Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2230
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุวพัชญ์ นาควัชระ | - |
dc.contributor.author | จารุวรรณ จันทร์โพธิ์งาม | - |
dc.contributor.author | Charuwan Chanphongam | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration | - |
dc.date.accessioned | 2024-05-14T13:24:37Z | - |
dc.date.available | 2024-05-14T13:24:37Z | - |
dc.date.issued | 2004 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2230 | - |
dc.description | ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2547 | en |
dc.description.abstract | ในปัจจุบันสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพบริการของโรงพยาบล เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ และเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่ง สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขจึงได้สนับสนุนให้มีการรวบรวมมาตรฐานโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการตรวจสอบ และพัฒนาตนเองของโรงพยาบาล ล่าสุดได้มีสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพมาตรฐานโรงพยาบาลมาตรวจสอบ ทำการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล แต่ถึงอย่างไรก็ตามโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลก็พบกับอุปสรรคในการดำเนินโครงการซึ่งจากการศึกษา พบว่าอุปสรรคที่สำคัญประการหนึ่ง ก็คือ บุคลากรในองค์การขาดการมีส่วนร่วม บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทุกคนเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล โดยเฉพาะพยาบาลซึ่งเป็นบุคลากรในทีมสุขภาพมีจำนวนมากสุด มีความเป็นเอกลักษณ์ในวิชาชีพ และเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดในการรักษาดูแลผู้ป่วยโดยตรง อีกทั้งยังเป็นผู้ให้ความรู้ในการส่งเสริมดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชนทั่วไป ต่อการเข้ารับการรักษาหรือใช้บริการในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญส่วนหนึ่งในการนำมาปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพของการบริการในโครงการพัฒนา และรับรองคุณภาพโรงพยาบาล เนื่องจากทำให้พยาบาลเกิดความรู้สึกยอมรับในสิ่งที่ตัวเองได้มีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถลดความขัดแย้ง ลดความเครียดในการปฏิบัติงาน ยังเพิ่มความผูกพันกับงานที่ปฏิบัติอยู่ ส่งผลให้โรงพยาบาลจะมีอัตราการลาออก การขาดงานลดลง เกิดความพึงพอใจในการทำงานเพิ่มขึ้น ดังนั้น บุคลากรหรือทรัพยากรบุคคลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาองค์กร โดยเฉพาะพยาบาลเป็นบุคลากรในทีมสุขภาพที่มีจำนวนมากที่สุด เป็นกลุ่มงานขนาดใหญ่สุดในโรงพยาบาล จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญ และให้โอกาสที่จะกระตุ้นให้พยาบาลเข้าร่วมในกิจกรรมพัฒนาคุณภาพต่างๆ ที่องค์กรจัดขึ้น ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงานกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาองค์กรในด้านคุณภาพของการบริการ ทั้งยังเป็นแนวทางในการพัฒนาวิชาชีพพยาบาล เพื่อก้าวนำไปสู่การบริการที่มีคุณภาพและได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลต่อไป การศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงานกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้ามีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัย 3 ประการคือ 1. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า 2. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาคุณภาพของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงานกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาคุณภาพของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ในการรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า จำนวน 286 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือแบบสอบถามซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 แบบสอบถามความพึงพอใจในการทำงาน ส่วนที่ 3 แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการคิดและตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ การมีส่วนในการติดตามผลการศึกษาค้นคว้า 1. พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ ระหว่าง 26-30 ปี จบการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี 2. พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า มีความพึงพอใจในการทำงานในภาพรวมในระดับปานกลาง และมีความพึงพอใจเป็นลำดับแยกตามองค์ประกอบของงานเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่ ด้านการยอมรับนับถือ ด้านเงินเดือนและผลประโยชน์เกื้อกูล ด้านสัมพันธ์ กับผู้ร่วมงานและผู้บังคับบัญชา ด้านสภาพการทำงาน ตามลำดับ 3. พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า มีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลเป็นระดับแยกตามองค์ประกอบเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ การมีส่วนร่วมในการคิดและตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ การมีส่วนร่วมในการติดตามผลตามลำดับ 1. ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงาน และการมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โดยรวมพบว่าทุกด้านมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยในครั้งนี้ ทำให้เข้าใจถึงองค์ประกอบของงานที่มีผลต่อความพึงพอใจและความไม่พอใจรวมทั้งองค์ประกอบของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล รวมถึงได้เข้าใจถึงสภาพลักษณะบุคคลที่มีส่วนสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ปัจจัยจูงใจต่างๆ มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการทำงาน และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ อันจะส่งผลให้เกิดความทุ่มเทให้กับงานจนเกิดประสิทธิภืพและประสิทธิผลที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กร ซึ่งผู้บริหารหรือผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องของโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล่า ควรจะได้นำผลการวิจัยครั้งนี้ไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุง และพัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในองค์กรต่อไป | en |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | en |
dc.rights | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | en |
dc.subject | ความพึงพอใจในการทำงาน | en |
dc.subject | Job satisfaction | en |
dc.subject | โรงพยาบาล -- การรับรองคุณภาพ | en |
dc.subject | Hospitals -- Accreditation | en |
dc.subject | โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า | en |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงานกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า | en |
dc.title.alternative | Relationship between Job Satisfactios and Participation in Quality Development Activities of Staff Nurse, Somdejprapinklao Hospital | en |
dc.type | Independent Studies | en |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | บริหารธุรกิจ | en |
Appears in Collections: | Business Administration - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Charuwan-Chanpodhi-ngam.pdf Restricted Access | 15.85 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.