Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2400
Title: ผลของรูปแบบการหย่าเครื่องช่วยหายใจร่วมกับแรงสนับสนุนจากครอบครัวต่อความสำเร็จ และระยะเวลาที่ใช้ในการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยที่มีภาวะการหายใจล้มเหลว
Other Titles: Effects of Weaning Ventilator Protocol and Family Support on Success and Duration of Weaning in Patients with Respiratory Failure
Authors: ศุภลักษ์ คูณศรี
ทวีศักดิ์ กสิผล
ดวงกมล วัตราดุล
รัชนี นามจันทรา
Supalak Koonsri
Taweesak Kasiphol
Duangkamol Wattradul
Rachanee Namjantra
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
The Thai Red Cross College of Nursing. Faculty of Nursing
Rangsit University. Faculty of Nursing
Keywords: เครื่องช่วยหายใจ
Respirators (Medical equipment)
ภาวะทางเดินหายใจล้มเหลว
Respiratory failure
การสนับสนุนทางครอบครัว
Issue Date: 2015
Citation: วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 26, 1 (มกราคม - มิถุนายน 2558) : 73-88.
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลหลังการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงแบบจับคู่ 2 กลุ่มในผู้ป่วยที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวที่ได้รับการรักษาโดยการใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลกลาง กรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลแบบย้อนหลังในกลุ่มเปรียบเทียบที่ได้รับการหย่าเครื่องช่วยหายใจโดยใช้มาตรฐานวิชาชีพและประสบการณ์ของตนเอง (วิธีปกติ)จําานวน 30 ราย ส่วนกลุ่มทดลอง 30 ราย ได้รับการหย่าเครื่องช่วยหายใจโดยใช้รูปแบบการหย่าเครื่องช่วยหายใจร่วมกับแรงสนับสนุนจากครอบครัว โดยให้ญาติมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย และบูรณาการเข้ากับกระบวนการหย่าเครื่องช่วยหายใจทั้ง 3 ระยะ ประเมินความสําาเร็จของการหย่าเครื่องช่วยหายใจโดยใช้แบบประเมินความพร้อม การเฝ้าระวังในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ และระยะเวลาที่ใช้ในการหย่าเครื่องช่วยหายใจเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ แบบบันทึกโปรแกรมการเตรียมความพร้อมของครอบครัวเพื่อร่วมเป็นแรงสนับสนุนในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ และ แบบบันทึกแนวทางการหย่าเครื่องช่วยหายใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา Mann-Whitney U Test และสถิติที (Independent t-test) ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการหย่าเครื่องช่วยหายใจโดยใช้รูปแบบการหย่าเครื่องช่วยหายใจร่วมกับแรงสนับสนุนจากครอบครัว สามารถหย่าเครื่องช่วยหายใจได้สําาเร็จมากว่า และใช้เวลาในการหย่าเครื่องช่วยหายใจน้อยกว่า กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการหย่าเครื่องช่วยหายใจโดยวิธีปกติอย่างมีนัยสําาคัญทางสถิติที่ระดับ p < .01ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าพยาบาลมีบทบาทสําาคัญในการหย่าเครื่องช่วยหายใจให้ประสบความสําาเร็จพยาบาลควรประสานความร่วมมือกันในทีมสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยให้มีความพร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ทีมสุขภาพควรใช้รูปแบบการหย่าเครื่องช่วยหายใจที่เป็นแนวทางปฏิบัติเดียวกันและส่งเสริมให้ครอบครัวได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนเพื่อเตรียมความพร้อมด้านจิตใจให้กับผู้ป่วยตลอดกระบวนการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
The posttest quasi-experimental research aimed at investigating the effectiveness of weaning in patients on mechanical ventilation. The study sample was recruited by means of purposive sampling with the matched pair techniques. The subjects consisted of 60 patients with respiratory failure who were intubated and were on mechanical ventilation at the intensive care unit of Central Hospital, Bangkok. Retrospective data were collected from 30 subjects in the control group who received weaning based on the guideline of the hospital (routine method) and 30 subjects in the experimental group who received protocol of weaning with family support and participating in all three phases of weaning. The success of weaning was evaluated based on patients’ readiness for weaning, monitoring of weaning, and duration of weaning from mechanical ventilation. Data were analyzed by means of descriptive statistics, Mann-Whitney U test, and independent t-test.The study findings revealed that the patients who received weaning with family support had a higher success rate and a shorter duration of weaning than those of the patients who received routine weaning with statistical significance at p < 0.01. This study demonstrated that nurses acted as an important role in patients’ successful weaning. Nurses should coordinate with the healthcare team members to provide care for patients to ensure their physical and mental readiness for weaning from mechanical ventilation. Moreover, the healthcare team members should use the same clinical practice protocol with social support on weaning from mechanical ventilation, and patients’ family members should be encouraged to offer support to ensure psychological readiness of patients all through the weaning process.
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/42522/35149
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2400
ISSN: 0867-605x (Print)
2672-9474 (Online)
Appears in Collections:Nursing - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Weaning-Ventilator-Protocol.pdf89 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.