Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/215
Title: | สัมพันธภาพในครอบครัวและการตัดสินใจเข้ารับการสงเคราะห์ในสถานสงเคราะห์ : กรณีศึกษาสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางละมุง จังหวัดชลบุรีและในพื้นที่ตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี |
Other Titles: | Familys' Relationship and Decision Making of the Elderly to Reside in Banglamung Home for the Aged and Elderly in Banglamung, Chonburi Province |
Authors: | สุภรัฐ หงษ์มณี อรนุช โล้อุนลุม |
Keywords: | สถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางละมุง การสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ -- ไทย ครอบครัว บ้านพักสงเคราะห์สำหรับผู้สูงอายุ Older people -- Thailand Families |
Issue Date: | 2003 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลของผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์และอยู่ในชุมชน สัมพันธภาพระหว่างผู้สูงอายุกับครอบครัว และปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ารับการสงเคราะห์ในสถานสงเคราะห์คนชราของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยการศึกษากลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางละมุง จำนวน 10 คน มีอายุระหว่าง 62-90 ปี เป็นเพศชาย 5 คน หญิง 5 คน ส่วนใหญ่เป็นหม้าย (คู่สมรสถึงแก่กรรม) มีระดับการศึกษาประถมศึกษา และไม่มีรายได้ส่วนใหญ่มีสุขภาพไม่แข็งแรง 2) กลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลบางละมุง จำนวน 10 คน มีอายุระหว่าง 69-85 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพหม้าย (คู่สมรสถึงแก่กรรม) มีระดับการศึกษาส่วนใหญ่ประถมศึกษา มีบุตรและมีรายได้จากบุตรเป็นส่วนใหญ่ ส่วนใหญ่มีหน้าที่ดูแลครอบครัวและบุตรหลาน 3) ครอบครัวของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางละมุง จำนวน 10 คน มีอายุระหว่าง 28-80 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพสมรส มีระดับการศึกษาส่วนใหญ่อุดมศึกษา ส่วนใหญ่ทำงานรับจ้าง และ 4) ครอบครัวของผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลบางละมุง จำนวน 10 คน มีอายุระหว่าง 18-84 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพสมรส มีระดับการศึกษาประถมศึกษา มีอาชีพรับจ้าง มีบุตรอยู่ในการดูแลทุกครอบครัว ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ช่วยหารายได้จุนเจือครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสังเกตโดยการไปเยี่ยมเยียนพูดคุย ส่วนการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและนำเสนอผลการศึกษาในรูปของสถิติเชิงพรรณนาผลการศึกษาพบว่า สัมพันธภาพกับครอบครัวและเครือญาติมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้ารับการสงเคราะห์ในสถานสงเคราะห์คนชราของผู้สูงอายุสูงสุด เนื่องจากพบว่า เป็นสัมพันธภาพที่มีเกณฑ์ต่ำสุด เป็นเหตุจูงใจในการตัดสินใจของผู้สูงอายุที่เข้ามารับการสงเคราะห์คนชรา ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลการตัดสินใจเข้ารับการสงเคราะห์ในสถานสงเคราะห์คนชรานั้น มูลเหตุสูงสุดของผู้สูงอายุมี 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1) ด้านเศรษฐกิจ เช่น ปัญหาความยากจน รายได้ไม่เพียงพอแก่การครองชีพ ภาระหนี้สิน 2) ด้านการเกื้อหนุนทางสังคม ได้แก่ ด้านอารมณ์ สิ่งของหรือบริการต่าง ๆ ด้านข้อมูลข่าวสาร และ 3) ภาวะสุขภาพร่างกายที่เสื่อมสภาพลง อันมีวัยเป็นตัวกำหนด ทำให้สงผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับการสงเคราะห์ และมูลเหตุสูงสุดของครอบครัวมี 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ เช่นปัญหาด้านความยากจน มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย มีภาระหนี้สิน และ 2) มีสมาชิกวัยพึ่งพิงภายในบ้านหลายคน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถอยู่กับครอบครัวได้สำหรับปัจจัยระหว่างผู้สูงอายุกับครอบครัว พบว่า การถูกลดบทบาทหน้าที่ในครอบครัว อันเนื่องมาจากวัยของผู้สูงอายุนั้น ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า และทำให้ความภาคภูมิใจในตนเองลดน้อยลง ผู้สูงอายุเริ่มมีชีวิตห่างเหินออกจากครอบครัวของตนเอง เกิดความขัดแย้งในใจและไม่มีความสุขในชีวิต การศึกษาครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะคือ การจัดสวัสดิการในด้านต่าง ๆ ให้กับผู้สูงอายุควรจัด ลักษณะการทำงานเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ ให้ชุมชนมีส่วนเกื้อกูลและช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุในชุมชน สนับสนุนให้ผู้สูงอายุอยู่กับครอบครัวอย่างมีความสุข กระตุ้นสมาชิกในครอบครัวให้เห็นความสำคัญของผู้สูงอายุที่จะดำรงชีวิตในบั้นปลายสุดท้าย อยู่กับครอบครัวอย่างมีความสุข รวมทั้งภาครัฐควรเป็นสื่อในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผู้สูงอายุด้านการศึกษาวิจัย ควรมีการศึกษาสัมพันธภาพของผู้สูงอายุกับครอบครัวเพื่อให้ได้ข้อมูลกว่างขวางมากขึ้น หน่วยงานภาครัฐจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในการรองรับประชากรผู้สูงอายุที่นับวันจะมีมากขึ้น และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจของผู้สูงอายุเพิ่มเติม