Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2367
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทรงสรรค์ อุดมศิลป์-
dc.contributor.advisorSongsan Udomsilp-
dc.contributor.authorเจริญสุข ศึกษาศิลป์-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.date.accessioned2024-06-06T09:00:23Z-
dc.date.available2024-06-06T09:00:23Z-
dc.date.issued2000-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2367-
dc.descriptionภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2543en
dc.description.abstractภาคนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาการบริหารงานพัสดุตามหลักวิชาการเพื่อแก้ไขปัญหา อันเนื่องมาจากการจัดหาพัสดุล่าช้า พัสดุที่จัดหาไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ การเบิกจ่ายเงินไม่เสร็จสิ้นในปีงบประมาณ รวมทั้งไม่สามารถติดตามและประเมินผล เพื่อใช้ในการวางแผนและช่วยในการตัดสินใจ การบริหารงานพัสดุของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และเพื่อตอบสนองนโยบายจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ (Mater Plan) ของภาครัฐบาล การแก้ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานพัสดุดังกล่าว ได้นำระบบสารสนเทศและโปรแกรมประยุกต์มาใช้ เป็นเครื่องมือและกลไกในการแก้ไขปัญหาของระบบในเชิงเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน และการวางแผน ซึ่งเป็นระบบการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ อันได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ มาช่วยรวบรวม ประมวลผลข้อมูล ข่าวสาร และเอกสารต่างที่มีจำนวนมากของระบบากรบริหารงานพัสดุ ให้สะดวกและรวดเร็วแก่การใช้งานและค้นหาข้อมูล เพื่อช่วยวางแผนและการตัดสินใจ โดยผ่านสื่อสารคมนาคมในระบบเครือข่ายและโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งมีผลทางตรงและทางอ้อมกับการบริหารงานพัสดุ การศึกษามุ่งศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการบริหารงานพัสดุ ระบบสารสนเทศ โปรแกรมประยุกต์ ทฤษฎี Five-Force Model ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการบริหาร โดยใช้ระบบสารสนเทศในการดำเนินการ เพื่อให้ได้เปรียบทางการแข่งขัน และเป็นการพัฒนาองค์กร นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการศึกษา การเก็บรวบรวมข้อมูล ความคิดเห็นในการยอมรับ การนำโปรแกรมพัสดุไปใช้งานจากข้าราชการและเจ้าหน้าที่พัสดุของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จำนวนรวมทั้งสิ้น 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยด้วยคำถาม 4 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 พฤติกรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ ส่วนที่ 3 ความคิดเห็นเกี่ยวกับโปรแกรมสำเร็จรูปที่จะนำมาใช้สำหรับงานพัสดุ ซึ่งมีองค์ประกอบ 5 โปรแกรม ได้แก่ โปรแกรมงานแผนงาน โปรแกรมงานควบคุมมาตรฐาน โปรแกรมงานจัดหา โปรแกรมงานบัญชี และโปรแกรมงานคลังพัสดุ ส่วนที่ 4 ข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาพบว่า ข้าราชการและเจ้าหน้าที่พัสดุในภาพรวม ยอมรับการนำโปรแกรมพัสดุทั้ง 5 โปรแกรมไปใช้งานในระดับค่าเฉลี่ย 3.24 หมายถึง การยอมรับโปรแกรมประยุกต์ที่จัดทำขึ้น เพื่อใช้ในการบริหารงานพัสดุด้วยระบบสารสนเทศของข้าราขการและเจ้าหน้าที่พัสดุอยู่ในระดับความพอใจปานกลาง และพิจารณาข้อเสนอแนะ ประกอบเห็นสมควรให้มีการทดลองใช้ระบบและค่อยปรับปรุงแก้ไขระบบจนใช้งานได้ดี ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า โปรแกรมงานพัสดุที่สถาบันฯ จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ เป็นที่ยอมรับของข้าราขการและเจ้าหน้าที่พัสดุ และสามารถนำรบบบดังกล่าวมาทดลองการใช้งานได้ต่อไปen
dc.language.isothen
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.subjectสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง -- การบริหารen
dc.subjectKing Mongkut's Institute of Technology -- Administrationen
dc.subjectพัสดุen
dc.subjectMaterialsen
dc.subjectระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการen
dc.subjectManagement information systems.en
dc.subjectการจัดการวัสดุen
dc.subjectMaterials managementen
dc.titleการใช้ระบบสารสนเทศในการบริหารงานพัสดุ กรณีของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังen
dc.title.alternativeUsing Information System in Purchasing Management, The King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang Caseen
dc.typeIndependent Studiesen
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineบริหารธุรกิจen
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jaroensuk-Suksasilp.pdf20.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.