Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2081
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิรนีย์ สุรเศรษฐ-
dc.contributor.advisorJiranee Suraseth-
dc.contributor.authorคมกริช อนันตบุรณะ-
dc.contributor.authorKomkrit Anuntaburana-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.date.accessioned2024-04-27T15:46:34Z-
dc.date.available2024-04-27T15:46:34Z-
dc.date.issued2003-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2081-
dc.descriptionภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546th
dc.description.abstractในช่วงปี 2545 ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์มีการขยายตัวสูงมกและเกิดการแข่งขันเพื่อเป็นผู้ครองตลาดทั้งในด้านราคาและคุณภาพ และประกอบกับการเกิดเขตการค้าเสรีทั้งในภูมิภาคอาเซียนและโลก จึงทำให้กลายเป็นการเพิ่มการแข่งขันเพราะว่าลดภาษีนำเข้าให้เหลือ 0-5% ตามข้อตกลง จึงทำให้สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังประเทศต่างๆ ได้มากขึ้น เพราะปลอดจากกำแพงภาษีที่แต่ละประเทศกำหนดขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อลดต้นทุนการผลิตที่เกิดจากของเสีย วัตถุดิบ อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต (วัตถุดิบทางอ้อม) รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักร เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการ โดยในปัจจุบันทางบริษัท ได้มีของเสียเกิดขึ้นมากมาย และของเสียบางอย่างยังไม่มีการวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงและทำการแก้ไข ซึ่งเป็นผลทำให้บริษัทยังมีต้นทุนการผลิตที่สูงอยู่ ดังนั้น หากนำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพเข้ามาทำการแก้ไขของเสียให้ลดลง ก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงด้วยเช่นกัน ปัญหาอีกอันหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนการผลิต ก็คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตที่จำเป็นจะต้องสั่งจากต่างประเทศ คือ ประเทศญี่ปุ่น ผลก็คือ มีราคาสูง ระยะเวลาในการสั่งค่อนข้างนาน ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องสั่งเข้ามาเก็บไว้เป็นผลทำให้มีต้นทุนการผลิตสูงเช่นกัน ดังนั้น หากนำเอาเทคนิควิศวกรรมคุณค่ามาวิเคราะห์หาหน้าที่การใช้งานแล้วหาบริษัทที่สามารถผลิตได้ที่มีอยู่ในประเทศไทยแล้วทำการทดลองดูว่าสามารถใช้งานได้เหมือนกันหรือไม่ หากสามารถทำได้ ก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ในส่วนของวัตถุดิบก็เช่นกันแต่เนื่องจาก ในประเทศไทยไม่มีศักยภาพพอ จึงจำเป็นที่จะต้องนำเข้าจากประเทศอื่นแทนแต่จะต้องมีคุณภาพที่เท่ากัน ในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักรก็สามารถนำกิจกรรมการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่องมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักรทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตได้ อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของบริษัทในการบรรลุการลดต้นทุนการผลิตและรองรับการผลิตในอนาคตจะเป็นรูปธรรมได้ ก็ต่อเมื่อพนักงานทุกฝ่ายทุกระดับ และทุกหน่วยงานต้องร่วมกันทำงาน แก้ไขปัญหาเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน และควรมีความตระหนักต่อคุณภาพ รวมทั้งความร่วมมือร่วมใจกันคงรักษาไว้ซึ่งคุณภาพและพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องth
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectต้นทุนการผลิตth
dc.subjectCostth
dc.subjectต้นทุนและประสิทธิผลth
dc.subjectCost effectivenessth
dc.subjectการควบคุมความสูญเปล่าth
dc.subjectLoss controlth
dc.subjectบริษัท สยามพิสตั้น ริง จำกัดth
dc.subjectSiam Piston Ring Co. Ltd.th
dc.titleการลดต้นทุนการผลิตของบริษัท สยามพิสตั้น ริง จำกัดth
dc.title.alternativeProduction Cost Reduction of Siam Piston Ring Co., Ltd.th
dc.typeIndependent Studiesth
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineบริหารธุรกิจth
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Komkrit-Anuntaboorana.pdf
  Restricted Access
6.9 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.