เพื่อเป็นแนวทางนำผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์กลับไปอยู่กับครอบครัวได้อย่างมีความสุข The objective of this study is to analyze the information about the elderly who choose to reside in the Banglamung Home for the Aged and Elderly and in the communities in Banglamung District in order to find out the relationship of those elderly and their families and to understand the factors that encourage them to reside in the Banglamung Home. The samples, the elderly at the age of 60 and over, are separated into four groups as follows: 1) Ten elderly peoples, 5 men and 5 women aged 60 – to 90. reside in the Banglamung Home. Apparently, most of them are widows or widowers. They have got only primary education with no income earning and most of them have poor health. 2) Ten elderly aged 69-85 living in Banglamung District, most of them are widows with primary education. 3) Families of ten elderly in Banglamung Home age 28 to 80 living in Banglamung District, most of them are women, married, graduate and employed. Their children are the main sources of their income and they take care of children in their families. And 4) Families of them are female with primary education, married and employees. Every family has children to be taken care of, Most of the elderly are able to earn money to partially support the family. Data used in the study are collected by the methods of in-Dept interview and observation through visiting the samples. The qualitative analysis and findings presentation is in the form ofDescriptive statistics.The study reveals that the relationship between the elderly and their families and relatives has the most influence on the decision of the decision of the elderly concerning with residing in Banglamung Home. This is because the study shows that at the lowest level of relationship the elderly opt for residing in the Home for the Aged and Elderly. The Study also addressed the three most important factors on the elderly side that encourage them to choose to reside in Banglamung Home. They are 1) economic factors e.g. poverty problems, not enough income earnings and debt situations; 2) Social supports in the forms of moral, goods and services and news and information; and 3) Health conditions, especially poor health due to aging. On the family side, the two most important factors i.e. 1) economic factors such as poverty problems, not enough income earnings and debt situations and 2) many dependent members in the family being a cause of the elderly to leave.On the point of the relationship of the elderly and their families. The study finds that lowering the elderly’s roles in the family due to their aging has bought about the feeling of less time with the family. They may also have3 some kinds of conflict within their minds together with unhappy life The thesis proposed that all forms of welfare provided to the elderly need to be in a proactive manner rather than a normal reaction one. People in the communities should be involved and give supports to elderly. Similarly, family members should be encouraged to recognize the importance of the aged people in order that they can have a happy life with their acknowledge the aged about the elderly –related information. Studies and researches should b e extended to gain more understanding on the relationship between the elderly and their families. Findings from those kind of studies and researches will be benefit in setting up programs to cushion the growing number of the aged and elderly. Moreover, further studies are needed in order understand more on the factors that have influence on the decision making of the aged people. This understanding will contribute to appropriate measures that can bring the aged and elderly back from the elderly home and live happily with families. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/215 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstact.pdf | 500.33 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tableofcontents.pdf | 214.52 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter1.pdf | 715.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter2.pdf | 1.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter3.pdf | 212.86 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter4.pdf | 6.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter5.pdf | 427.71 kB | Adobe PDF | View/Open | |
References.pdf | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.