Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/208
Title: การปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ : ศึกษาเฉพาะสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดเพชรบูรณ์
Other Titles: The Police Performance of the Drug-Prevention and Suppression : A Case Study of Police Stations in Petchaboon Province
Authors: ทิพาภรณ์ โพฺธิถวิล
Thipaporn Phothithawil
จิระศักดิ์ เหมือนรอดดี
Jirasak Muanroddee
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Keywords: ยาเสพติด -- การป้องกัน
ตำรวจ -- ไทย -- เพชรบูรณ์.
Substance abuse -- Prevention
Police -- Thailand -- Petchaboon
Issue Date: 2003
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: เรื่องศึกษาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดเพชรบูรณ์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดป้องกันและปราบปรามยาเสพติดต่อนโยบายรัฐบาล ตลอดจนแผนและมาตรการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2) เพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านยาเสพติดและสภาพภูมิประเทศในจังหวัดเพชรบูรณ์ 3) เพื่อศึกษาศักยภาพของหน่วยงานและหลักเกณฑ์การคัดเลือกเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านป้องกันและปราบปรามยาเสพติด 4) เพื่อศึกษาแนวทางปฏิบัติงานด้านการป้องกันและ ปราบปรามยาเสพติด 5) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของงานด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการศึกษาแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงานชุดป้องกันและปราบปรามยาเสพติดทั้งระดับชั้นสัญญาบัตรและชั้นประทวนจากทุกสถานีตำรวจในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 107 คน ผลการวิจัยพบว่ามีปัจจัยหลายด้านที่มีส่วนกำหนดให้งานด้านป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของแต่ละสถานีตำรวจมีความยากง่ายแตกต่างกันไปตามลำดับดังนี้ปัจจัยด้านระดับความรู้ความเข้าใจของบุคลากรต่อนโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์กรซึ่งจะส่งผลให้การนำนโยบายไปปฏิบัติเป็นผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพจากการศึกษาในส่วนนี้พบว่าเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานส่วนมาก เข้าใจแผนปฏิบัติการของแต่ละสถานีตำรวจ ซึ่งออกรองรับแผนและมาตรการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และนโยบายรัฐบาลมีเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงานส่วนน้อยเท่านั้นที่คอยรับฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่หัวหน้าชุดปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดทั้งระดับชั้น สัญญาบัตรและชั้นประทวน มีระดับความรู้ความเข้าใจต่อนโยบายรัฐบาล ตลอดจนแผนและมาตรการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยละเอียด และเห็นว่านโยบายรัฐบาลปัจจุบันในด้านยาเสพติดเป็นนโยบายที่ดีมาก นอกจากนี้ยังมีการอบรมประชุมชี้แจงจากผู้บังคับบัญชาทุกสัปดาห์ส่งผลให้การป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะบุคลากรผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจนโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์กรเป็นอย่างดีปัจจัยด้านลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดเพชรบูรณ์ซึ่งมีชุมชนแบ่งเป็น 2 ลักษณะมีส่วนทำให้สถานการณ์ยาเสพติดในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันไป คือ ในลักษณะภูมิประเทศที่มีพื้นที่เป็นภูเขาสูง เช่น อำเภอเขาค้อ อำเภอหล่มสัก ลักษณะชุมชนเป็นแบบอยู่กระจายไม่รวมกลุ่มส่วนมากเป็นพวกชาวเขา ชาวไร่ ทำให้การรณรงค์เพื่อทำกิจกรรมต่อต้านยาเสพติดทำได้ยากส่งผลให้การป้องกันยาเสพติดได้ผลน้อย รวมทั้งลักษณะพื้นที่ยังเอื้ออำนวยต่อการซุกซ่อนยาเสพติดของผู้ค้ารายสำคัญ เพื่อรอลำเลียงไปยังแหล่งจำหน่ายอื่น ๆ การแพร่ระบาดมีสูง ลักษณะภูมิประเทศอีกส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่แบบที่ราบลุ่ม ทำให้เกิดชุมชนแบบรวมกลุ่มเพราะเป็นแหล่งพื้นที่ที่เจริญ เช่นอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอหนองไผ่ ฯลฯ การป้องกันและปราบปรามยาเสพติดทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากกว่า การแพร่ระบาดมีสูงในเขตอำเภอเมืองและระดับปานกลางในเขตอำเภอใกล้เคียง กลุ่มผู้เสพเป็นเยาวชนและผู้ใช้แรงงานปัจจัยด้านศักยภาพของหน่วยงานและหลักเกณฑ์การคัดเลือกบุคลากรเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ชุดป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยปัจจัยส่วนนี้ส่งผลทำให้พื้นที่ของสถานีตำรวจส่วนน้อยที่ได้รับงบประมาณและกำลังพลเพียงพอ เช่น สภ.อ.เมืองเพชรบูรณ์ สภ.อ.