Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2460
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานตามระบบบริหารคุณภาพ
Other Titles: ISO 9001:2015 The Influencing Factors of Work Motivation of ISO 9001:2015 Quality Management System.
Authors: มาริสสา อินทรเกิด
Marissa Intharakoed
ทิวาพร เสถียรมล
Tiwaporn Stianmol
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Keywords: ระบบบริหารคุณภาพ
Quality management system
การควบคุมคุณภาพ -- มาตรฐาน
Quality control -- Standard
ไอเอสโอ 9001
ISO 9001 Standard
การจูงใจ (จิตวิทยา)
Motivation (Psychology)
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทสภาพการปฏิบัติงานของพนักงานเกี่ยวกับระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงาน ที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานตามระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจของพนักงานในการปฏิบัติตามระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นพนักงานทุกตำแหน่งงานที่ปฏิบัติงานภายใต้ระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015 ใน 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท พี ควอลิตี้ แมชชีน พาร์ท จำกัด บริษัท ทีพี แมชชีน พาร์ท จำกัด และบริษัท นิตโตะ ดีด (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 170 คน เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ยแบบที การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ทดสอบสมมติฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05ผลการวิจัยพบว่า อายุ สถานะการเป็นพนักงาน ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน อายุงาน รายได้ต่อเดือน ต่างกัน ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานตามระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015 แตกต่างกัน ปัจจัยจูงใจ-ปัจจัยค้ำจุน ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ความก้าวหน้า การนิเทศงาน ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ความสัมพันธ์กับเพื่อร่วมงาน นโยบายและการบริหาร มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานตามระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015 และปัจจัยจูงใจ-ปัจจัยค้ำจุน ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ การนิเทศงาน ความก้าวหน้า ความรับผิดชอบ ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานตามระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015 จากผลการวิจัยองค์กรควรมีการพิจารณาปรับปรุงขั้นตอนการฝึกอบรม และมีเกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพ โดยพิจารณาจากความรู้ ทักษะของพนักงานในการเลื่อนตำแหน่งหรือปรับเงินเดือนประจำปี
This research objective was to study influence of 1) Study context of operator work condition comply with ISO 9001:2015 Quality management system, 2) compare personal factors effecting with work motivation of ISO 9001:2015 quality management system, and 3) study relation factors effecting work motivation of ISO 9001:2015 quality management system. The sample is employees all position working comply with ISO 9001:2015 of 3 company as P Quality Machine Parts Co., Ltd., TP Machine Parts Co., Ltd., and Nitto Deed (Thailand) Co., Ltd., The research is quantitative research were collect sample 170 persons. The statistics used for analysis were percentage, mean value, standard deviation, t-test, one-way ANOVA, Pearson correlation analysis and multiple regression analysis at the significant level of 0.05.The results of the research show that the personal factors of age, employee status, graduated, position, working year and salary effecting work motivation of ISO 9001:2015. The motivation factor–hygiene factors of the work itself, advancement, supervisor-technical, relations with supervision, relations with peers, company policy and administration were related with work motivation ISO 9001:2015. The motivation factor–hygiene factors of work itself, supervisor-technical, advancement, responsibility effecting work motivation ISO 9001:2015. The research finding the organization need to improve training procedure for employees and have criteria for performance appraisal depend on knowledge, skill effecting yearly promote and salary increase.
Description: วิทยานิพนธ์ (กจ.ม.) (การจัดการอุตสาหกรรม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2566
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2460
Appears in Collections:Business Administration - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tiwaporn Stianmol.pdf
  Restricted Access
2.03 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.