Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/216
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorขัตติยา กรรณสูต-
dc.contributor.advisorKattiya Kannasut-
dc.contributor.authorสุวัฒน์ ฉัตรเจริญพร-
dc.contributor.authorSuwat Chatcharoenpon-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2022-05-04T04:26:36Z-
dc.date.available2022-05-04T04:26:36Z-
dc.date.issued2006-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/216-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2549th
dc.description.abstractการศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในนโยบายปราบปรามผู้มีอิทธิพล : ศึกษาเฉพาะพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการ ในระดับต่าง ๆ เพื่อแสดงถึงปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินการตามนโยบายการปราบปรามผู้มีอิทธิพล และปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลสำเร็จในการปฏิบัติตามนโยบายการปราบปรามผู้มีอิทธิพล การวิจัยทำการเก็บข้อมูล 2 ลักษณะ คือ การใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ เกี่ยวกับการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อนโยบายการปราบปรามผู้มีอิทธิพลเกี่ยวกับภูมิหลังและรูปแบบการมีส่วนร่วมของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามมีจำนวนทั้งสิ้น 2,968 คน การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้ได้รับผลกระทบจากผู้มีอิทธิพลและนโยบายการปราบปรามผู้มีอิทธิพล จำนวน 8 คน ประชาชนที่เป็นอาสาสมัครช่วยเหลือ เจ้าพนักงาน จำนวน 4 คน และผู้มีหน้าที่ในการปราบปรามผู้มีอิทธิพล จำนวน 3 คน การวิจัยนี้ ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อนโยบายการปราบปรามผู้มีอิทธิพลในรูปแบบต่าง ๆ คือ การให้ความสนใจในปัญหาและการวิเคราะห์ปัญหาผู้มีอิทธิพลในชุมชน การหาข้อมูลและการให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้มีอิทธิพลแก่ทางราชการ การมีส่วนร่วมในการหาแนวทางการวางแผนแก้ปัญหาผู้มีอิทธิพล และการติดตามการปฏิบัติงานของหน่วยราชการในเรื่องนี้ตัวแปรปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านนโยบาย ปัจจัยด้านทรัพยากร ปัจจัยด้านการใช้ข้อมูลและกระบวนการติดต่อ ปัจจัยด้านประชาชน และปัจจัยด้านลักษณะชุมชน ซึ่งมีผลต่อการมีส่วนร่วมและความสำเร็จของนโยบายการปราบปรามผู้มีอิทธิพล ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างและเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เดือนละ 6,000 บาทขึ้นไป และอยู่อาศัยอยู่ในชุมชนตั้งแต่ 11 ปี ขึ้นไปเป็นส่วนใหญ่ความคิดเห็นต่อปัญหาผู้มีอิทธิพล มีผู้ระบุว่ามีปัญหาและไม่มีปัญหาในระดับใกล้เคียงกัน โดยส่วนใหญ่ระบุว่า การพักอาศัยในจังหวัดสมุทรปราการมีความปลอดภัยตั้งแต่ระดับพอสมควรจนถึงปลอดภัยมาก และส่วนใหญ่ไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับผู้มีอิทธิพล ประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมในนโยบายการปราบปรามผู้มีอิทธิพลในระดับการให้ความสนใจในปัญหาผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายจะมีส่วนร่วมมากขึ้นในระดับการวางแผน การให้ข้อมูลและการร่วมติดตามผลการปฏิบัติ ปัจจัยและเงื่อนไขที่ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วม คือ ระดับการศึกษาและระดับการได้รับผลกระทบจากนโยบายเกี่ยวกับ ผู้มีอิทธิพล และปัจจัยที่มีผลให้นโยบายนี้ประสบความสำเร็จคือ ความชัดเจนและความสอดคล้องของนโยบายกับปัญหาที่เกิดขึ้น ความจริงจังและต่อเนื่องในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ และท่าทีหรือความไว้วางใจของประชาชนในชุมชนที่มีต่อผู้ปฏิบัติ ตลอดจนความพอเพียงของงบประมาณที่ใช้ในการบริหารจัดการ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายการปราบปรามผู้มีอิทธิพลควรตระหนักถึงการสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับประชาชนในตัวข้าราชการผู้ปฏิบัติ การปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงพิษภัยของผู้มีอิทธิพลและการสนับสนุนงบประมาณในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ ตลอดจนการส่งเสริมให้ข้าราชการสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างสมศักดิ์ศรีและคุณธรรมจริยธรรม สิ่งเหล่านี้จะนำมาซึ่งความสำเร็จในการปราบปรามผู้มีอิทธิพลในระดับต่าง ๆth
dc.description.abstractThe objects of this study were to study the people's participation in implementation of policy on suppression of illegal influential in Samutprakarn province, to study factors effecting the participation of people in implementation of policy on suppression of illegal influential, to study factors influencing the success of policy implementation on illegal influential.The samples of the study were 2,968 people in Samutprakarn province. The data were collected through questionnaires. Depth interview were from 4 volunteers, 3 police officers and 8 people effected from illegal influential. The study emphasized in the people's participation which identical in 5 levels ; the interesting on problems, an alising problems, searching and giving information, seeking and help planning to solve problems and following up the officers' policy implementation.The study also tried to find the resource, the policy, the contact, the information, the people and the community that influenced the participation of people and the achievement of policy implementation on illegal influential. The results of the study are as followed : For people's participation in policy implementation, most people were on the level of interesting problems. The people who effected from policy implementation participlated on the level of seeking and planning to solve problems. The factors influencing participation of people were education and degree of problems they gained from policy implementation. The factors influencing achievement of policy were clarified policy implementation and accordance to the situation of policy, the seriousness and punctuality of responsible offices, attitude and trustworthiness of people to persons in charge of policy and the suffient budget. From the result, the study recommended that officers in volved in policy implementation should emphasise on implanting people's confidence on the policy, and arising people's conciousness on impacts of illegal influencials toward society. There should be enough budgets for policy implementation for finally, merit and morality that things could be means to achievement of policy implementation on illegal influential.th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectการป้องกันอาชญากรรม -- การมีส่วนร่วมของประชาชนth
dc.subjectอาชญากรรม -- ไทยth
dc.subjectปัญหาสังคมth
dc.subjectการทุจริตและประพฤติมิชอบth
dc.subjectผู้มีอิทธิพล -- ไทย -- สมุทรปราการth
dc.subjectCrime prevention -- Citizen participationth
dc.subjectCrime -- Thailandth
dc.subjectSocial problemsth
dc.subjectCorruptionth
dc.titleการมีส่วนร่วมของประชาชนในนโยบายปราบปรามผู้มีอิทธิพล : ศึกษาเฉพาะพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการth
dc.title.alternativePeople's Participation in Implementation of Policy on Suppression of Illegal Influentails : A Case Study of Area in Samutprakarn Provinceth
dc.typeThesisth
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการบริหารสังคมth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf126.27 kBAdobe PDFView/Open
tableContent.pdf112.18 kBAdobe PDFView/Open
chapter1.pdf139.76 kBAdobe PDFView/Open
chapter2.pdf372.42 kBAdobe PDFView/Open
chapter3.pdf119.28 kBAdobe PDFView/Open
chapter4.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
chapter5.pdf259.55 kBAdobe PDFView/Open
reference.pdf216.97 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.