Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2240
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพนิต กุลศิริ-
dc.contributor.advisorPanid Kulsiri-
dc.contributor.authorจิระชัย พิพัฒน์รังสรรค์-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.date.accessioned2024-05-14T14:46:52Z-
dc.date.available2024-05-14T14:46:52Z-
dc.date.issued2001-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2240-
dc.descriptionภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2544en
dc.description.abstractการศึกษาเรื่อง การเพิ่มศักยภาพในการประกอบการของธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน) มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อน ปัญหาและกลยุทธ์วิธีการแก้ปัญหา ในการดำเนินงานของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหารวมทั้งการเพิ่มศักยภาพในการประกอบการของธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน) การศึกษาครั้งนี้ ใช้วิธีการรักษาโดยรวบรวมข้อมูล สถิติ นโยบายและกลยุทธ์ในการดำเนินงานของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปรียบเทียบกับข้อมูลของธนาคารอื่นๆ ทั้งธนาคารของประเทศไทย และธนาคารสาขาจากต่างประเทศ นำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา โดยใช้ทฤษฎีต่างๆ ประกอบการวิเคราะห์ เช่น S.W.O.T Analysis ทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) และ ทฤษฎี Five Forces Model เป็นต้น ผลการศึกษาพบว่า ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) มีจุดแข็ง คือ ด้านการบริการที่มีความหลากหลาย สถานประกอบการที่มีสาขาครอบคลุมทั่วประเทศ สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทั่วถึง มีรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ สถานภาพของธนาคารมีความมั่นคง สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้า และเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีฐานลูกค้าในกลุ่มข้าราชการ ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีทั่วประเทศ สามารถสร้างผลกำไรให้ธนาคารได้มาก ส่วนจุดอ่อนของธนาคาร ได้แก่ ด้านอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่ยังไม่สามารถแข่งขันกับธนาคารคู่แข่งได้ ธนาคารยังขาดการส่งเสริมการขายและการประชาสัมพันธ์ที่จริงจัง เนื่องจากขาดเงินทุน จำนวนพนักงานที่มีมากทำให้ยากต่อการควบคุมประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และขาดงบประมาณในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีในการให้บริการแก่ลูกค้า สภาวะทางเศรษฐกิจมีส่วนในการเป็นโอกาสที่ดีในการประกอบธุรกิจของธนาคาร เนื่องจากมีผลต่อการลดจำนวนธนาคารคู่แข่งที่ไม่สามารถยืนหยัดต่อสู้กับปัญหาเศรษฐกิจได้ จนต้องเลิกกิจการหรือแปรสภาพกิจการไป สำหรับอุปสรรคในการประกอบการได้แก่ คู่แข่งรายใหม่ที่เกิดขึ้นมากมาย รวมทั้งสินค้าทดแทน ซึ่งได้แก่ สถาบันการเงินนอกระบบ และสภาะการแข่งขันในการประกอบการธุรกิจธนาคารที่รุนแรงขึ้นมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน จากการวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและอุปสรรค ในการประกอบการของธนาคารกรุงไทย แล้ว จึงสรุปได้ว่า ธนาคารต้องประสบกับปัญหาในการประกอบการดังต่อไปนี้ 1. ผลประกอบการด้านผลกำไรที่ลดต่ำลง ไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ 2. โครงสร้างองค์กรที่มีขนาดใหญ่เกินไป เนื่องจากมีสาขาและจำนวนพนักงานมากทำให้ยากต่อการควบคุมประสิทธิภาพในการทำงาน 3. ขาดการพัฒนาด้านเทคโนโลยีในการปฏิบัติงานและให้บริการแก่ลูกค้า เนื่องจากปัญหาเงินทุน แนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น คือ 1. ควรวางแผนการตลาดโดยเน้นการเจาะกลุ่มลูกค้า สร้างความแตกต่างด้านการบริการให้ต่างจากคู่แข่งและลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ไม่จำเป็นลง รวมทั้งปรับปรุงระบบการติดตามหนี้สิน เพื่อเพิ่มผลกำไรในการประกอบการ 2. ปรับโครงสร้างองค์กรให้มีขนาดที่เหมาะสม ลดสายการบังคับบัญชา ลดจำนวนสาขา และจัดองค์กรให้เหมาะสม เพื่อให้สามารถควบคุมประสิทธิภาพในการประกอบการได้ 3. ลดค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ลดจำนวนพนักงาน จำนวนสาขา เพื่อนำมาเป็นเงินทุนในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน และให้บริการแก่ลูกค้าen
dc.language.isothen
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.subjectธนาคารและการธนาคารen
dc.subjectBanks and bankingen
dc.subjectการจัดการธนาคารen
dc.subjectBank managementen
dc.subjectธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)en
dc.titleการเพิ่มศักยภาพในการประกอบการของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)en
dc.title.alternativeImproving the Capability of Krung Thai Bank PLC.en
dc.typeIndependent Studiesen
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineบริหารธุรกิจen
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jirachai-Pipatrungsun.pdf
  Restricted Access
7.41 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.