Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2211
Title: | ผลกระทบของหนี้ครัวเรือนที่มีต่อเศรษฐกิจไทยและมาตรการรองรับ |
Other Titles: | Impact of Household Debt in Thai Economy and Countermeasure |
Authors: | นิตยา ลิ้มไพศาล Nitaya Limphaisal Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
Keywords: | หนี้ -- ไทย Debt -- Thailand ความสมดุล (เศรษฐศาสตร์) Equilibrium (Economics) |
Issue Date: | 2017 |
Citation: | วารสาร ธุรกิจปริทัศน์ 9, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2560) : 268-282 |
Abstract: | ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงโลกาภิวัฒน์ที่รวดเร็ว คนไทยส่วนใหญ่มีการใช้จ่ายมากเกินความจำเป็นทำให้ระดับของหนี้ครัวเรือนสูง ดังนั้นวัตถุประสงค์ของบทความนี้มี 3 ส่วน คือ เพื่อศึกษาสถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทย ผลกระทบของหนี้ครัวเรือนที่มีต่อเศรษฐกิจไทย และข้อเสนอแนะของการก่อหนี้ครัวเรือนที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดประโยชน์
โดยสถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทย พบว่า มีสัดส่วนหนี้ต่อ GDP เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปีในช่วงปี พ.ศ. 2553 - ปี พ.ศ.2558 และมีแนวโน้มลดลงติดต่อกัน 2 ปี ในปี พ.ศ.2559 และปี พ.ศ.2560 ยอดหนี้ครัวเรือนของไทยนับว่าสูงเป็นอันดับ 3 รองจากประเทศออสเตรเลียและประเทศเกาหลีใต้ ส่วนใหญ่การกู้ยืมของครัวเรือนไทยเพื่อซื้อทรัพย์สิน ทั้งนี้คนภาคเหนือกู้ยืมมากที่สุด ในบรรดากลุ่มคน Gen Y นับว่าเป็นผู้ก่อหนี้ที่มีจำนวนคนเป็นหนี้และจำนวนหนี้มากที่สุด อีกทั้งค้างชำระหนี้มากที่สุดด้วย สำหรับผลกระทบของหนี้ครัวเรือนที่มีต่อเศรษฐกิจไทย แบ่งเป็น 2 ระดับ ทั้งในระดับจุลภาคและระดับมหภาค กล่าวคือ ระดับจุลภาคจะเกี่ยวกับบุคคล ซึ่งผลเสียของการก่อหนี้ ทำให้มีการจับจ่ายใช้สอยที่มากเกินกว่ารายได้จนไม่มีเงินไปใช้จ่ายด้านอื่น แบกรับภาระหนี้มาก การเข้าถึงแหล่งสินเชื่อแหล่งใหม่ และเกิดปัญหาทางการเงินภายหลังเกษียณอายุได้ถ้าหนี้ยังชำระไม่หมด ในส่วนของผลดี บุคคลที่เป็นหนี้ก็จะมีเครดิตได้รับความเชื่อถือ ช่วยตอบสนองความต้องการในการซื้อสินค้าที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก สามารถก่อหนี้โดยลงทุนในสินทรัพย์ที่เพิ่มมูลค่าในอนาคต มีแหล่งเงินทุนไว้ใช้ในยามคับขัน สำหรับเศรษฐกิจมหภาค การบริโภคที่มีมาก ทำให้การออมน้อยลง กระทบต่อสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อ และอาจมีหนี้เสีย ตลอดจนก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดอุปสรรคต่อการปรับปรุงผลิตภาพของประเทศได้ นอกจากนี้ การก่อหนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์จะต้องมีวินัยทางการเงิน คือก่อหนี้จากความจำเป็นและเป็นหนี้เพื่อการลงทุนที่ให้เกิดรายได้ ไม่เป็นหนี้หลายแหล่ง ใช้คืนหนี้ให้เร็ว และมีการจัดทำงบประมาณแสดงรายได้และรายจ่ายซึ่งการใช้จ่ายควรนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้กับการดำรงชีวิต ส่วนภาครัฐก็จะต้องมีมาตรการที่เข้มงวดกับสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อโดยเฉพาะประเภทสินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อบัตรเครดิต หรืออาจนำมาตรการ Debt Service Ratio (DSR) มาใช้กับผู้กู้ ตลอดจนการใช้ระบบสวัสดิการเพื่อช่วยลดค่าครองชีพให้กับประชาชนบางกลุ่มเพื่อให้เขามีเงินรายได้เหลือเพิ่มขึ้น ซึ่งจะสะท้อนให้เกิดอำนาจซื้อเพิ่มขึ้นใหม่ Under the rapid change in globalization, it has created an impact toward Thai people’s spending. The overspending essentially caused raising the levels of household debt in Thailand. This article focuses on three issues aiming at studying Thailand’s household debt situation, investigating the impacts of household debts toward its macro economy, and giving suggestions on having suitable household debt and its benefits. Thailand household debt level is the third highest in Asia, continuing from Australia and South Korea. The household debt to gross domestic product (GDP) expansion rate had continuously increased since 2010 to 2015, and contrary slowed down in 2016 and 2017. From the data and information, the main group of people being in debt is belonged to generation Y, and when comparing by four regions in Thailand, people in the north gained the highest proportion. Moreover, generation Y is the most people created debt default in Thailand. Regarding the effects of Thailand’s household debt toward its economy divided into two different levels. The effects toward microeconomic level refer to the situation of people carrying high debt without ability to pay off. Besides, they cannot access to any new financial resources, and finally being in problem even they become already in the retirement period. For the effects toward macroeconomic level, the over spending possibly makes the lower rate of saving and debt defaulting, in which create an impact toward the country financial institutions, and consequently stimulate higher inflation and being a barrier to the country’s productivity improvement. The suggestions given as being in debt somehow is benefit to the debtors if it comes with financial disciplines. It should be needed debt when people want to invest and facilitate the process to get more incomes. Adopting the philosophy of sufficiency economy would lead people achieving life with disciplines. Furthermore, government could issue the strict countermeasure such as monetary policy to support economic mechanisms, using Debt Service Ratio (DSR) policy control debtors, and adopting state welfare in order to create a new consumer group with higher purchasing power. |
Description: | สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bahcuojs/article/view/117944/90501 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2211 |
ISSN: | 1905-713X (Print) 2651-2351 (Online) |
Appears in Collections: | Business Administration - Artical Journals |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.