Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2384
Title: | การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุให้รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง |
Other Titles: | The Development of a Clinical Nursing Practice Guideline for Medical Adherence in Primary Hypertensive Patients |
Authors: | อรพินท์ สีขาว Orapin Sikaow จุฑารัตน์ อินทโชติ Jutarat Intachot Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing |
Keywords: | ความดันเลือดสูง -- การรักษาด้วยยา Hypertension -- Drug therapy พฤติกรรมสุขภาพ Health behavior การขาดยา |
Issue Date: | 2008 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุให้รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้รูปแบบการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ชองศูนย์ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ประเทศสหรัฐอเมริกา (Soukup. 2000) ซึ่งมีขั้นตอนเริ่มต้นด้วยการคิดวิเคราะห์ปัญหาในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำคลินิกความดันโลหิตสูง และปัญหาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ แล้วค้นหาหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยกำหนดคำสำคัญเพื่อสืบค้นจากระบบฐานข้อมูล และประเมิน ความน่าเชื่อถือของหลักฐานเชิงประจักษ์ ได้งานวิจัยระหว่างปี ค.ศ. 1997-2008 ที่ตรงประเด็นปัญหาจำนวน 14 เรื่อง ประกอบด้วยงานวิจัยที่เป็นการวิเคราะห์ทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบ 1 เรื่อง งานวิจัยเชิงทดลอง 2 เรื่อง งานวิจัยแบบกึ่งทดลอง 6 เรื่อง งานวิจัยเชิงพรรณนา 1 เรื่อง การศึกษาภาคตัดขวาง 1 เรื่อง และหลักฐานที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ 3 เรื่อง ใช้เกณฑ์การประเมินความเข้มแข็งของหลักฐานเชิงประจักษ์ด้วยระดับความน่าเชื่อถือของเมลนิค และไฟน์เอาท์โอเวอร์ฮอล์ท (Melnyl and Fineout-Overholt. 2005 อ้างถึงใน ฟองคำ ดิลกสกุลชัย. 2549) จากนั้นทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์งานวิจัยดังกล่าว จนได้แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุให้รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ประเมินความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติการพยาบาลที่สร้างขึ้น โดยใช้เกณฑ์การประเมินความเป็นไปได้ในการปฏิบัติการของโพลิค และเบค (Polit and Beck. 2004) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การประเมินการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องของผู้ป่วยซึ่งประกอบด้วย 1.1) การประเมินผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ และปัจจัยที่มีผลต่อการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง 1.2) การประเมินการรับประทานยาลดความดันโลหิต 1.3 การประเมินความต่อเนื่องในการรับประทานยาลดความดันโลหิต 1.4 การประเมินพฤติกรรมการรับประทานยาลดความดันโลหิตอย่างต่อเนื่องของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ ส่วนที่ 2 แนวปฏิบัติในการเสริมสร้างแรงจูงใจให้รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแนวปฏิบัติการพยาบาลนี้ได้รับการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 4 ท่าน ก่อนนำไปทดลองใช้กับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุจำนวน 3 ราย เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ผลการทดลองใช้แนวปฏิบัติ พบว่า ผู้ป่วยพึงพอใจที่ได้รับความรู้เรื่องความดันโลหิตสูง ภาวะแทรกซ้อน และการปฏิบัติตัว มีสิ่งกระตุ้นเตือนทำให้ผู้ป่วยไม่ลืมรับประทานยาโดยการบันทึกของผู้ป่วยเอง มีการดูแลอย่างต่อเนื่องที่บ้าน โดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนักที่จะรับประทานยาอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง ข้อเสนอแนะ ควรมีการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลนี้ไปใช้กับผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น และในระยะเวลานานขึ้น เพื่อนำผลมาปรับปรุง แก้ไขให้เป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศ และมีการบูรณาการแนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุให้รับประทานยาอย่างต่อเนื่องเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพทางคลินิกผู้ป่วยความดันโลหิตสูงต่อไป The purpose of this study was to develop a clinical nursing practice guideline (CNPG) for medical adherence in primary hypertensive patients by applying Evidence Based Practice Model of the center of advanced nursing practice U.S.A. (Soukup. 2000) which consists of 4 phases : evidence triggered phase, evidence supported phase, evidence observed phase and evidence based phase. The development began with analysis of the problems of nursing practice at hypertension clinic and in primary hypertension. It was determined keywords for retrieving from the data based. Then the fourteen related literatures in 1997-2008 were selected including one systematic review, two randomized control trial, six quasi-experimental studies, one descriptive study, one of cross sectional study and three expert’s opinion. All relevant evidences were evaluated base on Melnyl & Fineout-Overholt : 2005 (Melnyl & Fineout-Overholt. 2005 referenced in Fongcome Tilogskunchai. 2006). Then they were analyzed and synthesized in order to developed the CNPG. Evaluation the model on reliability of nursing practice guideline by Polit & Beck : 2004 (Polit & Beck. 2004) The CNPG consisted of 2 parts The part 1 was evaluation medical adherence in patients that comprised of 1.1) assessment primary hypertension patients and factors related medical adherence 1.2) evaluation of patient drug reduced-hypertension administration 1.3) evaluation of medical adherence in drug reduced-hypertension 1.4) assessment patient behavior of medical adherence in primary hypertension and part 2 was the guideline in motivation for medical adherence. This guideline was validated by 4 experts in the hypertension clinic, Si Prachan Hospital, Supanburi. It was practiced in the 3 patients for 4 weeks. The results showed that all patients were satisfied in receiving knowledge and complication of disease. The patients activated themselves to administration drugs and the motivation interviewing was applied to support patients to drug adherence. The suggestion It should be used the clinical nursing practice guideline in more patients and more length of time to conclusion and developing to the best guideline. The CNPG should include in the work procedures for medical adherence in the primary hypertension. |
Description: | การศึกษาอิสระ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2551 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2384 |
Appears in Collections: | Nursing - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jutarat-Intachot.pdf Restricted Access | 19.69 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.