Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2113
Title: ความตระหนักรู้ในการจัดการอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมอง ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะเสี่ยงสูง
Other Titles: Awareness of Stroke Warning Signs Management Among Patients with High-Risk Hypertension
Authors: รักนิรันดร์ ตานันต์
จริยาวัตร คมพยัคฆ์
อรพินท์ สีขาว
Rakniran Tanan
Jariyawat Kompayak
Orapin Sikaow
Huachiew Chalermprakiet University. Master of Nursing Science
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Keywords: ความดันเลือดสูง
Hypertension
โรคหลอดเลือดสมอง
Issue Date: 2018
Citation: วารสาร มฉก. วิชาการ 22. 43-44 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561) : 13-26
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตระหนักรู้การจัดการอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมอง และความสัมพันธ์ของความตระหนักรู้อาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองกับความตระหนักรู้ การจัดการอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมอง ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะเสี่ยงสูง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยสิทธิประกันสังคมที่ได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะเสี่ยงสูง มารับบริการที่แผนก ผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลหัวเฉียว จํานวน 285 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัย สร้างขึ้น โดยตรวจสอบความตรงในเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจํานวน 3 ท่าน ทดสอบความเที่ยงด้วย ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความตระหนักรู้อาการเตือนโรคหลอดเลือดสมอง 0.775 และความตระหนักรู้ในการจัดการอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมอง 0.810 ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วย ตนเอง ภายหลังได้รับรองจริยธรรมการวิจัยจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน และ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson coefficient correlation) ที่ระดับ นัยสําคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า ความตระหนักรู้การจัดการอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองอยู่ระดับสูง (x̄ = 2.36, SD = 0.21) ความตระหนักรู้อาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองอยู่ระดับปานกลาง (x̄ = 2.12, SD = 0.70) และความตระหนักรู้อาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองมีความสัมพันธ์กับความตระหนักรู้ การจัดการอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.001)
The purpose of this research was to study factors that affected the awareness of stroke warning signs and management of stroke warning signs in patients with high-risk hypertension. The sample was 285 patients who were diagnosed with high-risk hypertension at Outpatient Department of HuaChiew hospital. The research instrument was the questionnaire constructed by the researcher. The content validity was examined by three experts. The reliability was tested by Cronbach’s alpha coefficient which for awareness of stroke warning signs was at 0.775 , and for awareness of stroke warning signs management was at 0.810. The data collection was done approval of the after the Research Ethics Committee of Huachiew Chalermprakiet University. The data were analyzed by descriptive statistics and inferential statistics which included percentage, mean, standard deviation, and Pearson correlation coefficient at the significance level of 0.05. The results of the research related that the level of awareness of stroke warning signs management was high (x̄ = 2.36, SD = 0.21), the awareness of level stroke warning signs was medium (x̄ = 2.12, SD = 0.70) and the awareness of stroke warning signs was related to the awareness of stroke warning signs management with a statistical significant of p < 0.001
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/HCUJOURNAL/article/view/161332/117283
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2113
ISSN: 0859-9343 (Print)
2651-1398 (Online)
Appears in Collections:Nursing - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Stroke-Warning-Signs.pdf88.48 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.