Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2151
Title: ปัญหาการเรียนการสอนอักษรจีนในประเทศไทย
Other Titles: The Study of the Problems of Chinese Characters Teaching in Thailand
Authors: นริศ วศินานนท์
Naris Wasinanon
何福祥
Huachiew Chalermprakiet University. College of Chinese Studies
Keywords: ตัวอักษรจีน
Chinese characters
ภาษาจีน -- การศึกษาและการสอน -- ไทย
Chinese language -- Study and teaching -- Thai
Issue Date: 2022
Citation: วารสารวิชาการภาษาและวัฒนธรรมจีน 9,1 (มกราคม-มิถุนายน 2565) : 53-65
Abstract: บทความนี้เป็นการอธิบายปัญหาของการเรียนการสอนอักษรจีนของคนไทย เพื่อเข้าใจถึงประเด็นปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการเรียนการสอนอักษรจีนและเสนอแนวทางพัฒนาการเรียนการสอนอักษรจีนในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น ปัญหาของการเรียนการสอนอักษรจีนในประเทศไทยมีปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนการสอนอักษรจีนมี 3 ประเด็นใหญ่ๆ คือ ปัจจัยด้าน ผู้สอนและผู้เรียน ปัจจัยด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนและปัจจัยด้านอักษรจีน ปัจจัยด้านผู้สอนคือผู้สอน ยังไม่ได้เน้นหนักหรือให้ความสําคัญของการให้เทคนิคในการจดจําอักษรจีน การกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถคิดเชื่อมโยงอักษรจีนกับอักษรภาพ ผู้สอนยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอักษรจีนไม่เพียงพอจึงไม่สามารถถ่ายทอดให้ผู้เรียนเข้าใจ ปัจจัยด้านผู้เรียน คือ ผู้เรียนแรกเริ่มมีทัศนคติเชิงลบต่ออักษรจีน กล่าวคือ อักษรจีนเรียนยาก อักษรจีนมีจํานวนมาก ไม่เข้าใจหลักวิธีในการจดจําต้องจดจําด้วยการท่องจําเป็นคําๆ เป็นส่วนใหญ่ ประกอบด้วยความไม่ใส่ใจและจริงจังในการเขียนอักษรจีน ในด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน คือ รูปแบบการการสอน ไม่น่าดึงดูดและน่าสนใจ ขาดการสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนอักษรจีนที่หลากหลาย การสอนอักษรจีนที่ยังไม่เป็นระบบและต่อเนื่องเชื่อมโยงด้านอักษรจีน ได้แก่ ปริมาณที่มากของตัวอักษร ลักษณะของตัวอักษร ความคล้ายคลึงหรือความเหมือนของอักษรจีนและข้อด้อยอื่นๆของอักษรจีน แนวทางแก้ไขมีดังนี้1.ผู้สอนควรตระหนักถึงความสําคัญของการจดจําอักษรจีน โดยมีการสอนหลักการคําเช่น การเชื่อมโยงกับอักษรภาพ การสังเกตหลักการจําอักษรจีน ส่วนบอกความหมาย หมวดคํา ส่วนบอกเสียง การเพิ่มการอธิบายตัวอักษรจีน เป็นต้น 2.ผู้เรียนควรใส่ใจอย่างจริงจังในการเขียนอักษรจีน โดยพิจารณาและสังเกตรูปลักษณ์ จํานวนขีด ลักษณะของเส้นขีด ตําแหน่งของขีดที่แตกต่างกันและส่วนประกอบตัวอักษร การเ ข้าใจอักษรเดี่ยวและอักษรประสมแบบบอกรูปและเสียงซึ่งเป็นอักษรที่มีจํานวนมากที่สุดในภาษาจีน3.การจัดกระบวนการเรียนการสอนอักษรจีนควรจัดลําดับการสอนและให้ความรู้ความเข้าใจอักษรจีนอย่างต่อเนื่อง การทบทวนสาระเกี่ยวกับอักษรจีนและสร้างแผนการเรียนรู้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกับสาระวิชาอื่นๆ การสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนอักษรจีนที่น่าสนใจและให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมการ ใช้หรือสร้างสื่อการเรียนการสอนอักษรจีนทางออนไลน์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้หรือศึกษาด้วยตนเองซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางหรือโอกาสการศึกษาอักษรจีนมากขึ้น
This study describes the problems of Chinese characters teaching in Thai people. The aim of this study is to understand various problems related to Chinese characters teaching and to provide guidelines for improving the teaching method of Chinese characters in Thailand to be more effective. The factors which affect the teaching of Chinese characters in Thailand can be divided into 3 main factors: 1) Teacher and learner factors 2) Teaching and learning factors and 3) Chinese characters factors. For Teacher and learner factors, teachers do not emphasize on the importance of memorizing techniques of Chinese characters. Also, teachers do not encourage learners to find out the connection between Chinese characters and pictographic characters. Moreover, teachers do not have enough knowledge about Chinese characters, therefore they cannot convey this knowledge to learners. Learners also have negative attitudes towards Chinese characters, that is, Chinese characters are very difficult and have a large amount. Most learners recite the whole characters without a good understanding on Chinese characters, and not pay much attention to the writing of Chinese characters. In terms of the teaching and learning factors, teaching methods are not attractive and interesting, no various kind of teaching activities, and most of them are not systematic and continuous. The third factor, Chinese character factor, there are a large amount of Chinese characters, some of them are very similar, and some of them have their own limitations. However, there are methods for solving Chinese characters teaching problems: 1) Teachers should be aware of the importance of memorizing Chinese characters. Teacher should apply teaching principles to their class such as the connection between Chinese characters and the real picture, the principles of memorizing Chinese characters, the components of Chinese characters including pictographic elements, phonetic elements, the explanation of Chinese characters etc. 2) Learners should pay more attention to the writing of Chinese characters. Learners also should consider and observe the appearance of characters, the number of strokes, the characteristics of strokes, the different position of strokes, the components of Chinese characters, the form of single characters and the form of picto-phonetic characters which are the largest number of Chinese characters composed of pictographic elements and phonetic elements. 3) Teachers should arrange the sequence of teaching and learning process of Chinese characters and provide the knowledge about Chinese characters continually. Moreover, the revision of Chinese characters should be carried out, and the study plan also should be linked to other subjects. To attract learners’ attentions, teachers should create interesting activities in teaching Chinese characters. Moreover, Chinese characters online teaching should be created, therefore learners can learn by themselves, and have more channels or opportunities to learn Chinese characters.
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/clcjn/article/view/256167/172394
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2151
ISSN: 2801-9805 (Online)
Appears in Collections:College Of Chinese Studies - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chinese-language-Study-and-Teaching.pdf76.95 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.