Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2356
Title: | การเพิ่มประสิทธิภาพของถังดักไขมันสำหรับร้านอาหารในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Other Titles: | Increasing of Grease Trap Efficiency for the Restaurants in Huachiew Chalermprakiet University |
Authors: | จันทร์เพ็ญ จับทอง สุภัทรา บุญทัย ศรัญญา โตสงคราม กานดา ปิยะมาตรย์ อาภาภรณ์ บุลสถาพร นุชนาถ แช่มช้อย Nutchanat Chamchoi Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health |
Keywords: | น้ำเสีย – การบำบัด – วิธีแบบไร้ออกซิเจน Sewage -- Purification -- Anaerobic treatment น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกรอง Sewage -- Purification -- Filtration ร้านอาหาร Restaurants |
Issue Date: | 2018 |
Abstract: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและการเพิ่มประสิทธิภาพของถังดักไขมันในการบำบัดน้ำเสียจากร้านอาหาร ได้แก่ ร้านก๋วยเตี๋ยวและร้านข้าวแกงใต้ แล้วนำมาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของถังดักไขมันแบบทั่วไป และแบบที่มีการทดลองเพิ่มประสิทธิภาพโดยการเติมอากาศ ด้วยอัตราการเติมอากาศเท่ากับ 1.35 ลิตรต่อนาที เป็นระยะเวลา 30 นาที และ 60 นาที โดยมีระยะเวลากักเก็บน้ำเสีย 6 ชั่วโมง เท่ากันทุกชุดการทดลอง ทำการวิเคราะห์ปริมาณน้ำมันและไขมันด้วยวิธีสกัดด้วยซอกฮ์เลต วิเคราะห์ค่าบีโอดีและค่าความเป็นกรด-ด่าง ด้วยวิธีเอไซด์โมดิฟิเคชันและวิธีไฟฟ้า และเปรียบเทียบประสิทธิภาพการกำจัดน้ำมันและไขมันโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน ตามลำดับ จากผลการศึกษาพบว่า ถังดักไขมันแบบทั่วไปสามารถกำจัดน้ำมันและไขมันในน้ำเสียได้ร้อยละ 60.0-68.8 กำจัดค่าบีโอดีได้ร้อยละ 30.0-48.2 โดยน้ำทิ้งมีค่าความเป็น กรด-ด่าง ระหว่าง 4.6-6.9 ในขณะที่ถังดักไขมันแบบที่มีการเติมอากาศ เป็นระยะเวลา 30 นาที มีประสิทธิภาพในการกำจัดน้ำมันและไขมัน ร้อยละ 77.8-81.8 กำจัดค่าบีโอดีได้ร้อยละ 31.8-36.4 ถังดักไขมันแบบที่มีการเติมอากาศ เป็นระยะเวลา 60 นาที มีประสิทธิภาพในการกำจัดน้ำมันและไขมัน ร้อยละ 72.7-75.0 กำจัดค่าบีโอดีได้ร้อยละ 33.1-34.6 ซึ่งจากผลการทดลอง พบว่า ถังดักไขมันแบบที่มีการเติมอากาศเป็นระยะเวลา 30 นาที มีประสิทธิภาพการกำจัดน้ำมันและไขมันสูงที่สุด (ร้อยละ 81.8) โดยมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.0 นอกจากนี้จากผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประสิทธิภาพของถังดักไขมันแบบทั่วไป มีค่าแตกต่างจากแบบที่มีการเติมอากาศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในขระที่ระยะเวลาการเติมอากาศที่แตกต่างกัน ไม่มีผลทำให้ประสิทธิภาพของถังดักไขมันแบบที่มีการเติมอากาศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) The research was an experimental research for studying of the efficiency and the increasing of efficiency of grease traps for treating of wastewater from restaurants such as noodle and Thai Southern style food restaurants. The wastewater treatment efficiency of general grease trap type and the tested increasing efficiency grease trap type by aeration with the aeration rate of 1.35 L/min for 30 and 60 minutes were then compared. The hydraulic retention time of 6 hours was controlled for all treatments. The amount of oil and grease was analyzed by Soxhlet extraction method. The analysis of BOD and pH values was achieved by azides modification and electrometric method, and the removal efficiency of oil and grease was considered using inferential statistics, respectively. From the results, it was found that the removal efficiency of oil and grease from wastewater of the general grease trap type of 60.0-68.8%, BOD removal efficiency of 30.0-48.2% were recorded with the effluent pH values of 4.6-6.9. While, the oil and grease removal efficiency of the aerated grease trap type for 30 minutes was 77.8-81.8%, BOD removal efficiency was 31.8-36.4%. The oil and grease removal efficiency of the aerated grease trap type for 60 minutes was 72.7-75.0%, BOD removal efficiency was 33.1-34.6%. The experimental results reveals that the aerated grease trap type for 30 minutes provided the maximum oil and grease removal efficiency (81.8%) with the increasing of treatment efficiency of 13.0%. Furthermore, the result of hypothesis test showed that the efficiency of general grease trap had statistical significant different from the aerated grease trap type (p<0.05). Whereas, the different aerated periods had no effect to the efficiency of aerated grease trap type with statistical significant different (p< 0.05). |
Description: | Proceedings of the 6th National and International Conference on "Research to Serve Society", 22nd June 2018 at Huachiew Chalermprakiet University, Bangphli District, Samutprakarn, Thailand. p. 813-823. |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2356 |
Appears in Collections: | Public and Environmental Health - Proceeding Document |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
HCU2018-Increasing-of-Grease-Trap-Efficiency-for-the-Restaurants.pdf | 645.72 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.