Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/210
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | โสภา อ่อนโอภาส | - |
dc.contributor.advisor | Sopa Onopas | - |
dc.contributor.author | จีรพร แผ้วกิ่ง | - |
dc.contributor.author | Chiraporn Phaewking | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare | - |
dc.date.accessioned | 2022-05-04T02:55:21Z | - |
dc.date.available | 2022-05-04T02:55:21Z | - |
dc.date.issued | 1999 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/210 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2542 | th |
dc.description.abstract | การศึกษานี้เป็นการศึกษาบทบาทผู้นำหญิงชายในงานสวัสดิการแรงงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้นำแรงงาน 10 คน แบ่งเป็นชาย 5 คน หญิง 5 คน โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสนับสนุนพัฒนาการผู้นำแรงงานหญิงชาย 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะผู้นำแรงงานชายหญิงและบทบาทของผู้นำหญิงชายในงานสวัสดิการแรงงาน 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของผู้นำแรงงานหญิงชาย ผลการศึกษาพบว่าผู้นำแรงงานหญิงชายมีอายุเฉลี่ย 45 ปี มีสถานภาพสมรสเป็นส่วนใหญ่ จบการศึกษา ป.7-ปริญญาตรี มีอายุการทำงานในองค์กรแรงงานเฉลี่ย 14.3 ปี มูลเหตุจูงใจในการทำงานในองค์กรแรงงานเกิดจากความขัดแย้งและความกดดันในสถานประกอบการเป็นส่วนใหญ่ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการเป็นผู้นำแรงงานหญิงชาย ได้แก่ 1) การขัดเกลาทางสังคมซึ่งประกอบด้วยการขัดเกลาทางตรงและทางอ้อม การขัดเกลาทางตรงนั้นได้รับจากครอบครัว โรงเรียน และวัด ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนาสู่การเป็นผู้นำ จากการอบรมสั่งสอนให้ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในคุณงามความดีให้มีความรู้ความสามารถ มีความมั่นใจในตนเอง กล้าแสดงออก และช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน ส่วนการขัดเกลาทางอ้อมนั้นเห็นแบบอย่างจากผู้นำที่ทำความดีมีความเสียสละรวมทั้งการศึกษาตามอัธยาศัยโดยฟังการอภิปราย ปาฐกถา การอบรม สัมมนา และ การศึกษาด้านแรงงาน 2) การสนับสนุนทางสังคม ผู้นำแรงงานหญิงชายได้รับในระดับใกล้เคียงกัน โดยได้รับการสนับสนุนด้านอารมณ์จากเพื่อนร่วมงาน ทางด้านสติปัญญาจากผู้มีความเชี่ยวชาญ ด้านแรงงานจากองค์กรเอกชนและหน่วยงานของรัฐ ด้านสิ่งของและการช่วยเหลือจากสมาชิกสหภาพแรงงาน องค์กรเอกชนและภาครัฐ มีเพียงการสนับสนุนทางด้านอารมณ์เท่านั้นที่ผู้นำแรงงานหญิงต้องการมากกว่าผู้นำแรงงานชาย 3) บทบาทหญิงชายต่อการเป็นผู้นำแรงงานพบว่าสรีระของหญิงมิได้เป็นอุปสรรคต่อการเป็นผู้นำ แต่ในส่วนของสถานภาพของการเป็นภรรยามารดาและทัศนคติของสังคมจะมีผลต่อการยอมรับและการพัฒนาสู่การเป็นผู้นำแรงงานหญิงในขณะที่สถานภาพสามีหรือบิดาเอื้อต่อการเป็นผู้นำแรงงานชาย ด้านลักษณะการเป็นผู้นำแรงงานหญิงชาย พบว่าผู้นำแรงงานชายมีความคิดริเริ่มในการทำงาน การเป็นตัวแทนกลุ่มในการติดต่อประสานงาน สามารถสมานไมตรีสร้างความสามัคคีระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างได้ดี มีรูปแบบในการสร้างสรรค์ที่มกกว่าโดยไม่ต้องเกรงคำครหา มีความสามารถเหนือสมาชิก กล้าตัดสินใจในการเจรจาต่อรอง กล้าเสี่ยง กล้าตัดสินใจเผชิญปัญหาความรุนแรงหรือเหตุการณ์วิกฤติได้มากกว่า ในขณะที่ผู้นำแรงงานหญิงมีลักษณะเคารพในความคิดเห็นของผู้อื่นโดยปรึกษาหารือระหว่างสมาชิก มีความละเอียดในการทำงาน มีการติดต่อสื่อสารประสานงานที่ชัดเจนและมีความเสียสละในการทำงาน ข้อสังเกตที่เห็นได้ชัดจากการศึกษาพบว่าผู้นำแรงงานหญิงชายมีความสามารถควบคุมอารมณ์ในการเผชิญกับความยากลำบากตั้งแต่วัยเด็กจนประสบความสำเร็จในการเป็นผู้นำแรงงาน บทบาทการจัดสวัสดิการ ผู้นำแรงงานหญิงชายยึดหลักความต้องการที่แท้จริงของลูกจ้างและความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างโดยนายจ้างจัดสวัสดิการให้ด้วยความเต็มใจและการจัดสวัสดิการให้มีประสิทธิภาพครอบคลุมโดยยึดหลักความเสมอภาพสำหรับพนักงานทุกเพศทุกวัย ในขณะที่ผู้นำแรงงานหญิงให้ความสำคัญเรื่องความเท่าเทียมระหว่างเพศมากกว่าผู้นำแรงงานชาย ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน ได้แก่ปัญหาเกี่ยวกับเวลาทำงานในองค์กรแรงงานไม่เพียงพอเพราะต้องทำงานในสถานประกอบการและมีภาระรับผิดชอบต่อครอบครัว ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรบุคคลเพราะผู้นำต้องเป็นผู้ที่มีความเสียสละและอดทนอย่างแท้จริง ปัญหาเกี่ยวกับการยอมรับจากสังคมภายนอกซึ่งมองว่าสหภาพแรงงานมักจะสร้างความเดือดร้อนให้กับสังคมปัญหาภาพพจน์ซึ่งเกิดจากความแตกแยกระหว่างผู้นำด้วยกันและผู้นำกับสมาชิก โดยเฉพาะ ผู้นำแรงงานหญิงมีปัญหามากกว่าในด้านภาระรับผิดชอบต่อครอบครัวและการยอมรับจากสังคมในช่วงแรก จากปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้องค์กรแรงงานขาดความเข้มแข็งและความเป็นเอกภาพ ข้อเสนอแนะจากการศึกษาคือ 1) การขัดเกลาทางสังคมเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาสู่การเป็นผู้นำ ดังนั้นครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา จึงควรให้ความสำคัญต่อการขัดเกลาทางสังคมให้กับทุกคนตั้งแต่วัยเด็ก 2) เพื่อส่งเสริมให้ผู้หญิงได้เข้าสู่การเป็นผู้นำแรงงานเพิ่มมากขึ้นควรรณรงค์ สร้างค่านิยมใหม่ กระตุ้นเตือนให้สังคมเปิดโอกาสและให้การยอมรับการทำงานของผู้หญิงในการเข้าสู่การเป็นผู้นำ 3) ผู้หญิงต้องสร้างความเชื่อมั่นและแสวงหาความรู้ สร้างความเข้าใจกับครอบครัวในบทบาทหน้าที่การเป็นผู้นำแรงงาน 4) องค์กรแรงงานควรส่งเสริมผู้หญิงโดยกำหนดสัดส่วนการทำงาน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในระดับใกล้เคียงกันเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในการจัดสวัสดิการระหว่างเพศ | th |
