Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2303
Title: ความชุกของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและปัจจัยทํานายภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาหลังคลอด
Other Titles: The Prevalence of Postpartum Depression and Factors Predicting Depression in Postpartum Mothers
Authors: วรรณี นวลฉวี
ทวีศักดิ์ กสิผล
กนกพร นทีธนสมบัติ
Wannee Nuanchawee
Taweesak Kasiphol
Kanokporn Nateetanasombat
Huachiew Chalermprakiet University. Master of Nursing Science
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Keywords: ความซึมเศร้าหลังคลอด
Postpartum depression
ความซึมเศร้า
Depression
ความวิตกกังวล
Anxiety
Issue Date: 2018
Citation: วารสาร มฉก. วิชาการ 21,42 (มกราคม-มิถุนายน 2561) : 65-78.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้า หลังคลอดและปัจจัยที่สามารถร่วมกันทํานายการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาหลังคลอด กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอดที่มารับบริการตรวจหลังคลอด 6 สัปดาห์ ณ ห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอกสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลตากสิน สํานักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน – เดือนสิงหาคม พ.ศ.2560 จํานวน 143 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบประเมินภาวะซึมเศร้าหลังคลอด แบบประเมินความวิตกกังวลขณะตั้งครรภ์ แบบวัดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แบบสอบถามเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของทารก และแบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม นํามาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา หาอัตราความชุกของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด วิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson correlation coefficient) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบ ขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมารดาหลังคลอด มีความชุกของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ร้อยละ 18.8 และพบว่า ปัจจัยที่สามารถร่วมกันทํานายภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาหลังคลอดได้อย่างมีนัยสําคัญ คือ ภาวะวิตกกังวลขณะตั้งครรภ์ (β=0.436, p <0.01) และแรงสนับสนุนทางสังคม (β=-0.334, p<0.01) สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาหลังคลอดได้ ร้อยละ 31.3 (R2 = 0.313) โดยสรุปจากการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า ภาวะวิตกกังวลขณะตั้งครรภ์และแรงสนับสนุนทางสังคม เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาหลังคลอด ดังนั้น ควรนําปัจจัย ดังกล่าวมาวางแผนหรือสร้างแนวทางการดูแลมารดาหลังคลอด เพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ในมารดาหลังคลอดต่อไป
This research was a correlational research. The purposes of this study was to determine the prevalence of postpartum depression and the factors predicting postpartum depression in postpartum mothers. The samples were composed of 143 postpartum mothers who came to postpartum clinic in 6 weeks The Outpatient Department - Obstetrics and Gynecology in Taksin Hospital, Medical Service Department, Bangkok Metropolitan during June-August 2017. Data were collected by using postpartum depression assessment, prenatal anxiety assessment, self-esteem assessment questionnaire, infant illness questionnaire and social support questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics, the prevalence rates of postpartum depression, Pearson’s product moment correlation and stepwise multiple regression analysis. The results showed that the prevalence for postpartum depression was 18.8%. The factors that significantly predicted postpartum depression in postpartum mothers were prenatal anxiety (β=0.436, p<0.01) and social support. (β=-0.334, p<0.01). Prenatal anxiety and Social support could explain 31.3% (R2 = 0.313) variance of postpartum depression in postpartum mothers. In conclusion, the research finding indicated prenatal anxiety and social support as factors influencing postnatal depression in postpartum mothers. Therefore, it should be in The care plan or guidelines for postpartum mothers. in order to prevent depression in postpartum mothers.
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/HCUJOURNAL/article/view/146729/108152
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2303
ISSN: 0859-9343 (Print)
2651-1398 (Online)
Appears in Collections:Nursing - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Postpartum-Depression .pdf95.41 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.