Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2124
Title: การค้นหาทุนมนุษย์ กรณีศึกษา ความรู้เรื่องผักพื้นบ้านของชุมชนชานเมืองด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Human Capital Discovery : The Case Study of Indigenous Vegetable Knowledge as Human Capital of Vicinity Community
Authors: ลั่นทม จอนจวบทรง
พิมสิริ ภู่ตระกูล
ณธภร ธรรมบุญวริศ
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะบริหารธุรกิจ
Keywords: ทุนมนุษย์
Human capital
ผักพื้นบ้าน
Indigenous vegetables
ภูมิปัญญาชาวบ้าน
Local wisdom
บริโภคนิสัย
Food habits
Issue Date: 2020
Citation: วารสาร ธุรกิจปริทัศน์ 12,1 (มกราคม-มิถุนายน 2563) : 134-152
Abstract: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้นหาทุนมนุษย์เรื่องผักพื้นบ้านของชุมชนชานเมืองด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร และนำเสนอโมเดลการค้นหาทุนมนุษย์เรื่องผักพื้นบ้านของชุมชนชานเมืองผ่านการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผักพื้นบ้าน และการค้นพบโอกาส โดยทำกรณีศึกษาในพื้นที่ชุมชนแผ่นดิน ทองวัดลำพะอง เขตหนองจอก จังหวัดรุงเทพมหานคร การเก็บข้อมูลใช้การสำรวจผักพื้นบ้านที่มีการปลูกทั่วทั้งชุมชนและสำรวจพฤติกรรมการบริโภคผักพื้นบ้านกับกลุ่มตัวอย่าง 121 ครัวเรือน และสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับตัวแทนกลุ่มบ้าน 8 ราย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมานและการวิเคราะห์เครือข่ายสังคม ข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์ด้วยการทำแผนที่ด้วย Google Mymaps และการวิเคราะห์หมวดหมู่ ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนฯ มีผักพื้นบ้านที่หลากหลายถึง 60 กว่าชนิด มีการบริโภคผักพื้นบ้านเฉลี่ย 24.97 ชนิด จาก 30 ชนิด ที่ทำการสำรวจจากผักพื้นบ้านที่ชุมชนมีการปลูกมากที่สุด โดยครัวเรือนที่มีภูมิลำเนามาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริโภคผักพื้นบ้านเฉลี่ยสูงสุด ที่ 28.36 ชนิด รองลงมาคือจากภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคกลาง ที่เฉลี่ย 27.67, 25.94, 24.5 และ 24.17 ชนิดตามลำดับ โดยไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วย One-way ANOVA ที่ระดับความเชื่อมั่น α = 0.01 ชุมชนฯ มีความถี่ในการบริโภรคผักพื้นบ้านเฉลี่ย 4.10 จาก6 ระดับ หรือเดือนละ 2 ครั้ง ครัวเรือนที่มีภูมิลำเนามาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความถี่ในการบริโภคผักพื้นบ้านสูงที่สุดที่ 4.88 รองลงมาได้แก่ ครัวเรือนที่มีภูมิลำเนาจากภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคกลาง ที่เฉลี่ย 4.72 (เดือนละ 4 ครั้ง), 4.26, 4.19 และ 3.92 (เดือนละ 2 ครั้ง) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วย One-Way ANOVA ที่ระดับความเชื่อมั่น α = 0.01 พบว่าครัวเรือนที่มีภูมิลำเนามาจากแต่ละภูมิภาคมีความถี่ในการบริโภคผักพื้นบ้านที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แหล่งที่มาของผักพื้นบ้านที่บริโภคส่วนมากได้มาจากการซื้อร้อยละ 58 รองลงได้มาจากการปลูกเอง ขอเพื่อนบ้าน/ญาติ เก็บจากที่สาธารณะ และนำมาจากต่างจังหวัดร้อยละ 23.7, 2.7, 1.3 และ 0.4 ตามลำดับ โมเดลการค้นพบโอกาสและทุนมนุษย์ผักพื้นบ้านของชุมชนชานเมืองด้านตะวันออกกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ ผักพื้นบ้านทั้งในและนอกชุมชน การบริโภคผักพื้นบ้าน แผนที่ความรู้เรื่องผักพื้นบ้าน โอกาสของชุมชนเรื่องผักพื้นบ้น และทุนมนุษย์เรื่องผักพื้นบ้านของชุมชน
This study has objectives to discover the human capital of a community in vicinity of Bangkok, and to propose a model of human capital discovery of the community through indigenous vegetable (IV) consumption behaviour. The research study on the case of Baan Pandinthong Wat Lumpraong in Nongchong district, Bangkok. Indigenous vegetable survey was taken place around the community, the indigenous vegetable consumption behavious survey was conducted with 121 samples, and semi-structure interview was conducted with8representatives of the community. Quantitative data were analysed with descriptive and inference statistic, and socialnetwork analysis. Qualitative data were analysed with Google Mymaps and classification technique. The study found that the community had over 60varieties of IVs. For IV consumption, community members consumed average 24.97 of 30 varieties that were popular growing in the community. The households that came from northeastern region consumed the highest varieties at 28.36varieties. Meanwhile, the households from eastern, northern, southern and central region consume at 25.94,24.5 and 24.17 varieties, respectively. The data analysis with One-way ANOVA at α = 0.01shown that the consumption of any regions were non-significant difference. The community members had the average of the IV consumption at 4.10 of 6 or twice a month. The households that came from northeastern region had the highest frequency of consumption at 4.88 of 6. Then, it follows by the households that came from eastern, northern, southern and central region with the consumption rate at 4.72 (four-time per month),4.26, 4.19 and3.92 (twice a month) respectively. The data analysis with One-way ANOVA at α = 0.01shown that the consumption of any regions were significant difference. Most vegetables for consumption of the sample came from purchasing at 58 per cent. The rest of vegetables came from own gardens, neighbour, public area harvesting and from country-side at 23.7, 2.7, 1.3 and 0.4 per cent, respectively. The model of human capital discovery of the community which comprised of five components: IV from both internal and external community, IV consumption, IV knowledge map, opportunities from IV, and IV human capital of the community.
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bahcuojs/article/view/233969/164521
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2124
ISSN: 1905-713X (Print)
2651-2351 (Online)
Appears in Collections:Business Administration - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Indigenous-vegetables.pdf81.57 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.