หล่มสัก สามารถคัดเลือกเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติงานได้ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดไว้ ทำให้มีการกำหนดตำแหน่งและลำดับชั้นการบังคับบัญชาได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้การป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมีประสิทธิภาพในขณะเดียวกันพื้นที่สถานีตำรวจส่วนมากยังขาดแคลนงบประมาณและกำลังพล ทำให้การคัดเลือกเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานไม่ได้ตามหลักเกณฑ์ส่งผลให้ศักยภาพของหน่วยงานมีประสิทธิภาพน้อยลงทำให้การป้องกันและปราบปรามยาเสพติดได้ผลน้อยลงเพราะต้องใช้บุคลากรทำงานหลายหน้าที่ในเวลาเดียวกันจากปัจจัยดังกล่าวทั้งหมดส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงานทั้งหมดส่วนมาก ใช้มาตรการปฏิบัติงานด้านการป้องกันยาเสพติด คือมาตรการบริการสารสนเทศ และมาตรการทางเลือก แต่การปฏิบัติจริงยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะขาดงบประมาณในการทำชุมชนให้เข้มแข็ง จนกระทั่งในปัจจุบันรัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณในด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแบบครบวงจร โดยให้เจ้าหน้าที่ ตำรวจทำงานร่วมกับฝ่ายปกครองและสาธารณสุข ทำให้การป้องกันได้ผลดีขึ้น และมาตรการสอดแทรก รวมทั้งมาตรการทางการศึกษา ทางหน่วยงานสาธารณสุขและฝ่ายปกครองเป็นผู้นำไปดำเนินการ ส่วนในด้านการปราบปราบยาเสพติดสามารถทำอย่างมีประสิทธิภาพได้ในระดับหนึ่งเป็นส่วนของสถานีตำรวจที่มีงบประมาณเพียงพอซึ่งยังมีเป็นส่วนน้อย ส่วนมากยังขาดงบประมาณและติดขัดขั้นตอนข้อกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการปราบปรามยาเสพติด และในปัจจุบันรัฐบาลมีเงินสนับสนุนด้านงบประมาณและรางวัลการจับกุมยาเสพติดมากขึ้น ตลอดจนมีการใช้กฎหมายยึดทรัพย์ทำให้การปราบปรามมีประสิทธิภาพได้ผลมากกว่าเดิมในส่วนของการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมีปัญหาและอุปสรรคด้านกำลังพลและงบประมาณไม่เพียงพอ รวมทั้งปัญหาด้านกฎหมายซึ่งในปัจจุบันมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น กฎหมายฟอกเงิน กฎหมายยึดทรัพย์ผู้ค้ายาเสพติดแต่ยังมีปัญหาในส่วนของการออกำหมายค้นของศาลยังล่าช้าตลอดจนการให้สวัสดิการเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ต้องเสี่ยงต่อการปฏิบัติงานในส่วนของข้อเสนอแนะผู้วิจัยเห็นว่า รัฐบาลควรเพิ่มงบประมาณและกำลังพล เพื่อการปราบปรามยาเสพติดที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนสวัสดิการของผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งการแก้ไขข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานและมีการพัฒนาบุคลากร รวมทั้งรณรงค์ให้มีการสร้างชุมชนเข้มแข็งเพื่อเป็นการป้องกันยาเสพติดแบบยั่งยืนข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป ผู้ศึกษาเห็นว่าควรมีการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของกฎหมายรัฐธรรมนูญต่อการปฏิบัติงานด้านป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เพื่อหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
The police performance of the Drug-Prevention and Suppression: A Case Study of Police Stations in Petchaboon Province had objectives and follows: 1) To study the knowledge and understanding levels of the drug-prevention and suppression police plans and measures 2) To study the drug addiction situations and the topography of Petchaboon Province 3) To study the potential of the work units and criteria for selecting the drug-prevention and suppression police force 4) To study the real performance of drug prevention and suppression 5) To study problems and obstacles of drug prevention and suppression. It was a qualitative research whose data warrant collected from 107 drug-prevention and suppression police force of commission and warrant police officials of every police station.The research revealed that there were many factors in making the drug prevention and suppression more or less difficult for different police stations as follows: The levels of the personnel’s’ knowledge and understanding about the policies and objectives of the organization affects the success and effectiveness in enforcing the policies. It was found that most of the performance officials understood their police station’s operation plans made in accordance with the plans and measures of the Royal Thai Police and the policies of the government, that only the small amount of them did accordingly to the order of their immediate superiors, that the leaders of the drug-prevention and suppression police force of both commission and warrant police officials had adequate knowledge and understanding about plans and measures of the Royal Thai Police and agreed that the government’s policies about drug prevention and suppression was suitable, and that there were a weekly meeting here the superiors come to explain various issues to their subordinates, making the drug prevention and suppression become more effective due to the fact that the performance officials have good knowledge and understanding of the policies and objectives of the organization.The factor of the topography of Petchaboon Province, which was classified into two areas, caused different situations of drug addiction problems in different areas. In the communities located in mountainous