Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2371
Title: การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด (คดียาเสพติด) ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนพระนครศรีอยุธยา
Other Titles: Family Participation in Rehabilitation Training for Juvenile Delinquency (Drug Addict Cases) at Phra Nakorn Sri Ayudhaya Vocational Training Center
Authors: ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล
Thipaporn Phothithawil
จุฑารัตน์ แคล่วคล่อง
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Keywords: เยาวชน -- การใช้ยา
Youth -- Drug use
การกระทำความผิดอาญาของเยาวชน
Juvenile delinquency
คนติดยาเสพติด -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ
Drug addicts -- Rehabilitation.
คนติดยาเสพติด -- ความสัมพันธ์ในครอบครัว
Drug addicts -- Domestic relations.
Issue Date: 2009
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาอิสระเรื่อง “การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนที่กระทำผิด (คดียาเสพติด) ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนพระนครศรึอยุธยา” นี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทัศนคติของครอบครัวต่อการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนที่กระทำผิด (คดียาเสพติด) ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนพระนครศรีอยุธยา เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนที่กระทำผิด (คดียาเสพติด) ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนพระนครศรีอยุธยา และเพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนที่กระทำผิด (คดียาเสพติด) ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนพระนครศรีอยุธยา โดยใช้วิธีการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร (Documentary Study) และการสำรวจภาคสนาม (Field Study) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ครอบครัวของเด็กและเยาวชนที่อยู่ระหว่างเข้ารับการบำบัดภายในศูนย์ฝึกและอบรม จำนวน 70 ครอบครัว ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 41-50 ปีนับถือศาสนาพุทธ สถานภาพการสมรสแยกกันอยู่/หย่าร้าง/หม้าย เป็นบิดามารดาของเด็กและเยาวชน ภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ระดับการศึกษาสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพ รับจ้าง รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการให้ศูนย์ฝึกและอบรมจัดกิจกรรมที่ให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมทำกิจกรรมรร่วมกับบุตรหลาน ระยะเวลาที่เห็นว่าเหมาะสมต่อการจัดกิจกรรมต่อครั้ง คือ ระหว่าง 1-3 ชั่วโมง วิธีการเดินทางมาเยี่ยมเยาวชน โดยรถโดยสารประจำทาง จำนวนครั้งที่เหมาะสมต่อการเข้าร่วมกิจกรรม คือ เดือนละ 1 ครั้ง การศึกษาทัศนคติของครอบครัวต่อการเข้ารับการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนที่กระทำผิด (คดียาเสพติด) ในศูนย์ฝึกและอบรมฯ พบว่า ทัศนคติของครอบครัวต่อการเข้ารับการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมฯ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 อยู่ในระดับมากและทัศนคติเกี่ยวกับความสำคัญของครอบครัวต่อการบำบัดเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมฯ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.85 อยู่ในระดับมากที่สุด การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนที่กระทำผิด (คดียาเสพติด) ในแต่ละขั้นตอนการบำบัด ได้แก่ ระยะแรกรับ ระยะบำบัด และระยะเตรียมการกลับสู่สังคม โดยได้แบ่งลักษณะการมีส่วนร่วมเป็น 5 ลักษณะ คือ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติการ ร่วมรับผลประโยชน์ และร่วมประเมินผล พบว่า ครอบครัวไม่ได้มีส่วนร่วมทุกลักษณะ และในระยะบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู ครอบครัวส่วนใหญ่มีส่วนร่วมรับประโยชน์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนร่วมในลักษณะอื่นเลย แนวทางการส่งเสริมให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมที่เหมาะสมในการฝึกอบรมเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด (คดียาเสพติด) ที่เหมาะสม ก็คือ การให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการฝึกอบรมเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมฯ ตั้งแต่ลักษณะแรกจนลักษณะสุดท้ายของงการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู อันได้แก่ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติการ ร่วมรับประโยชน์ และร่วมประเมินผล เนื่องจากครอบครัวจะรับทราบการฝึกอบรมตั้งแต่เริ่มแรกที่เด็กและเยาวชนเข้ารับการฝึกอบรมภายในศูนย์ฝึกและอบรมฯ ตลอดจนทราบถึงบทบาทของตนเองว่าจะสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการฝึกอบรมได้อย่างไรบ้าง ขั้นตอนใดบ้าง ตลอดจนการทำกิจกรรมร่วมกับเด็กและเยาวชนเพื่อช่วยให้เด็กและเยาวชนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น และยังพบว่า ปัญหาอุปสรรคสำคัญในการให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการฝึกอบรมเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมฯ คือ ศูนย์ฝึกและอบรมฯ จัดให้มีกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการฝึกอบรมเด็กและเยาวชนน้อย จึงทำให้ครอบครัวไม่มีโอกาสที่จะเข้ามามีส่วนร่วมเท่าที่ควร การที่ครอบครัวต้องทำงานหารายได้เพื่อเลี้ยงครอบครัว จึงทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ ศูนย์ฝึกและอบรมฯ จัดขึ้นได้ นอกจากนี้การให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู เด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมฯ อาจเกิดผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนที่ไม่มีครอบครัว ไม่มีผู้อุปการะดูแลได้ ถึงแม้ว่าศูนย์ฝึกและอบรมฯ เอง จะมีการจัดหาครอบครัวอุปถัมภ์ให้กับเด็กและเยาวชนเหล่านั้น แต่ก็ไม่สามารถที่จะหาครอบครัวอุปถัมภ์ได้ในจำนวนที่ครบสำหรับเด็กและเยาวชนทุกคนและทุกครั้งไป ข้อเสนอแนะของการศึกษา กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ควรกำหนดนโยบายการปฏิบัติงานกับครอบครัวของเด็กและเยาวชนอย่างชัดเจน ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการปฏิบัติงานกับครอบครัวของเด็กและเยาวชนและดำเนินการจัดกิจกรรมให้มีความหลากหลาย สอดคล้องกับสภาพปัญหาของเด็กและเยาวชนแต่ละราย เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครอบครัวกับเด็กและเยาวชนให้เกิดการพัฒนาไปในทางที่ดี และควรกำหนดแผนงานการให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู เด็กและเยาวชน และการจัดกิจกรรมของศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนให้ชัดเจน โดยให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของครอบครัว
Description: การศึกษาอิสระ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2552
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2371
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jutarat-Kalklong.pdf
  Restricted Access
17.39 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.