Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2372
Title: การพัฒนาแนวปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บบริเวณคอและกระดูกสันหลังจากอุบัติเหตุ ณ จุดเกิดเหตุจนนำส่งสถานพยาบาล ศูนย์หัวเฉียวพิทักษ์ชีพ-ป่อเต็กตึ๊ง โรงพยาบาลหัวเฉียว
Other Titles: The Development of a Clinical Practice Guideline for Transferring System among Cervical Spinal Injury Patients at Pre-hospital to Health Care Service Huachiew-Poh Tek Tung Life Support Center, Huachiew Hospital
Authors: อรพินท์ สีขาว
Orapin Sikaow
จุฑารัตน์ ผู้พิทักษ์กุล
Jutarat Poopitukkul
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Keywords: บาดแผลและบาดเจ็บ
Wounds and injuries.
กระดูกสันหลัง -- บาดแผลและบาดเจ็บ
Spine -- Wounds and injuries.
คอ -- บาดแผลและบาดเจ็บ
Neck -- Wounds and injuries
อุบัติเหตุ
Accidents
การพยาบาลฉุกเฉิน
Emergency nursing
Clinical Nursing practice guideline
แนวปฏิบัติการพยาบาล
Issue Date: 2006
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บบริเวณคอและกระดูกสันหลังจากอุบัติเหตุ ณ จุดเกิดเหตุจนนำส่งถึงสถานพยาบาล ศูนย์หัวเฉียวพิทักษ์ชีพฯ ด้วยวิธีการสังเคราะห์งานวิจัยและงานวิชาการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งใช้การสอบถาม และสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ทุกระดับของศูนย์หัวเฉียวพิทักษ์ชีพฯ จำนวน 30 คน เกี่ยวกับสภาพปัญหา ปัจจัยส่งเสริมและปัจจัยขัดขวางการปฏิบัติงาน ตั้งแต่การรับแจ้งเหตุ การปฏิบัติการ จนนำส่งสถานพยาบาลระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม พ.ศ. 2549 นำมาพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บบริเวณคอและกระดูกสันหลังจากอุบัติเหตุ ณ จุดเกิดเหตุจนนำส่งถึงสถานพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการคำนวณร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า การปฏิบัติงานของศูนย์หัวเฉียวพิทักษ์ชีพฯ มีปัญหาด้านระบบและกระบวนการทำงาน มีปัจจัยส่งเสริมและปัจจัยขัดขวางทั้งด้านการบริหารจัดการ การพัฒนาบุคลากร การใช้อุปกรณ์และการสร้างเครือข่ายในการทำงาน แนวปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บบริเวณคอและกระดูกสันหลังจากอุบัติเหตุ ณ จุดเกิดเหตุจนนำส่งถึงสถานพยาบาลประกอบด้วย (1) แนวปฏิบัติการเตรียมพร้อมทั้งบุคลากร รถพยาบาล และอุปกรณ์ (2) แนวปฏิบัติการรับแจ้งเหตุ ได้แก่ คุณสมบัติเจ้าหน้าที่วิทยุสื่อสาร และข้อมูลที่จำเป็นต้องถามจากผู้แจ้งเหตุ (3) แนวปฏิบัติ ณ จุดเกิตเหตุก่อนนำส่งสถานพยาบาล ได้แก่ การประเมินสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม และแนวปฏิบัติในการประเมินและการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บบริเวณคอและกระดูกสันหลังจากอุบัติเหตุ ซึ่งประกอบด้วย บทบาทของเจ้าหน้าที่ทุกระดับในทีมปฏิบัติการ วิธีการใส่เฝือกคอ การจัดท่าของผู้บาดเจ็บ วิธีการเคลื่อนย้าย (4) แนวปฏิบัติในการดูแลผู้บาดเจ็บบนรถพยาบาล ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ทุกระดับในทีมปฏิบัติการบนรถพยาบาล (5) แนวปฏิบัติในการส่งมอบผู้บาดเจ็บและบันทึกรายงานผู้บาดเจ็บ มีหลักการพิจารณาเลือกนำส่งสถานพยาบาล และบันทึกส่งมอบผู้บาดเจ็บ และ (6) แนวปฏิบัติเมื่อสิ้นสุดการออกปฏิบัติการ ข้อเสนอแนะ ควรมีการสร้างความเข้าใจและให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ก่อนการนำแนวปฏิบัติไปใช้ เพื่อให้มีแนวปฏิบัติที่ถูกต้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนควรพัฒนาแนวปฏิบัติ เพื่อกำกับและติดตามผลการใช้แนวปฏิบัตินี้ให้มีประสิทธิภาพต่อไป รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพงานของศูนย์หัวเฉียวพิทักษ์ชีพป่อเต็กตึ๊ง โรงพยาบาลหัวเฉียว
The purpose of this study was to develop the clinical practice guideline for transferring cervical spinal injury patients at pre-hospital to health care service of Hua Chiew-Poh Tek Tung Life Support Center, Huachiew Hospital. The syntheses related literature review, questionnaire and in-depth interview in 30 persons at all levels of the life support team were methodologies. The problem and influencing factors of reporting, pre-hospital care and transferring to health care service were analyzed with percentile and content analysis. They were constructed to be clinical practice guideline during June-October 2006. The results found that the transferring system and working process were not organized in management of human resource, equipment and network. The development of clinical practice guideline for transferring cervical spinal injury patients at pre-hospital to health care service were included (1) clinical practice guideline for preparing team, ambulance and equipments (2) clinical practice guideline for dispatch system which focus on the necessary data at the first-site accidental situation from first responder (3) clinical practice guideline at pre-hospital care including situation and environmental assessment and clinical practice guideline for transferring cervical spinal injury which comprised of roles of health care team, cervical splint methods, patient position management and transferring methods. (4) clinical practice guideline for all levels of health care teams (5) clinical practice guideline for transferring management and precise recording (6) clinical practice guideline for reporting and maintenance system. Recommendations: (1) health care team should be trained to effectively use the clinical practice guideline for best practice in order to help cervical spine injury patients. (2) Nurse practitioner should continually developed the clinical practice guideline for monitoring and evaluating the outcome of this guideline (3) Nurse Practitioner should analyze and synthesize the efficiency of this guideline for quality improvement in Hua Chiew-Poh Tek Tung Life Support Center, Huachiew Hospital.
Description: การศึกษาด้วยตนเอง (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2549
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2372
Appears in Collections:Nursing - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jutarat-Poopitukkul.pdf
  Restricted Access
18.22 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.