Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/240
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร-
dc.contributor.advisorJaturong Boonyarattanasoontorn-
dc.contributor.authorวัชรพงษ์ คงมั่น-
dc.contributor.authorWatcharapong Kongman-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2022-05-04T11:50:50Z-
dc.date.available2022-05-04T11:50:50Z-
dc.date.issued2007-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/240-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2550th
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษา 1) การนำหลักธรรมาภิบาลซึ่งมีแนวคิดพื้นฐานเชิงพุทธธรรมไปใช้ในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลคำแคน 2) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการบริหารงานตามหลักพุทธธรรมในธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบล คำแคน 3) เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะที่เหมาะสมในการบริหารงานให้เป็นไปตามหลักพุทธธรรมในธรรมาภิบาล ไปใช้กับองค์การบริหารส่วนตำบลโดยทั่วไป ผลการศึกษา พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลคำแคน เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2541 ได้ดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่และภารกิจตามกฎหมายที่กำหนดไว้ค่อนข้างครบถ้วน แต่หากว่าวิธีการดำเนินงานดังกล่าวยังไม่ได้เป็นไปตามหลักพุทธธรรมใน ธรรมาภิบาลทั้ง 6 ด้าน เท่าที่ควรจะเป็น คือ (1) หลักนิติธรรม (2) หลักคุณธรรม (3) หลักความโปร่งใส (4) หลักการมีส่วนร่วม (5) หลักความรับผิดชอบ (6) หลักความคุ้มค่า อาทิ การดำเนินงานตามภารกิจ ด้านการสนับสนุนกลุ่มอาชีพในชุมชน อบต. คำแคน ยังมีการเลือกปฏิบัติและสนับสนุนกลุ่มที่ใกล้ชิดกับตนเอง ซึ่งเป็นการขัดต่อหลักคุณธรรม และไม่มีการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลอย่างโปร่งใสเป็นระบบ และไม่ได้กระจายทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างเป็นธรรมและคุ้มค่า รวมทั้งการตัดสินใจการดำเนินงานยังประกอบไปด้วยอคติ 4 ประการ คือ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ คือ มีความลำเอียง เพราะรัก เพราะโกรธ เพราะหลง และเพราะกลัว ซึ่งผู้บริหารที่มีจิตที่ประกอบด้วยอคติ 4 ประการ ดังกล่าวข้างต้น หลักพุทธธรรมชี้ว่าเป็นการปฏิบัติธรรมที่ไม่สมควรแก่ธรรม ดังพุทธวจนะที่ตรัสไว้ในสิงคาลกะสูตรในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 หน้า 164 ว่า “ผู้ใดละเมิดธรรมเพราะรัก ชัง กลัว และหลง ยศของเขาย่อมเสื่อมดุจพระจันทร์ข้างแรม หรือในภารกิจด้านการรณรงค์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมประเพณี รวมทั้งการทำแผน ยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น กิจกรรมที่ อบต. คำแคน ดำเนินการนั้นได้ใช้ อัตตวินิจฉัยเป็นด้านหลัก ไม่ได้ฟังคำแนะนำ คำวิพากษ์วิจารณ์ ที่ผ่านเวทีประชาคม ซึ่งเป็นเจตจำนงสาธารณะ ที่หลักพุทธธรรม เรียกว่า “ปรโตโฆสะ” อย่างแท้จริง จึงถือว่า เป็นการขาดการมีส่วนร่วม รวมทั้งไม่ได้ตรวจสอบจุดยืนตนเอง วิพากย์ปัญหาด้วย “พุทธิปัญญา” ซึ่งเป็นพื้นฐานหลักความรับผิดชอบในธรรมาภิบาล ดังพุทธภาษิตที่ปรากฏในพระธรรมบทพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง เล่มที่ 25 หน้า 55 ว่า “จงเตือนตนด้วยตนเอง” และหลัก “โยนิโสมนสิการ”คือ การพิจารณาปัญหาอย่างแยบคายด้วยสัมมาสติดังพุทธวจนะในพระไตรปิฎก เอกนิบาต เล่มที่20 หน้า 12 ว่า “เมื่อบุคคลใดใส่ใจโดยแยบคาย กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วที่ยังไม่เสื่อม ย่อมเสื่อมไป” หลักธรรมเหล่านี้ถือว่า เป็นมรรควิธีที่เป็นสัมมาทิฎฐิร่วม หรือการมีวิสัยทัศน์ร่วม แต่ อบต. คำแคน ยังไม่ได้ดำเนินงานตามหลักพุทธธรรมดังกล่าว ตรงกันข้ามได้บริหารงานภายใต้หลักมิจฉาทิฎฐิ และใช้หลักอัตตาธิปไตยเป็นแกนกลางในการปฏิบัติงาน ดังนั้น จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากสนามเหล่านี้ จึงอาจสรุปได้ว่า “อบต. คำแคน ยังไม่ได้มีการบริหารงานให้เป็นไปตามหลักพุทธธรรมในนธรรมาภิบาลเท่าที่ควรจะเป็น” ผู้ศึกษามีจึงข้อเสนอแนะแนวทางสำคัญต่อไปนี้ ระดับนโยบาย รัฐบาลส่วนกลางควรกระตุ้นให้องค์การบริหารส่วนตำบลได้มีการกำหนดแผนงานโครงการ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาสาธารณูปโภค สาธารณูปการอยู่ในยุทธศาสตร์ต้น ๆ ด้วย และเพื่อสร้างดุลยภาพระหว่างระบบทุนนิยม กระแสโลกาภิวัฒน์ บริโภคนิยมที่ครอบงำสังคมอยู่ในปัจจุบันกับทุนทางสังคม และฐานทรัพยากรท้องถิ่นที่มีอยู่ในสังคมไทย จึงควรจัดตั้งสภาตุลาการชุมชนให้เป็นองค์กรพี่เลี้ยงและเป็นที่ปรึกษาอบต. ที่สมาชิกสภาอย่างน้อยจะต้องประกอบไปด้วย ปราชญ์ชุมชน คนเฒ่า คนแก่ หรือพระ หรือนักบวชที่เข้าใจ เข้าถึงบริบทชุมชน และควรจดทะเบียนให้เป็นนิติบุคคลมีงบประมาณสนับสนุนจาก อบต. รวมทั้งให้มีอำนาจในการฟ้องร้องเจ้าหน้าที่หรือพนักงานของรัฐที่ละเมิดสัญญาประชาคม รวมทั้งยับยั้ง เปลี่ยนแปลง แก้ไข แผนงานโครงการ และหรือมติใด ๆ ของ อบต. ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย ทำลายทุนทางสังคม หรือฐานทรัพยากรท้องถิ่นทั้งหมด หรือแต่บางส่วน และเพื่อป้องกันการสร้างอิทธิพลในพื้นที่และครอบงำเจ้าหน้าที่ในองค์กร เจ้าหน้าที่ระดับผู้ดำรงตำแหน่งปลัด อบต. ควรมีการโยกย้ายตามวาระที่เหมาะสม และองค์การบริหารส่วนตำบลควรแจ้งงบประมาณ แผนงานโครงการต่าง ๆ แก่ชุมชนอย่างแจ่มแจ้งโปร่งใส และร่วมทำกิจกรรมกับชุมชน อย่างกว้างขวาง และสม่ำเสมอ รวมทั้งสมาชิก อบต. เอง จะต้องได้รับการยกระดับ เรียนรู้กฎระเบียบการบริหารงานในองค์กรให้เข้าใจอย่างดีด้วย นอกจากนั้นเนื่องจากการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเกี่ยวกับใช้หลักพุทธธรรมในธรรมาภิบาล จึงควรที่จะมีการวิจัยเพิ่มเติมเป็นเชิงเปรียบเทียบการบริหารที่ใช้หลักธรรมาภิบาลในบริบทสากลกับหลักธรรมาภิบาลในมิติพุทธธรรมว่ามีความเหมือน และความต่างในด้านใดบ้าง ส่งผลต่อ ชุมชนในระดับลึก กว้างอย่างไร รวมทั้งควรมีการวิจัยเชิงเปรียบเทียบกับหลักศาสนธรรมอื่น ๆ เช่น หลักศาสนาอิสลาม เป็นต้นth
dc.description.abstractThe objectives of this study are as follows : 1) to study the application of good governance with Buddhist virtue-based in the administration of Tambon Kham Kaen Organization (TKKAO), 2) to study problems and obstacles derived from the application of good governance with Buddhist virtue-based in TKKAO, and 3) to suggest an appropriate guideline to apply such kind of administration to Tambon administration organization at large. The result of the study revealed that TKKAO was set up in 1998 and was operated in accordance with its authority and function stipulated by laws rather completely. However, its means of operations did not correspond with the six principles of good governance with Buddhist virtue-based namely: (1) legality, (2) legitimacy, (3) transparency, (4) participatory, (5) accountability and (6) efficiency. For example, in order to perform its function in promoting occupational groups in the community, TKKAO chose to support only the groups closed to itself which is against Buddhist principles of virtue. Besides, there were no transparent and systematic monitoring, auditing and evaluating, Moreover, the limited resources had been distributed unfairly and ineffectively. In addition, its decisions and operations were occupied by four prejudices, i.e., biased because of love, anger, ignorance, and fear. According to the Buddhist principles, an executive engulfed with these prejudices was generally in contradiction to dharma as cited in Singalakasutra in Tripitaka Canon Vol. 25, page164 : “Those who have violated this dharma principle because of love, anger, ignorance and fear will decline their own prestige like a waning moon.” Regarding to its function in making a campaign on natural resource and environment conservation, cultural and traditional revitalization, as well as formulating local development strategic plan, TKKAO mostly used their own judgment, paying no attention to advices and critics from public forum which was general will, as called in Buddhist principle“Paratokosa” or lack of participation. It was also lack of verifying their own stand-point and self-criticism through “Buddhi-panya” or cognitive wisdom which is a foundation of accountability in good governance which has been referred in the Lord Buddha saying appeared in the Royal Thai