อพยากรณ์มูลค่าของเสียในอุตสาหกรรมการผลิตเบาะรถยนต์ กรณีศึกษาผู้ผลิตเบาะรถยนต์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการคำนวณทางสถิติได้โดยใช้สถิติดังต่อไปนี้ สถิติพรรณนา เพื่อบรรยายข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างเป็นตารางแจกแจงความถี่ (Frequencies) โดยระบุค่าข้อมูลร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviations) ใช้สถิติวิเคราะห์แบบ Regression Analysis เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่คาดว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดของเสียในอุตสาหกรรมการผลิตเบาะรถยนต์ ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ผลิตเบาะรถยนต์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ผลิตส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจมากกว่า 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 66 สัดสส่วนผู้ถือหุ้นเป็นบริษัทต่างชาติเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 66.7 ได้แก่ ผู้ผลิตจากอเมริกาและญี่ปุ่น ตามลำดับ ทุนจดทะเบียนอยู่ระหว่าง 100-200 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 33.3 ขนาดของบริษัทส่วนใหญ่ 200-500 คน และ 501-1000 เท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 33.3 ผลิตเพื่อส่งให้กับผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่คือ Chevrolet คิดเป็นร้อยละ 12.7 มูลค่าของเสียในรอบปีประกอบการล่าสุด มูลค่าประมาณ 4,000,001-8,000,000 มากที่สุด จำนวน 7 ผู้ผลิต คิดเป็นร้อยละ 58.33 รองลงมา 8,000,001-12,000,000 และ 12,000,001-16,000,000 ซึ่งมีค่าเท่ากัน 2 ผู้ผลิต คิดเป็นร้อยละ 16.67 คิดมูลค่าเฉลี่ยของเสียในอุตสาหกรรมทั้งหมดเป็น 90,167,110.76 บาท ข้อมูลปัจจัยในด้านต่างๆ ที่ทำให้เกิดของเสียในอุตสาหกรรมการผลิตเบาะรถยนต์ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยจากวัตถุดิบเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดของเสียมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.75 และส่วนเบี่ยงเบน 0.754 มีค่า sig. = 0.965 > 0.05 รองลงมาเป็นการวิเคราะห์คุณค่าและวิศวกรรมคุณค่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.083 ส่วนเบี่ยงเบน 0.793 ค่า sig. = 0.961 > 0.05 ตามด้วยปัจจัยด้านเครื่องจักรหรือการติดตั้งเครื่องจักรอยู่ที่ 1.750 ส่วนเบี่ยงเบน 0.622 มีค่า sig. = 0.949 > 0.05 และปัจจัยด้านการส่งมอบ ปัจจัยด้านกำลังคน ปัจจัยด้าน Supplier ปัจจัยด้านการทดสอบ PT LOT ปัจจัยด้นการออกแบบผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านกระบวนการผลิต ปัจจัยด้านลำดับการผลิตมีค่า Sig, เป็น 0.938, 0.849, 0.776, 0.685 และ 0.657 ตามลำดับ ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ เกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้เกิดของเสียที่ไม่มีในแบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า ผู้ผลิตได้แสดงความคิดเห็นในสองประเด็นหลัก คือ ประเด็นแรกการผลิตแบบ Just in Time สามารถทำให้ปัจจัยต่างๆ ลดน้อยลง และประเด็นที่สอง คือ การจัดการวัตถุดิบให้มีการไหลอย่างมีระบบควบคู่กับการควบคุมคุณภาพในกระบวนการต่างๆ รวมถึงการจัดกิจกรรมเพื่อลดของเสียต่างๆ ในอุตสาหกรรม Car industries need a plenty of auto parts in order to respond the auto producers whose needs have been increased each year, also Thailand has been known as one of the top tenth of the world car producers, as the car and auto part producers are directly bonded in terms of “demand-supply chain,” this independent study aimed to investigate the factors that contribute to “Scrapped” in automobile parts manufacturing. In this study, the data was analyzed by using the completion of the statistical calculations, descriptive. It described statistical data of the samples in terms of frequency, percentage, mean, and standard deviation in regression analysis in order to analyze the factors that assumed to be the “Scrapped” in the car seat manufacturing. The general information of car seat producers The results showed that most car producers had been in business for more than 10 years (66%). The ratio of shareholders were mostly foreign business firms (66.7%) for example, those from the US and Japan. The financial investment was at the range of 100-200 billion baht (33%, 200-500 and 501-1,000 manpower), supplying the auto parts to Chevrolet (12.7% of scrapped). The current circle of the production was at the value of 4,000,001-8,000,000 (58.33%) of seven car producers, the second place was 8,000,0001-12,000,000 and 12,000,001-16,000,001 (16.67%) average scrapped in the industries was at 90,167,110.76 baht. The information factors of scrapped in car seat production industries The results showed that the raw material was the most factors causes “Scrapped” with mean 2.75, standard deviations 0,754,, sig value 0.965>0.05. Secondary factor was the value and analyses, 3.083, standard deviations 0.793, sig value 0.961>0.05. The machines and its installation are: mean 1.75, standard deviation 0.622, sig 0.949>0.05. The sig values of delivery, man power, supplier, PT LOT Test, product design, production, and production sequences factors are 0.938, 0.849, 0.776, 0.685 and 0.657 respectively. Further suggestions relating to the scrapped factors without questionnaire The research finding revealed that manufacturers’ opinions were in two main aspects. The first aspect was “Just in Time” production reduced many negative factors. The last aspect was the management of materials with systematic flow and production control in procedures in decreasing all types of “Scrapped” in the industries.th
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์th
dc.subjectAutomobile supplies industryth
dc.subjectการลดปริมาณของเสียth
dc.subjectWaste minimizationth
dc.subjectการควบคุมความสูญเปล่าth
dc.subjectLoss controlth
dc.subjectรถยนต์ -- เบาะนั่งth
dc.subjectAutomobiles -- Seatsth
dc.titleปัจจัยที่ทำให้เกิดของเสียในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ : กรณีศึกษาผู้ผลิตเบาะรถยนต์th
dc.title.alternativeThe Factor of the Scrapped Parts in the Thai Autoparts Manufacturing : A Case Study of Car Seat Manufacturersth
dc.typeIndependent Studiesth
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการจัดการอุตสาหกรรมth
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chak-Khempong.pdf9.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.