Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2293
Title: ผลของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนทางจอประสาทตาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
Other Titles: Effect of education supportive nursing system of self-care behaviors fasting plasma glucose and level of diabetic retinopathy in type 2 diabetes mellitus patients
Authors: กฤษณา ดวงแก้ว
จริยาวัตร คมพยัคฆ์
นภาพร แก้วนิมิตชัย
Kritsana Duangkaew
Jariyawat Kompayak
Napaporn Kaewnimitchai
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Keywords: การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
Self-care, Health
ผู้ป่วยเบาหวาน
Diabetics
น้ำตาลในเลือด
Blood sugar
เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน
Diabetes Mellitus, Type 2
Non-insulin-dependent diabetes
Issue Date: 2016
Citation: วารสารจักษุธรรมศาสตร์ 11,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559) : 34-53
Abstract: วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาผลของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนทางจอประสาทตาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รูปแบบ การศึกษา: Quasi experimental research, One-group pre-posttest design วิธีการศึกษา:ศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพศชายและเพศหญิงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางจอประสาทตาระดับปานกลางอายุ 20 ปี ขึ้น ไป จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยกิจกรรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ตามกรอบแนวคิดของโอเร็ม แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง แบบบันทึกการเจ็บป่วยเกี่ยวกับโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนทางจอประสาทตาที่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าความสอดคล้องของข้อค้าถามกับค้านิยามของพฤติกรรมการดูแลตนเองเท่ากับ 0.92 และเมื่อนำไปทดลองใช้ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.74 ด้าเนินการทดลองและเก็บข้อมูลในระยะเวลา 12 สัปดาห์ โดยพบกลุ่มตัวอย่าง 4 ครั้ง ใช้เวลาประมาณ 45-60 นาที แต่ละครั้งห่างกัน 4 สัปดาห์ เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนทางจอประสาทตาด้วยค่าร้อยละ เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยสถิติ Pair t-test ที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการศึกษา: (1) ภายหลังได้รับการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมและรายด้านทั้ง 5 ด้าน ดีขึ้นกว่าก่อนได้รับการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.001 (2) ระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.001 และ (3) ระดับความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนทางจอประสาทตาเท่าเดิมร้อยละ 86.68 ลดลงร้อยละ 11.11 สรุป:ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะแทรกซ้อนทางจอประสาทตาหลังได้รับการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ มีพฤติกรรมการดูแลตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้น และไม่เพิ่มระดับความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนทางจอประสาทตา
Objective: The effects of educative supportive nursing system on self-care behaviors fasting plasma glucose and level of diabetic retinopathy in type 2 diabetes mellitus. Design: Quasi experimental research, One-group pre-posttest design Methods: The sample of this study consisted of 45 patients with type 2 diabetes, male and female, Moderate non-proliferative diabetic retinopathy, age 20 years or more. The research instruments consisted of educative supportive nursing system activities and based on the conceptual framework of Orem’s theory, a self- care behavior questionnaire was recorded for history of illness including diabetes mellitus and diabetic retinopathy. The instruments were tested for the content validity by 3 experts. The content validity index of self-care behaviors questionnaire = 0.92 and try out reliability was 0.74. Intervention and data collection was done for a period of 12 weeks, patients and assessors met four times, taking about 45-60 minutes each time, four weeks apart, we compared the difference in severity of diabetic retinopathy by percentage. We also compared the difference of the average self-care behaviors and fasting plasma glucose using the Paired t-test, accepting statistical significance at p <0.05. Results: The research study showed that the intervention of educative supportive nursing system activities (1) improved the average total score for all 5 aspects of self-care behaviors when comparing between the pre and post intervention groups, statistically significantly at p < 0.001. (2) improved the fasting plasma glucose, statistically significantly at p <0.01 (3) lowered the level of diabetic retinopathy severity found in post intervention patients, with moderate NPDR being found in 86.68% and mild PDR found in 11.11% of patients. Conclusion: Patients with type 2 diabetes and non-proliferative diabetic retinopathy are examined for the post intervention effects of a supportive nursing system. Self-care behaviors, fasting blood glucose levels have improved and diabetic retinopathy has severity has not been increased.
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/eyesea/article/view/91297/71715
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2293
ISSN: 2586-8349 (Print)
2697-4398 (Online)
Appears in Collections:Nursing - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Self-care-behaviors-fasting-plasma-glucose.pdf90.74 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.