Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/252
Title: การเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ของผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนแออัด จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: An Accessibility to the Universal Health Coverage (UC) Rights of the Slum Dweller in Samutprakarn Province.
Authors: เสาวนิจ นิจอนันต์ชัย
กฤตวรรณ สาหร่าย
Keywords: สิทธิการรักษาพยาบาล
Right to health
ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ
National health insurance
ชุมชนแออัด -- ไทย -- สมุทรปราการ.
Slums -- Thailand -- Samutprakarn
Issue Date: 2010
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ของผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนแออัด จังหวัดสมุทรปราการ เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความครอบคลุมและแนวทางการปรับปรุงการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ของผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนแออัด จังหวัดสมุทรปราการ โดยสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 304 คน จากประชาชนผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัด 3 ชุมชน คือ ชุมชนคลองแสนสุข ชุมชนคลองสำโรง และชุมชนเกาะบ้านใหญ่ ซึ่งอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ การสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยข้อมูลการย้ายถิ่น สิ่งแวดล้อม ภาวะสุขภาพ ความรู้ และการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ SPSS for Window เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการศึกษามีดังนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 41-60 ปี มีสถานภาพสมรส จำนวน สมาชิกในครอบครัว 1-4 คน มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ไม่ได้ทำงานหรือว่างงาน ไม่มีรายได้ และรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายทุกคนมีบัตรทอง ในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ พบว่า 1) ความพอเพียงของรายได้กับค่าใช้จ่ายมีความสัมพันธ์เชิงลบต่อการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ของผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนแออัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) การย้ายที่อยู่อาศัยไม่มีความสัมพันธ์เชิงลบต่อการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ของผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนแออัด 3) ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำท่วม หรือน้ำเสีย ยุง มีผลกระทบต่อสุขภาพ มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการเข้ากถึงสิทธิการรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ของผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนแออัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) สภาพแวดล้อม เช่น อุบัติเหตุจากสะพานที่คับแคบ ชำรุด ทรุดโทรม ความสกปรกของผู้ที่อยู่อาศัยและบริเวณรอบๆ มีผลกระทบต่อสุขภาพมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ของผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนแออัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 5) ความเจ็บป่วยมีความสัมพันธ์เชิงลบต่อการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ของผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนแออัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 6) ทัศนคติมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ของผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนแออัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 จากข้อค้นพบดังกล่าว ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติการดังนี้ เชิงนโยบาย กระทรวงสาธารณสุขควรเพิ่มงบประมาณเหมาจ่ายรายหัว กำหนดตัวชี้วัดในการวัดประเมินสถานพยาบาลในเครือข่ายบัตรทองให้ได้มาตรฐานคุณภาพ รวมทั้งควรมีนโยบายเชิงรุกในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจัดให้มีนโยบาย "บัตรทองใบเดียว ใช้ได้ทั่วไทย" เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้ใช้บริการให้เข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลมากขึ้น เชิงปฏิบัติการ กระทรวงสาธารณสุขควรเน้นการทำงานเป็นพหุภาคีและบูรณาการระหว่างทุกหน่วยงาน จัดทำแผนการตรวจประเมินสถานพยาบาลในเครือข่ายบัตรทองเพื่อยกระดับสถานพยาบาลให้ได้มาตรฐาน จัดทำรายงานค่าใช้จ่ายเพื่อรวบรวมข้อมูลสู่ส่วนกลาง นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขควรจัดทำแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับหน่วยงานต่างๆ และกำหนดช่วงเวลาในการจัดกิจกรรม/โครงการร่วมกัน และควรจัดทำแผนงานเชิงรุกในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคโดยการสร้างแกนนำชุมชนในการดำเนินงานด้านสุขภาพชุมชน โรงพยาบาลปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานแบบตั้งรับมาเป็นการทำงานเชิงรุก องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ควรจัดทำแผนพัฒนาสภาพแวดล้อมในชุมชนเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุและเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ และดำเนินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมในชุมชน สถาบันการศึกษาควรจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนและชุมชน ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรร่วมจัดทำแผนงานประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ การขึ้นทะเบียน การรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) เพื่อเป็นช่องทางในการรับรู้ข่าวสารให้มากขึ้น และสร้างทัศนคติที่ดีให้เกิดขึ้นกับประชาชนผู้มารับบริการ
The research on An Accessibility to the Universal Health Coverage (UC) Rights of the Slum Dwellers in Samutprakarn Province is the quantitative research. The objectives are to study the coverage and to find ways to improve an accessibility to the Universal Health Coverage (UC) Rights of the Slum Dwellers in Samutprakarn Province. The samples used 304 persons who were selected by the simple random sampling from theree communities namelt Khlong Saeen Suk. Klong Samrong and Kao Banyai in Samutprakarn Province. The samples were interviewed based on questionnaires which includes items regarding their migration, environment, health condition, knowledge and accessibility to Universal Health Coverage (UC). The collected data was analyzed by the SPSS/PC computer program and the analyzed data was presented in percentage and mean. The relationship between independent variables and dependent variable was examined with multiple regression analysis. This study found that most samples were female, aged between 41-60 years. They were married, had 1-4 family members. They finished the primary education, did not work or jobless. They had no income or did not have enough income to cover their expense. Everyone had gold card. Thee examination of relationship between variables indicated as follows; 1)the income sufficiency had negative relationship towards an accessibility to the universal health coverage (gold card) of the slum dwellwers with statistical significant level 0.01. 2) Migration had no negative relationship towards accessibility to the universal health coverage (gold card) of the slum dwellers. 3) Environment problems such as flooding or water pollution, mosquito that affected to health had positive relationship towards accessibility to the universal health coverage (gold card) of the slum dwellers with statistical significant level 0.05. 4) The environmental such as the narroe or broken bridges, dirty residents and compound that affected to health had positive relationship towards accessibility to the universal health coverage (gold card) of the slum dwellers with statistical significant level 0.05. 5) The illness had negative relationship towards accessibility to the universal health coverage (gold card) of the slum dwellers with statistical significant level 0.05. 6) The attitude had positive relationship towards accessibility to the universal health coverage (gold card) of the slum dwellers with statistical significant level 0.001. Based on the findings mentioned above, research has recommendations as follow: On policies level, Ministry of Public Health should propose higher budget to government for the coverage of average expense per head under the universal health coverage (gold card)programme, as well as issueing the proactive policy in promoting health, disease prevention, providing policy on "one gold card for everywhere all over Thailand" to meet the needs of users. As for implementation of activities, Ministry of Public Health should emphasize on networking and integrating work with the related officers, organizning evaluation plan for health services centers within gold card networkd in order to standardize their services. Those health services centers should submit their financial report to the main center. Moreever, Ministry of Public Health should produce manuals for health promotion and diseases prevention for all organizations and fix the time for organizing some joint activities and joint projects, implementing proactive plan by building up more community leaders for community health care. Hospitals should change their work from passive to proactive approach. Tambon Administration Office (TAO) should build up the environment development plan in order to lesson accidents and diseases. Educational institutions should organize health promotion projects in schools and communities. All related offices should jointly build the public relation plan to provide knowledge on the benefits, registration, health services in the universal health coverage (gold card) in order to channel more informationn and building up good attitudes for the user people.
Description: วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (บูรณาการนโยบายสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2553
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/252
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf130.16 kBAdobe PDFView/Open
TableofContents.pdf101.91 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf150.52 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf505.73 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf169.3 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf180.88 kBAdobe PDFView/Open
References.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.