Tripitaka, Vol.25, page 55 as Attana jotayattanang which means “One should be warned by oneself ”. Buddhist principle of “Yoniso manasikarn” or considering problems with mindfulness and consciousness as the Lord Buddha saying in Tripitaka Ekanibatr, Vol.20, page 12 “For those who are consciously mindful, wholesome virtue not yet taken place, will occur ; while unwholesome virtue, already taken place, will decline.” These religious principles are regarded as a means to common Sammathitthi or common vision (right understanding). TKKAO did not perform in accordance with this Buddhist virtue, on the contrary, it operated with “Mitchathitti” (wrong view) and autocracy. Therefore, from field data analysis it should be concluded that TKKAO did not operate in correspondence to good governance with Buddhist virtue-based. The researcher therefore propose his suggestion as follows At policy level, the central government should stimulate Tambon administration organizations (TAO) to formulate plan and project on human resource development together with public services and utilities provision in order to make balance between consumerism in globalize capitalism predominantly over all and social capital including local resources prevailing in Thai society. Hence, at implementation level community judiciary council composed of community learned and civic group representatives who clearly understand their own contexts should be created as an advisory body of TAO. Importantly, this kind of council should be registered as a juristic entity with TAO budget support and legally authorized to bring suit to court against government officials who infringe upon civic agreement, also to stop, change or adjust any project or TOA decision if it deems to destroy local resource bases or social capital partly or totally. In order to prevent influencial domination over TAO and its officials, TAO chief administrator should be transferred and replaced on appropriate term. Besides, TAO should make public transparently its budgets, plans and projects as well as to stimulated community participation widely and continuously. Moreover TAO members should be upgraded through training processes so that they will clearly know and understand administrative rules and regulations and how to operate them effectively. Another recommendation is that there should be a comparative study on the different impacts resulted both in width and depth dimension from universal good governance administration and good governance with Buddhism virtue-based administration, including comparative research of other religious virtue-based such as Moslem in the southern provincesth
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectองค์การบริหารส่วนตำบลคำแคนth
dc.subjectองค์การบริหารส่วนตำบล -- ไทย -- ขอนแก่นth
dc.subjectการปกครองท้องถิ่น -- ไทย -- ขอนแก่นth
dc.subjectธรรมรัฐth
dc.subjectGood governanceth
dc.subjectLocal governmentth
dc.titleการศึกษาหลักพุทธธรรมในธรรมาภิบาลกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลคำแคน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่นth
dc.title.alternativeThe Buddhism Principle in Good Governance and Local Administration Organization : A Case Study of Kamkaen Local Administration Organization Munjakeeree District, Khonkaen Provinceth
dc.typeThesisth
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการบริหารสังคมth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf151.11 kBAdobe PDFView/Open
tableContent.pdf156.91 kBAdobe PDFView/Open
chapter1.pdf132.52 kBAdobe PDFView/Open
chapter2.pdf627.94 kBAdobe PDFView/Open
chapter3.pdf155.39 kBAdobe PDFView/Open
chapter4.pdf444.13 kBAdobe PDFView/Open
chapter5.pdf193.78 kBAdobe PDFView/Open
reference.pdf306.2 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.