Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2238
Title: ความก้าวหน้าในอาชีพของนักสังคมสงเคราะห์สังกัดสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
Other Titles: Career-path Development of the Social Workers in the Observation and Protection Centre
Authors: โชคชัย สุทธาเวศ
จิราพร สุนทรา
Keywords: นักสังคมสงเคราะห์
Social workers
สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
Department of Juvenile Observation and Protection
สังคมสงเคราะห์
Social service
การพัฒนาอาชีพ
Career development
Issue Date: 2002
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาความก้าวหน้าในอาชีพของนักสังคมสงเคราะห์สังกัดสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความก้าวหน้าในอาชีพของนักสังคมสงเคราะห์สังกัดสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของนักสังคมสงเคราะห์สังกัดสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และศึกษาแนวทางการพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพของนักสังคมสงเคราะห์สังกัดสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ สังกัดสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ระดับ 3-6 จำนวน 44 คน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่และค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ และนำเสนอผลการศึกษาในรูปของการบรรยายเชิงพรรณาประกอบตาราง ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21-30 ปี มีสถานภาพโสด มีอายุราชการระหว่าง 0-5 ปี ดำรงตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ระดับ 4 ไม่มีภาระเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัว วุฒิการศึกษาแรกเข้าทำงานปริญญาตรีทางด้านสังคมสงเคราะห์ ปัจจุบันมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านสังคมสงเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เข้ารับราชการในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนเป็นแห่งแรก ความก้าวหน้าในอาชีพของนักสังคมสงเคราะห์ สังกัดสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ตามทัศนะของนักสังคมสงเคราะห์สังกัดสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ที่ให้ไว้ในผลการศึกษาครั้งนี้เป็นอันดับแรก คือ การเลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้น สำหรับเหตุผลในการเลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้น เนื่องจากเข้าหลักเกณฑ์ในการประเมินเพื่อเลื่อนตำแหน่ง เช่น มีอายุราชการครบตามหลักเกณฑ์ มีเงินเดือนถึงขั้นของการทำประเมิน และพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีโอกาสเลื่อนระดับที่สูงขึ้น ตามระบบราชการในระบบการเลื่อนไหล จากระดับ 3 ไปจนถึงระดับ 5 และทำผลงานวิชาการในระดับ 6 สำหรับความก้าวหน้าในอาชีพของนักสังคมสงเคราะห์ พบว่า นักสังคมสงเคราะห์สังกัดสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ส่วนใหญ่สามารถเลื่อนตำแหน่งไปจนถึงนักสังคมสงเคราะห์ระดับ 6 ว เท่านั้น เนื่องจากกรอบโครงสร้างไม่เปิดโอกาสให้นักสังคมสงเคราะห์มีความก้าวหน้า เพราะนักสังคมสงเคราะห์ที่สามารถเลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้นไปจนถึงระดับ 8 จะมีเพียงตำแหน่งเดียวเท่านั้น และความก้าวหน้าในอาชีพตามทัศนะของกลุ่มตัวอย่าง ที่ให้ความสำคัญเป็นอันดับที่ 2 คือ การเลื่อนเงินเดือนมากขึ้น จากทัศนะของผู้บริหาร พบว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ ผู้ที่ปฏิบัติงานในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน รวมทั้งนักสังคมสงเคราะห์จะมีความก้าวหน้าในอาชีพ เพราะสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวขนจะยกฐานะเป็นกรมพินิจ และเปิดกว้างให้ทุกสายงานสามารถไปได้ถึงระดับผู้บริหาร ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของนักสังคมสงเคราะห์ สังกัดสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในเรื่องความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาว่า เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าในอาชีพ และอันดับที่ 2 คือ ประสิทธิภาพในการทำงาน ในแนวทางการพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพของนักสังคมสงเคราะห์ สังกัดสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนนั้น ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงในกระทรวงยุติธรรม และนักวิชาการด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ต่างมีความเห็นว่า นักสังคมสงเคราะห์สังกัดสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จะต้องมีความสนใจในการปฏิบัติงาน มีการพัฒนาความรู้ความสามารถ และแนวทางในการพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพจากกลุ่มตัวอย่าง พบว่า นักสังคมสงเคราะห์ควรมีความรอบรู้ในหลายเรื่อง เช่น กฎหมาย รวมทั้งต้องมีการทำงานอย่างเป็นระบบ มีความต้องการในการฝึกอบรมสัมมนา เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถและนำมาปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดความก้าวหน้าในอาชีพได้ ผู้ศึกษาได้เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพของนักสังคมสงเคราะห์สังกัดสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ดังนั้ ข้อเสนอแนะระดับนโยบาย สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ควรขยายกรอบอัตรากำลังของนักสังคมสงเคราะห์ ให้เพิ่มมากขึ้น และจัดให้มีคู่มือการปฏิบัติงานของนักสังคมสงเคราะห์สังกัดสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ควรจัดให้มีนโยบายในการจัดฝึกอบรม ดูงาน ฝึกงานให้แก่นักสังคมสงเคราะห์ที่เพิ่งบรรจุเข้ารับราชการ เพราะจะได้มีความเข้าใจในงานและจะได้มีมาตรฐานในการปฏิบัติงานในระดับเดียวกัน ควรจัดให้มีนโยบายในการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ เพื่อเพิ่มพูนทักษะในการปฏิบัติงานและได้แลกเปลี่ยนความรู้ ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานร่วมกัน อีกทั้งเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานให้แก่นักสังคมสงเคราะห์ โดยจัดฝึกอบรมอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ควรจัดให้มีอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูลการทำงาน เช่น คอมพิวเตอร์ เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูล ข้อเสนอแนะระดับผู้ปฏิบัตินักสังคมสงเคราะห์สังกัดสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ควรรวมตัวกันและสร้างความเชื่อมั่นในวิชาชีพ ให้เป็นที่ยอมรับแก่วิชาชีพอื่น เช่น เข้าร่วมกับสมาคมนักสังคมสงเคราะห์ที่มีอยู่แล้วและจัดตั้งสมาคมของตนเอง นักสังคมสงเคราะห์ต้องเข้าใจในบทบาทหน้าที่การทำงานของตนเอง และพร้อมที่จะรับฟังคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน จากบุคคลรอบข้างอยู่เสมอ นักสังคมสงเคราะห์เองต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงตนเอง แสวงหาประสบการณ์ใหม่ๆ อยู่เสมอ โดยสร้างผลงานที่พร้อมจะเสนอผลงาน เพื่อให้สังคมรับทราบภาระหน้าที่และผลงานด้านสังคมสงเคราะห์ ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยให้เกิดการยอมรับและเข้าใจในวิชาชีพ อีกทั้งนักสังคมสงเคราะห์ต้องเป็นผู้ที่มีความเสียสละ ซื่อสัตย์ อุทิศตนให้กับงาน มีความอดทนสูง ซึ่งจะนำไปสู่ความก้าวหน้าในอาชีพ
Description: สารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2545
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2238
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jiraporn-Soontra.pdf15.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.