Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2322
Title: | ผลของโปรแกรมการป้องกันสมองเสื่อมถอยของผู้สูงอายุในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดสลุด |
Other Titles: | The Effects of Cognitive Declining Prevention Program for the Older Adults in Community, Wat Salut Health Promoting Hospital |
Authors: | เพ็ญศิริ โคตรพัฒน์ อุบลพรรณ ธีระศิลป์ ชฎาภา ประเสริฐทรง Pensiri Khotapat Ubonpun Theerasilp Chadapa Prasertsong Wat Salut Tambon Helath Promoting Hospital Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing |
Keywords: | ผู้สูงอายุ -- ไทย -- สมุทรปราการ Older people -- Thailand -- Samutprakarn ภาวะสมองเสื่อม Dementia |
Issue Date: | 2023 |
Citation: | วารสารพยาบาลทหารบก ปีที่ 24, 1 (ม.ค.-เม.ย. 2566) : 470-480 |
Abstract: | การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มทดสอบก่อนหลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 60 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย ตามเกณฑ์การคัดเข้า แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการป้องกันความเสื่อมถอยของสมอง ประกอบด้วย กิจกรรมการฝึกสมอง จำนวน 8 กิจกรรม ส่วนกลุ่มควบคุม ได้รับความรู้เรื่องการป้องกันสมองเสื่อมถอยและการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ โปรแกรมการป้องกันสมองเสื่อมถอย มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มีค่า 1.0 แบบประเมินความซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทยหรือแบบประเมิน TGDS มีค่าความเชื่อมั่น 0.93 แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทยหรือแบบทดสอบ MMSE มีค่าความเชื่อมั่น 0.93 แบบทดสอบ Clock Drawing Test (CDT) มีค่าความเชื่อมั่น 0.75 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired Samples Test และ Independent Samples Test
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสมรรถภาพสมองก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยสมรรถภาพสมองหลังการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่า การเข้าร่วมโปรแกรมฯ สามารถเพิ่มสมรรถภาพสมองของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมได้ ข้อเสนอแนะโปรแกรมนี้สามารถนำไปใช้เพื่อป้องกันสมองเสื่อมถอยของผู้สูงอายุได้จริงซึ่งช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น This study was a quasi-experimental research with two group pretest-posttest design. The sample groups were 60 older adults, selected by simple random sampling within inclusion criteria. They were divided into a control group and an experimental group, each consisting of 30 people. The experimental group were intervened with cognitive declining prevention program consisting of 8 brain training activities, while the control group were received only dementia knowledge of cognitive declining prevention and normal nursing intervention. The tools included Cognitive declining prevention program with an Index of item-objective congruence (IOC) 1.0, Thai Geriatric Depression Scale (TGDS) with a reliability of 0.93, Thai version of the Mini-Mental State Examination (MMSE) with a reliability of 0.93, and the Clock Drawing Test (CDT) with a reliability of 0.75. Data were analyzed by using statistics, including percentage, mean, standard deviation, paired samples test, and independent samples test. The research found that the experimental group had significantly higher average scores of cognitive functions before and after participating in the program with statistical significance at the .05 level. When comparing the average scores of cognitive functions after the experiment, the experimental group had significantly higher scores than the control group at the .01 level. This shows that participating in the program can improve the brain function of the elders who suspected dementia. The program can be used to prevent dementia in the elders, which will improve their quality of life. |
Description: | สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/261239/177492 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2322 |
ISSN: | 2985-1041 (Online) |
Appears in Collections: | Nursing - Artical Journals |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Effects-of-Cognitive-Declining-Prevention-Program.pdf | 146.78 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.