dc.description.abstract | The objective of this thesis case study of will accepted labour, 5 males and 5 females was to study 1) factors which were influential in supporting development of labour leadership, 2) the role of leaders in labour welfare work and 3) problems, obstacles and limitation in their role performing. All data collection gained from depth interviews. This study to their background revealed that their average age was 45, mostlymarried with educational background between upper primary grade to bachelor’s degree and had been working with labour unions for the average of 14.3 years. Their main incentives to perform this work mostly were conflicts and pressure within their work mostly were conflicts and pressure within their work places. Factors affecting development for their leadership were 1) socialization which included direct socialization by their families, schools and temples, as basic of leadership development covering good behaviour, ability, self-confidence, helpfulness while indirect socialization including demonstration effects from good and devoted leaders and participation in labour informal learning; 2) social supports which were nearly equal to male and female labour leaders, including emotional support from colleagues, intellectual support from labour experts, private and public sectors, material support and assistance from labour union members, private and public sectors while emotional support was more needed by female laboure leaders; 3) roles of male and female labour leadership which was found out that their physical difference did not affect their role development and acceptance at all while wifehood, motherhood and social attitude had negative result for females but positive for males For male and female labour leader’s characteristics is was found that their work initiative, group representation in contacting, coordinating, promoting employer-employee relationship, ability above members, decisiveness in negotiation, respect for other; opinions through members consultation, clear communication ; while females had work sophistication, ability for coordination and public relations, males had ability to scrutinize unity due to their broader styles of association without care of public blames. Both male and female leaders’ roles in providing labour welfare are based on employees’ actual needs, employer-employee relationship, employers’ willingness, management efficiency, the most coverage and equal accessibility by all workers. Studying problems, obstacles and limitations in their work it was found that working periods, shortage of human resources to join in due to strong devotion for hard work, social rejection because their misunderstanding of labour union roles, the bad image of their leaders’ conflicts which caused weakness and unstability of leadership. Female leaders faced more of family burdens and social unacceptance at their initial working periods. Suggestions from the study were 1) socialization was the most important factors, therefore family, school and religions should put more emphasis since childhood. 2) campaigning on gender equality concept for leadership 3) female leaders develop their potentiality and make their families understand the leaders’ role 4) more proportion for female leaders should be requested in labour welfare organization structure. | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | สวัสดิการลูกจ้าง | th |
dc.subject | ผู้นำแรงงาน | th |
dc.subject | Labor leaders | th |
dc.title | บทบาทผู้นำหญิงชายในงานสวัสดิการแรงงาน | th |
dc.title.alternative | Role of Female and Male Leaders in Labour Welfare Work | th |
dc.type | Thesis | th |
dc.degree.name | สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต | th |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th |
dc.degree.discipline | การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม | th |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
abstract.pdf | 499.03 kB | Adobe PDF | View/Open | |
tableofcontents.pdf | 139.71 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter1.pdf | 596.39 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter2.pdf | 4.09 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter3.pdf | 213.74 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter4.pdf | 2.85 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter5.pdf | 1.36 MB | Adobe PDF | View/Open | |
references.pdf | 7.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.