Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2083
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพ็ญ ชยาวิวัฒน์กุล-
dc.contributor.advisorPenn Chayavivatkul-
dc.contributor.authorคนึงนิตย์ โชติช่วง-
dc.contributor.authorKanungnit Chotechoung-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.date.accessioned2024-04-27T16:03:38Z-
dc.date.available2024-04-27T16:03:38Z-
dc.date.issued2003-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2083-
dc.descriptionภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546th
dc.description.abstractยาเป็นปัจจัยหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ร้านขายยาเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพที่อยู่ใกล้ชิดประชาชน ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่กระจายยาเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญเปรียบเสมือนเป็น “ที่พึ่งด้านสุขภาพของชุมชน” เป็นทางเลือกกนึ่งของประชาชนในการใช้บริการเมื่อมีอาการหรือเจ็บป่วยเบื้องต้น ร้านขายยาในปัจจุบันจึงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีรูปแบบการบริการที่หลากหลายแตกต่างกัน ไม่ว่าจะพิจารณาจากทำเลที่ตั้งการตกแต่งร้าน ราคายา การมีเภสัชกรประจำร้าน เป็นต้น ความแตกต่างของคุณภาพการบริการของร้านขายยาเป็นประเด็นหนึ่งที่ประชาชนให้ความสนใจ ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค หรือผู้ป่วย มาตรฐานร้านขายยาจึงถูกพัฒนาขึ้น ให้สามารถเป็นหน่วยบริการหนึ่ง ในเครือข่ายระบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งประชาชนสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้ตามความจำเป็น และมีเสรีในการเลือกใช้บริการได้ตามความพึงพอใจ ซึ่งในปัจจุบันจำนวนร้านขายยาทั่วประเทศไทยมีมากกว่า 12,119 แห่ง เป็นร้านขายยาแผนปัจจุบัน (ขย. 1) จำนวน 4,723 แห่ง ร้านขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จ (ขย. 2) 5,147 แห่ง ร้านขายยาแผนโบราณ 2,249 แห่ง และอีกจำนวนหนึ่งเป็นร้านขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์ (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, 2540) จากจำนวนร้านขายยาที่มีอยู่มาก และกระจายอยู่ทั่วไป จึงทำให้การซื้อยารับประทานเองมีความสะดวกกว่าการไปพบแพทย์ ทำให้ร้านขายยาได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการร้านขายยาในเขตเมืองพัทยา มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 2 ประการคือ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการร้านขายยาในเขตเมืองพัทยา 2. เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการมาใช้บริการร้านขายยาของผู้บริโภคในเขตเมืองพัทยา โดยมีสมมติฐานในการศึกษา คือ สมมติฐานที่ 1 ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภค ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา รายได้ อาชีพ และสถานภาพการสมรส มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านขายยาของผู้บริโภคและสมมติฐานที่ 2 ร้านขายยาที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า เป็นปัจจัยที่มีผลต่อผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการร้านขายยามากที่สุด ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษาวิจัย คือ 1. นำไปวางแผนทางด้านการตลาด 2. นำมาเป็นแนวทางในการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคมากสุด 3. เพื่อเผยแพร่ความรู้สำหรับผู้ที่มีความสนใจทั่วไป จากการวิจัย นำมาสู่ข้อเสนอแนะอันจะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงกลยุทธ์ทางด้านตลาด ในด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ด้านราคา (Price) ด้านทำเลที่ตั้ง (Place) และด้านการส่งเสริมการขาย (Promotion) ของร้านขายยาในปัจจุบัน เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เกิดประโยชน์สูงสุด และสอดคล้องต่อความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุดth
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภคth
dc.subjectConsumer behaviorth
dc.subjectร้านขายยา -- ไทย -- ชลบุรี (พัทยา)th
dc.subjectDrugstores -- Thailand -- Chonburi (Pattaya)th
dc.subjectร้านขายยา -- การจัดการth
dc.subjectDrugstores -- Managementth
dc.titleพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการร้านขายยาในเขตเมืองพัทยาth
dc.title.alternativeConsumer Behavior in Drug Stores Services : A Case Study of People in Pattaya Cityth
dc.typeIndependent Studiesth
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineบริหารธุรกิจth
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kaneungnit-Chotchong.pdf
  Restricted Access
11.39 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.