areas, such as Kaokho and Lomsak Sub-districts, peoples lived dispersively. Most of them were hill tribes and famers, therefore it was difficult to set up the campaign activities against drug addiction in those areas, resulting in less effectiveness of drug prevention. Moreover, theses areas were convenient for influential drugs traffickers in transferring their goods to sell in other markets. Drug addiction then highly spreaded here. In the plain areas, where were densely populated and modernized, such as Muang Petchaboon and Nongpai districts, it was easier and more effective to prevent and suppress drug addiction. Drug addiction . Drug addiction was highly spreaded in Muang Petchaboon Districts and moderately spread in the nearby districts, Most of drug addicts were youths and laborers. The factors underlined the potential of the work units and criteria for selecting the drug prevention and suppression police officials depended upon the budget and personnel distributed to them. A few police stations, such as the police station of Muang Petchaboon and the one of Lomsak, which had enough budgets and personnel. Therefore could meet the criteria of selecting the performance officials officials as stipulated by the Royal Thai Police, resulting in the proper setting of position and hierarchy of command necessary for making effective drug prevention and suppression. On the contrary, most of the police stations lacking of budgets and personnel could not meet those criteria and thus reduce their drug prevention and suppression effectiveness. All factors mentioned above truly affected the drug prevention and suppression performance. Most of the performance police officers preferred to use the preventative measures i.e. information services and alternative measures, but their results were rather unsatisfactory because of the lack of budget for strengthening the communities. Today, the government had distributed budget for completing cycles of drug prevention and suppression, making the police officials to work cooperatively with the administrative and public health officials. This made the preventive measures more effective. As for the interruptive and educational measures, the administrative and public health work units took them. With respect to drug suppression, only a few of the police stations with enough budget and personnel could perform it certain level of satisfaction. Most of the police stations lacked of enough budget, also were obstructed by various legal steps of action. The government should raise up more budget for drug suppression and set more rewards for inducing the police to arrest the violators as well as using the law to confiscate properties of the drug traffickers, resulting in more effectiveness of drug suppression. In conclusion, even with much more effective laws today, such as laws on money laundering and property confiscating, the obstacles of drug prevention and suppression performance were caused by the lacks of enough budget and personnel to support them, The effectiveness of these laws were reduced by of the delay of warrant issuing for search by the court and also the welfare services provision for policemen taking a risk in preventing and suppressing drug addiction. As for recommendations, the researcher would like to suggest that the government should increase the budget and personnel for the effectiveness of drug-prevention and suppression performance, provide welfare services for performance police officials and amend the laws concerned with obstruct the performances. Including the personnel development and campaigns for strengthening communities to be sustainable, as effective measures for drug prevention. For further research, it should be aimed to study the effects of the constitution on the drug prevention and suppression performance in order to find more effective performance measures.
Description: วิทยานิพนธ์ (สส.ม) (การบริการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/208
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf535.88 kBAdobe PDFView/Open
tableofcontents.pdf135.88 kBAdobe PDFView/Open
chapter1.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
chapter2.pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open
chapter3.pdf473.96 kBAdobe PDFView/Open
chapter4.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
chapter5.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
references.pdf227.65 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.