Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/209
Title: | การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | The Study on Factors Effected Self-Discipline Behavior of Students : A Case Study of Primary School Students of Bangkok Metropolitan Administration Schools. |
Authors: | ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา Thanya Sanitwongse Na Ayuttaya จิราพร อรุณพูลทรัพย์ Jiraporn Arunpoonsab Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
Keywords: | นักเรียนประถมศึกษา -- ไทย -- กรุงเทพฯ วินัยของเด็ก การควบคุมตนเอง วินัยในโรงเรียน Education, Elementary -- Thailand -- Bangkok Discipline of children Self-control School discipline |
Issue Date: | 1998 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ในสังกัดกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาปัจจัยการอบรมเลี้ยงดูการจัดกิจกรรมเสริมสร้างวินัยโรงเรียนและการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีวินัยในตนเองของนักเรียน 2) ศึกษาความแตกต่างของปัจจัยต่าง ๆ ระหว่างนักเรียนที่มีวินัยในตนเองสูงและต่ำ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อพฤติกรรมการมีวินัยในตนเองของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2540 โรงเรียนสังกัด กรุงเทพมหานคร ที่ตั้งอยู่ในเขตบางซื่อ บางกะปิ และจอมทอง รวม 9 โรงเรียน จำนวน 365 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบวัดความคิดเห็นมี 5 ตอน 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลที่เป็นตัวแปรควบคุม 2) แบบวัดแบบแผนการอบรมเลี้ยงดู 3) แบบวัดระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม 4) แบบวัดระดับกิจกรรมเสริมสร้างวินัยในโรงเรียน 5) แบบวัดความมีวินัยในตนเอง เมื่อได้ข้อมูลครบถ้วนแล้ว นำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC+ เพื่อศึกษาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณและวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า เด็กนักเรียนส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 11-12 ปี สถานภาพครอบครัวสมบูรณ์บิดามารดายังอยู่ร่วมกัน บิดามารดาประกอบอาชีพรับจ้าง และการศึกษาบิดามารดาเพียงชั้นประถมศึกษา อาชีพบิดามารดาและระดับการศึกษาของบิดามารดากับขนาดของโรงเรียนมีความสำคัญกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แบบแผนการอบรมเลี้ยงดู เด็กนักเรียนได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบให้พึ่งพาตนเองเร็วและเด็กหญิงจะได้รับการฝึกให้พึ่งตนเองเร็ว และถูกควบคุมมากกว่าเด็กชาย แต่จะถูกลงโทษทางจิตน้อยกว่าเด็กชาย ส่วนการเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนและการใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์เด็กหญิงและเด็กชายได้รับจากครอบครัวไม่ต่างกัน การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม เด็กนักเรียนมีการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมในระดับสูงกว่าการกระทำเพื่อต้องการรางวัลและเกือบอยู่ในระดับกระทำเพราะทำตามผู้อื่นหรือเห็นว่าดี การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมที่แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ หากเทียบค่าเฉลี่ยเด็กหญิงใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมสูงกว่าเด็กชาย การจัดกิจกรรมเสริมสร้างวินัยในโรงเรียน กิจกรรมการรักษามารยาทจัดมากที่สุด การจัดกิจกรรมเสริมสร้างวินัยในโรงเรียนระหว่างโรงเรียนขนาดต่างกัน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โรงเรียนขนาดกลางมีการจัดกิจกรรมเสริมสร้างวินัยในโรงเรียนมากที่สุด พฤติกรรมการมีวินัยในตนเองของนักเรียน พฤติกรรมที่พบมากที่สุดคือ การยอมรับการกระทำของตน พฤติกรรมการมีวินัยในตนเองของเด็กนักเรียนระหว่างโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โรงเรียนขนาดใหญ่มีนักเรียนที่มีพฤติกรรมการมีวินัยในตนเองสูงที่สุด จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยที่เป็นตัวแปรอิสระเกือบทั้งหมดมีผลต่อพฤติกรรมการมีวินัยในตนเองของนักเรียน ได้แก่ แบบแผนการอบรมเลี้ยงดู การจัดกิจกรรมเสริมสร้างวินัยในโรงเรียน และปัจจัยชีวสังคม ได้แก่อาชีพ การศึกษาบิดามารดา และขนาดของโรงเรียน เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่คาดว่าจะมีอิทธิพลสูงสุด โดยวิธีการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการมีวินัยในตนเองของนักเรียน คือ 1) การจัดกิจกรรมเสริมสร้างวินัยในโรงเรียน 2) โรงเรียนขนาดกลาง 3) การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน 4) การศึกษาของบิดา 5) มารดาอาชีพรับจ้าง 6) การอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุมแบบใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการมีวินัยในตนเองของนักเรียน และปัจจัยข้อมูลเฉพาะมารดา การอบรมเลี้ยงดูแบบให้พึ่งตนเองเร็วมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการมีวินัยในตนเองของนักเรียน ผลการวิจัยครั้งนี้พบประเด็นที่พิจารณาเป็นข้อเสนอแนะดังนี้ 1) สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ควรจัดโครงการเสริมสร้างระเบียบวินัยในโรงเรียนทุกแห่ง เน้นให้เด็กตระหนักถึงคุณค่าแท้ของการมีวินัยในตนเอง และจัดการอบรม ผู้ปกครองนักเรียนเกี่ยวกับแบบแผนการอบรมเลี้ยงดูที่ส่งเสริมการสร้างวินัยตนเอง 2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ควรร่วมกันรณรงค์ทุกรูปแบบในเรื่องการเลี้ยงดูเด็กและการส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กมีพฤติกรรมการมีวินัยในตนเอง 