Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2317
Title: แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้
Other Titles: Health Belief Model and The Risk of Stroke among Patients with Uncontrolled Hypertension
Authors: บุบผา วิริยรัตนกุล
จริยา ทรัพย์เรือง
พรสวรรค์ เชื้อเจ็ดตน
ณัฐชยาภรณ์ ตั้งดำรงศิลป์
Buppar Viriyaratanakul
Jariya Supruang
Phornsawan Chuajedton
Natchayaporn Tangdomrongsin
Maefahluang University. School of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Maefahluang University. School of Nursing
Maefahluang University. School of Nursing
Keywords: โรคหลอดเลือดสมอง
Cerebrovascular disease
การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ
Health risk assessment
ความดันเลือดสูง
Hypertension
Issue Date: 2022
Citation: วารสารพยาบาลทหารบก 23,2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2565) : 199-207
Abstract: การวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและความเสี่ยงการเกิด โรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ อายุ 40 ปี ที่ขึ้นที่มีการขึ้นทะเบียนการรักษา ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสันมะค่า จำนวน 180 คน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลป่าแงะ จำนวน 170 คน อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย จำนวน 50 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้รับการตรวจสอบความตรงในเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน มีค่า CVI เท่ากับ 0.89 ทดสอบความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าระหว่าง 0.85-0.88 เก็บรวบรวมข้อมูลหลังได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Pearson product moment ที่ระดับการมีนัยสำคัญทางสถิติ < .05 ผลการวิจัย พบว่า แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคและการรับรู้ประโยชน์ของ การปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (r = 0.633, p < .001 และ r = 0.654, p < .001 ตามลำดับ) การรับรู้ความรุนแรงของโรคมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.503, p < .001) สิ่งชักนำไปสู่การปฏิบัติมีความสัมพันธ์ ทางบวกกับพฤติกรรมป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.505, p < .001) และการรับรู้อุปสรรคการปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับสูงมากกับพฤติกรรมป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (r = -0.853, p < .001) พฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ การรับรู้สิ่งชักนำ มีความสัมพันธ์ทางลบระดับต่ำกับดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว ระดับไขมันในเลือด ความดันโลหิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < .001
This study aimed to examine the association of health belief model with preventive behavior and risk of stroke among patients with uncontrolled hypertension. Sample is patients with uncontrolled hypertension aged 40 years and above at San Makha Tambon Health Promotion Hospital, number of 180 people, and Pangae Tambon Health Promotion Hospital, number of 170 people. Data were collected by using a questionnaire created by the researcher. Content validity of the questionnaire was verified by the 3 experts and the CVI was 0.89. Reliability was using Cronbach’s alpha coefficient and the reliability was 0.85 – 0.88. Data analysis were frequency, percentage, minimum, maximum, mean, standard deviation, and Pearson Product Moment (p < .05). The results show that health belief model and the risk of stroke among patients with uncontrolled hypertension prevention behavior (r = 0.633, p < .001 และ r = 0.654, p < .001 respectively). Perceived disease severity was lowly positive correlated with the prevalence of stroke among patients with uncontrolled hypertension (r = 0.503, p < .001) and what conducive to practice has a very low positive relationship with stroke among patients with uncontrolled hypertension (r = 0.505, p < .001). Perceived barriers to behaviors for disease prevention were significantly negatively correlated with stroke among patients with uncontrolled hypertension prevention behaviors (r = -0.853, p < .001) Anyhow, Perceived induction was statistically significant associated with a low level of body mass index, waist circumference, total cholesterol, blood pressure (p < .001).
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/253833/174747
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2317
ISSN: 2985-1041 (Online)
Appears in Collections:Nursing - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Health-Belief-Model.pdf88.63 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.