Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2099
Title: | การพัฒนาแนวทางการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรคปอดที่รักษาด้วยระบบยาระยะสั้น อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ |
Other Titles: | The Development of Guidelines on Home - Visiting Pulmonary Tuberculosis Patients With Short Course Treatment in Mueang District, Samut Prakan Province |
Authors: | จุฬาวรรณ จิตดอน วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม Jurawan Jitdorn Vanida Durongrittichai Kamonthip Khungtumneum Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing |
Keywords: | วัณโรคปอด -- ผู้ป่่วย Tuberculosis, Pulmonary -- Patients การเยี่ยมบ้าน Friendly visiting |
Issue Date: | 2017 |
Citation: | วารสาร มฉก.วิชาการ 20, 40 (มกราคม-มิถุนายน 2560) : 1-11 |
Abstract: | การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรค ปอดในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการที่ได้รับการรักษาด้วยระบบยาระยะสั้น ภายใต้แนวคิดการจัดการ รายกรณีและทฤษฎีการพยาบาลของคิง วิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 ประเมินสถานการณ์การดูแล ขั้นที่ 2 พัฒนาแนวทางการเยี่ยมบ้าน และขั้นที่ 3 เปรียบเทียบการรับรู้ของผู้ป่วยก่อนและหลังพัฒนา แนวทางการเยี่ยมบ้าน กลุ่มตัวอย่างหลัก คือ ผู้ป่วยวัณโรคปอด 22 ราย กลุ่มตัวอย่างรอง ได้แก่ สมาชิก ครอบครัว ทีมสหวิชาชีพ อสม. และผู้นำชุมชน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม แนวสัมภาษณ์ เชิงลึก แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และแนวทางสนทนากลุ่ม ซึ่งผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน คำนวณความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 และค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ พรรณนา paired t- test และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลวิจัย พบว่า ผู้ป่วยเป็นเพศชาย ร้อยละ 77.30 อายุ 56 - 65 ปี ร้อยละ 31.80 สถานภาพคู่ ร้อยละ 77.30 จบมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 ร้อยละ 40.90 รายได้ < 5,000 บาท ร้อยละ 38.10 คู่สมรสเป็น ผู้ดูแล ร้อยละ 50.00 ดัชนีมวลกาย < 20 ร้อยละ 59.10 ร้อยละ 4.50 ลืมรับประทานยา และเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา ผลวิเคราะห์บทบาทบุคลากรสุขภาพที่ปฏิบัติขณะเยี่ยมบ้าน พบว่า 2 เดือนแรก ติดตามทุกสัปดาห์ 4 เดือนถัดมาเดือนละครั้ง โดยค้นหาบุคคลทำหน้าที่พี่เลี้ยง แจกแผ่นพับความรู้ ไม่พบ การประสานงานกับผู้นำชุมชน ผลการพัฒนาเกิดแนวทางเยี่ยมบ้านที่ระบุบทบาทผู้เกี่ยวข้องสัปดาห์ที่ 1-8 แผนเยี่ยมบ้านที่ระบุวัตถุประสงค์ ขั้นตอนเยี่ยม และแบบบันทึกเยี่ยมบ้าน หลังใช้พบว่าผู้ป่วยรับรู้การรักษา เพิ่มขึ้น (ค่าเฉลี่ยก่อนใช้เท่ากับ 4.11 ค่าเฉลี่ยหลังใช้เท่ากับ 4.75) รับรู้ความเครียดลดลง (ค่าเฉลี่ยก่อนใช้ เท่ากับ 2.14 ค่าเฉลี่ยหลังใช้เท่ากับ 1.34) และรับรู้การปฏิบัติของครอบครัว บุคลากรสุขภาพ และชุมชน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (ค่าเฉลี่ยก่อนใช้เท่ากับ 2.94 ค่าเฉลี่ยหลังใช้เท่ากับ 3.75) The purpose of participatory action research was to develop a home visit guideline of pulmonary tuberculosis (TB.) patients with short course treatment in Mueang district, Samut Prakan province. The concepts of case management and King’s nursing theory were applied. The research was divided into three stages ; stage 1 evaluating caring situations, stage 2 developing guidelines for home visits, stage 3 comparing the perception of TB patients before and after developing a home visit guideline. The samples were 22 TB patients. The participants included family members, the multidisciplinary teams, health volunteers and the community leaders. Research tools included questionnaire, indepth interviews, and group discussions guidelines. Data collection tool has been reviewed for content validity by 3 experts, reliability was 0.89 and the exact content of 0.80. Data were analyze by paired t- test and content analysis. The results showed that most patients were males (77.30%), aged between 56-65 years (31.80%), married (77.30%), graduated secondary (school)1-6 (40.90%), had an income less than 5,000 baht (38.10%), had a spouse as a caregiver (50.00%), had physical inactivity (50.00%), and BMI less than 20 (59.10%). (4.50%) Patients forgot to take medications and had adverse drug reactions. The developed guideline about brought 1) a home visit guideline which determined roles of the involvements in the 1-8 weeks. 2) a home visit plan which specifies the weekly objective and steps of a home visit. 3) a home visit record book. After the developed home visit guideline was employed, patients perceived higher treatments higher (¯x before use = 4.11, ¯x after use = 4.75), perceived lower stress (¯x before use = 2.14, ¯x after use = 1.34), and perceived treatments the family members, health personnel, community leaders higher than using the guideline significantly (¯x before use = 2.94, ¯x after use = 3.75). The analysis of the role of health personnel practice during an intensive phase (2 months) were monitoring TB patients at home every week and once a month for 4 months later. Also, finding family members to be DOTS’ watcher and distributing leaflets were done. But the coordination with community leaders in caring TB patients was absent. |
Description: | สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/HCUJOURNAL/article/view/149519/109753 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2099 |
ISSN: | 0859-9343 (Print) 2651-1398 (Online) |
Appears in Collections: | Nursing - Artical Journals |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Friendly-Visiting.pdf | 110.74 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.