Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2381
Title: | ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรศูนย์ป้องกันควบคุมโรคมะเร็ง จังหวัดชลบุรี |
Other Titles: | Work Satisfaction of Staff in Chonburi Cancer Center |
Authors: | สุภรัฐ หงษ์มณี ชนิดา ศรีบวรวิวัฒน์ Chanida Sribavornwiwat Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
Keywords: | ศูนย์ป้องกันควบคุมโรคมะเร็ง จังหวัดชลบุรี -- พนักงาน Chonburi Cancer Center -- Employees ความพอใจในการทำงาน Job satisfaction |
Issue Date: | 2001 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของบุคลากรศูนย์ป้องกันควบคุมโรคมะเร็ง จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงนในด้านต่างๆ และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรศูนย์ป้องกันควบคุมโรคมะเร็ง จังหวัดชลบุรี โดยศึกษาตัวแปรตาม 6 ด้าน ได้แก่ ด้านลักษณะงานที่ทำ ด้านความก้าวหน้าในการทำงาน ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ ด้านการสื่อสารภายในองค์กร ด้านการปกครองผู้บังคับบัญชา การวิเคราะห์ใช้ค่าสถิติ คือ ใช้ค่าร้อยละในการพรรณนาข้อมูล ส่วนในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ผู้วิจัยได้มีการใช้ตัวสถิติ คือ ไคสแควร์ (Chi-Square) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ ตัวแปรด้านภูมิหลังของบุคลากร ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน รายได้ ตำแหน่งงาน ระดับตำแหน่งงาน ความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการวิจัยในครั้งนี้ทำให้ทราบถึงความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ในด้านลักษณะงานที่ทำ พบว่ากลุ่มตำแหน่งสูง ได้แก่ แพทย์ กลุ่มผู้มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานนาน กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำ และกลุ่มผู้มีระดับตำแหน่งงานสูง มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานสูง ด้านความก้าวหน้าในการทำงาน พบว่า กลุ่มการศึกษาต่ำ กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำ และกลุ่มผู้มีระดับตำแหน่งงานสูง มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานสูง ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน พบว่ากลุ่มตำแหน่งงานสูง ได้แก่ แพทย์ พยาบาล มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานสูง ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ พบว่ากลุ่มผู้มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานนาน และกลุ่มผู้มีระดับตำแหน่งงานสูง มีความพึงพอใจใยการปฏิบัติงานสูง ด้านการสื่อสารภายในองค์กร พบว่า กลุ่มผู้มีการศึกษาต่ำ กลุ่มตำแหน่งงานต่ำ กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำ ได้แก่ แม่บ้าน คนงาน และกลุ่มผู้มีระดับตำแหน่งงานสูง มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานสูง ด้านการปกครองบังคับ พบว่ากลุ่มมีรายได้ต่ำ และกลุ่มผู้มีระดับตำแหน่งงานสูง มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานสูง สำหรับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยธรรม พบว่า กลุ่มผู้มีระดับตำแหน่งงานสูง มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานสูง จากผลการศึกษาผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ คือ ด้านการสื่อสารภายในองค์กร ผู้บริหารระดับสูง ควรให้ความสำคัญโดยใช้สื่อต่างๆ ที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในหน่วยงน เช่น การปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ให้มีครบทุกกลุ่มงาน และมีเพียงพอต่อความต้องการของบุคลากร โดยใช้ระบบอินเตอร์เน็ตในการสื่อสาร เพื่อเพิ่มการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ควรปรับปรุงสถานที่ทำงานให้เหมาะสมกับความต้องการของลักษณะงาน การจัดวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำงานของบุคลากรต้องมีให้เพียงพอและมีความทันสมัย รวมทั้งระเบียบขั้นตอนเรื่องการเบิกวัสดุสำนักงานต่างๆ ต้องไม่ล่าช้า เพื่อความสะดวกต่อการปฏิบัติงาน โดยผู้บริหารต้องคำนึงถึงเรื่องดังกล่าวนี้เป็นสำคัญด้วย ในด้านความปลอดภัยในการทำงาน ผู้บริหารควรให้ความสำคัญโดยการเชิญวิทยากรผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญเข้ามาอบรมเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ให้กับบุคลากร และควรจัดสรรพื้นที่สิ่งอำนวยความสะดวกให้เหมาะสม ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ ควรเพิ่มสวัสดิการต่างๆ ให้กับบุคลากรโดยเฉพาะลูกจ้างชั่วคราวที่มีรายได้ต่ำ และไม่ได้รับการพิจารณาเพิ่มอัตราเงินเดือนมานานแล้ว ซึ่งจะทำให้บุคลากรมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานสูง นอกจากนี้องค์กรควรมีการสำรวจความต้องการของบุคลากรด้านต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดสวัสดิการที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและตรงกับความต้องการของบุคลากรให้มากที่สุด |
Description: | สารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2544 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2381 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chanida-Sribowornwiwat.pdf Restricted Access | 14.42 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.