Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2350
Title: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกใช้บัตรเดบิตธนาคารเอ จำกัด (มหาชน) ของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Factors related to the selection of debit card of a bank public company limited for higher education students in Bangkok |
Authors: | สิราวรรณ ด่านวิริยะกุล มรกต กำแพงเพชร ศักดิ์ชัย รัตนปกรณ์ กันต์ติกมาฐ รัตนปริญญานุกูล Sirawan Danviriyakul Morakhot Kamphaengphet Sakchai Ratanapakorn Kantikamart Rattanaparinyanukune Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration. Student of Bachelor of Business Administration. Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
Keywords: | บัตรเดบิต Debit cards พฤติกรรมผู้บริโภค Consumer behavior |
Issue Date: | 2018 |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกใช้บัตรเดบิตธนาคารเอ จำกัด (มหาชน) ของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร และศึกษาปัจจัยประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกใช้บัตรเดบิตธนาคาร ของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้ศึกษาได้ทำการสร้างเครื่องมือโดยออกแบบสอบถาม และดำเนินการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษา ระดับปริญญาตรี จำนวน 250 คน และใช้สถิติในการวิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการทดสอบที (t-test) One-Way ANOVA สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficient) นำผลไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เพศหญิง อายุ19-23ปี สถานภาพโสด กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเอกชน รายได้ 5,001 – 10,000 บาท ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านสถานภาพ ระดับ การศึกษา รายได้ต่อเดือน กับพฤติกรรมการเลือกใช้บัตรเดบิตมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนปัจจัย
ส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ สังกัดการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้วยสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน โดยคู่ที่มีความสัมพันธ์ค่อนข้างสูง คือ ปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการ กับปัจจัยด้านบุคคล และคู่ที่มีค่าความสัมพันธ์น้อยที่สุด คือ พฤติกรรมผู้บริโภคกับปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการ This study aims to investigate the relationship between personal factors and the selection of Debit-Card of A Bank Company. In relevant to the marketing mix for higher education students in Bangkok Metropolitan Area. The questionnaire was used a tool used in this research. The data is gathered from both theoretical concepts and related research. A researcher collected data from 250 undergraduates for sampling. The statistical analysis were percentage, mean, standard deviation, the test (t-test), One-Way ANOVA, Pearson’s Correlation Coefficients. The results were analyzed using the computer program. Hypothesis test results found that personal factors, including status, level of education. Income are associated significantly to the behavior of use debit card, while gender, age, academic are not significantly associated. By using Pearson’s Correlation Coefficient Analysis, the results showed that the service process factors are significantly related with personal factors, while the service process factors are insufficantly related with the consumer behavior factors. |
Description: | The 9th National & International Conference of Suan Sunandha Rajabhat University Bangkok, Thailand, “Local & Global Sustainability : Meeting the Challenges & Sharing the Solutions” 20 March 2018 at Suan Sunandha Rajabhat University Bangkok, Thailand, p.1312-1322. สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ http://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/8thconference/article/view/1338 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2350 |
Appears in Collections: | Business Administration - Proceeding Document |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Selection-of-debit-card.pdf | 90.45 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.