Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2076
Title: การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล : ศึกษาเฉพาะกรณี จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: People's Participation in the Development Project of Sub-district Administration Organization : A Case Study of Samut Prakarn Province
Authors: สุภรัฐ หงษ์มณี
คำนึง ธรรมสุข
Kumnung Thamsuk
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Keywords: องค์การบริหารส่วนตำบล -- ไทย -- สมุทรปราการ
Subdistrict Administrative Organization -- Thailand -- Samut Prakarn
การปกครองท้องถิ่น
Local government
การมีส่วนร่วมของประชาชน
Political participation
การพัฒนาชุมชน
Community development
Issue Date: 2002
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินโครงการพัฒนาตำบลชอง อบต. รวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการเป็นสมาชิกชมรม การเข้าร่วมกิจกรรมและสภาพความเป็นชนบทและเมืองของพื้นที่ อบต. ต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินโครงการพัฒนาตำบลของ อบต. ในจังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 360 คนจาก อบต. 9 แห่ง โดยใช้แบบวัดในแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทัศนคติความพึงพอใจต่อการทำงานของ อบต. และข้อมูลการมีส่วนร่วมในโครงการของ อบต. เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลครบถ้วน จึงนำมาประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจและระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยใช้ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย และใช้ค่าสถิติไคแสควร์ ในการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง การเป็นสมาชิกชมรม การเข้าร่วมกิจกรรม และสภาพความเป็นชนบทและเมืองของพื้นที่ อบต. ต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนและศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมโดยใช้ค่าสถิติการถดถอยพหุคูณ ซึ่งการศึกษาพบว่า ประชาชนกลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 38.4 ปี ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา - ปวช. โดยมีรายได้ต่อเดือนระดับปานกลางเฉลี่ยเท่ากับ 10,544.40 บาท ส่วนใหญ่ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมหรือรับบริการจาก อบต. โดยในรอบปีที่ผ่านมาประชาชนมีการติดต่อประสานงานกับ อบต. เฉลี่ยคนละ 1 ครั้งต่อปี และมีผู้ไม่เคยติดต่อกับ อบต. เลยจำนวนมากที่สุด ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นสมาชิกชมรมต่างๆ ของ อบต. จากการศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อ อบต. โดยรวมนั้นอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ทั้งนี้ประชาชนมีความพึงพอใจต่อ อบต. ด้านการบริหารงานของ อบต. สูงสุด รองลงมา คือ ความพึงพอใจด้านการให้บริการของ อบต. ความพึงพอใจด้านการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของ อบต. ความพึงพอใจด้านผู้บริหาร อบต. ความพึงพอใจด้านความรับผิดชอบในการทำงาน/โครงการของ อบต. โดยมีความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ อบต. น้อยที่สุด การวัดระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนกับ อบต. โดยรวมอยู่ในระดับต่ำ และจำแนกการมีส่วนร่วมในรายด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามโครงการการมีส่วนร่วมในการวางแผนโครงการ และการมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล ตามลำดับ ส่วนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกลุ่มกับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อโครงการของ อบต. พบว่า การเข้าร่วมกิจกรรม การเป็นสมาชิกชมรม มีความสัมพันธ์กับระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยประชาชนที่เคยเข้าร่วมกับกิจกรรมหรือร่วมงานกับ อบต. และประชาชนที่เป็นสมาชิกชมรมของ อบต. จะมีระดับการเข้ามีส่วนร่วม มากกว่าผู้ที่ไม่เป็นสมาชิกชมรมหรือผู้ไม่เคยเข้าร่วมโครงการ แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการอยู่อาศัยในเขตเมืองหรือเขตชนบทกับระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อ อบต. ในการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการของ อบต. พบตัวแปร 5 ตัว คือ รายได้ ความพึงพอใจด้านการบริหารงาน ความพึงพอใจด้านการให้บริการ ความพึงพอใจด้านความรับผิดชอบในการทำงานหรือโครงการ และความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ อบต. ที่มีอิทธิพลต่อระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะหน่วยงาน อบต. ควรให้ความสำคัญแก่งานประชาสัมพันธ์ การรณรงค์สร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนท้องถิ่นของตนเองให้มากขึ้น สร้างประสิทธิภาพการทำงานโดยปรับปรุงรูปแบบการทำงานให้มีลักษณะเชิงรุกเข้าสู่ประชาชนมากกว่านี้เพื่อสร้างความใกล้ชิด ความรู้สึกที่ดีระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ อบต. และควรพัฒนาเพิ่มศักยภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ และผู้บริหาร อบต. โดยเปิดโอกาสในการแสวงหาความรู้ การยกระดับการศึกษาเพิ่มเติม การฝึกอบรม เพื่อสร้างประสิทธิภาพการทำงานให้แก่องค์กร รวมทั้ง อบต. ควรสร้างความโปร่งใสในการทำงาน การดำเนินโครงการ ตลอดจนมีการติดตามตรวจสอบโรงการ และควรเพิ่มการประสานการทำงานร่วมกันระหว่าง อบต. ต่างๆ การแลกเปลี่ยนช่วยเหลือด้านบุคลากร อุปกรณ์ ซึ่งจะสามารถสร้างความสำเร็จของงานได้เพิ่มขึ้น มีข้อเสนอแนะต่องานวิจัยครั้งต่อไปว่าควรทำการศึกษาเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมหรือวางแนวทางการเข้ามีส่วนร่วมของภาคเอกชน ประชาชน ในการเข้ามีส่วนร่วมดำเนินโครงการของ อบต. และควรทำการวิจัยเปรียบเทียบประเมินผลการมีส่วนร่วมของประชาชนระหว่าง อบต. ที่ประสบความสำเร็จกับ อบต. ที่ไม่ได้รับความสำเร็จในการสร้างการมีส่วนร่วม ควรทำการศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการสร้างการมีส่วนร่วมจากมุมมองของเจ้าหน้าที่และผู้บริหาร อบต. เพื่อเป็นข้อมูลในการเสนอแนวคิดการมีส่วนร่วมในทุกระดับ
Description: ภาคนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2545
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2076
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kumnueng-Thammasook.pdf
  Restricted Access
12.43 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.