3) การศึกษาวิจัยในครั้งต่อไปควรศึกษาตัวแปรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างพฤติกรรมการมีวินัยในตนเอง ในกลุ่มตัวอย่างอื่น และใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ This research aims to study the influence of child rearing types, the use of moral reasoning and school activities to self-discipline behavior of primary school students in Bangkok metropolitan administration schools. Samples are 365 Pathom Suksa 6(grade 6) students, studying in 9 schools located in Bang Sue, Bangkapi and Jomthong districts for 1997 academic year. The questionnaires consists of 5 parts (1) questions on personal data, (2) chi ld rearing practice test, (3) moral reasoning test, (4) questions on school activities, and (5) self-discipline test. Data analysis was done by SPSS/PC+ computer programs. Analised data was presented in percentage, mean, standard diviation, oneway analysis of variance, correlation coefficient and regression analysis (stepwise). The analysis revealed that the majority of the students aged between 11-12 years old, living with parents who were mainly labourers with primary educational level. The occupation, educational level, and the size of schools were statistically correlated Whit respect to the child rearing practice, students were mostly brought up by way of quick self-reliance. Girls were trained to have quicker self-reliance and controlled more strictly compared to boys. However, girls tended to receive less psychological punishment than boys. With respect to loved support and using reason rather than temper, it was statistically different between boys and girls. Based on study on moral reasoning, students tended to have reason for action in level higher than action for rewards, closely to the level of reason to act in accordance with one’s groups. Girls had higher means of moral reasoning than boys, but there was no statistically difference. For activities promoting disciplines in schools, activities on social manner were organized most. Difference sizes of schools effected activities promoting disciplines in schools. Student’s self-discipline behavior which appeared most was self-acceptance. Self-discipline behavior of students varied according to sizes of schools. Students in big schools practiced self-disciplined most. For assumption testing, independent variables found effected to disciplines of students were child rearing practice, activities promoting disciplines in schools, parent’s occupations and educational level and size of school. By regression analysis (stepwise), it was found that factors influencing self-disciplines in students were : (1) activities promoting disciplines in schools, (2) school size, medium, (3) loved support method of child rearing practice, (4) educational level of father, (5) mothers’s occupation, labourer, (6) control method of child rearing practice, and (7) father’s occupation, government officials. When only factors on father were analysed, it is found that using reason rather than temper method of child rearing practice had a significant effect on students’ self-disciplines. But when factors on mother were used, it showed that self-reliant method of child rearing practice had high influences on self-disciplined of students. There are a number of suggestion that should receive further attention after the completion of the study. These include; 1. Disciplinary campaignes should be promoted amongst schools, emphasizing and acture value of being highly self-disciplined. At the same time, meetings should be called upon parents concerning the child rearing practice in promoting self-disciplined. 2. All concerned authorities on child development should jointly promote ways in bringing up children and continue support of having self-disciplined behavior. 3. For future study, it should be taken into consideration of other variables relation to have self-disciplined behavior in other sample groups and qualitative analysis should be applied. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2541 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/209 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
abstract.pdf | 410.52 kB | Adobe PDF | View/Open | |
tableofcontents.pdf | 343.29 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter1.pdf | 514.62 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter2.pdf | 2.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter3.pdf | 620.17 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter4.pdf | 2.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter5.pdf | 919.52 kB | Adobe PDF | View/Open | |
references.pdf | 453.82 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.