Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/258
Title: การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงปลานิลกับการเลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งขาวของกลุ่มเกษตรกร ตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Cost and Benefit Commparative Nile Tilapia and Nile Tilapia with White Shrimp of Agricultural Group in Srisajorrakaeyai Bangsaothong Samutprakarn
Authors: ชุติระ ระบอบ
Chutira Rabob
สุชาดา หงษ์จร
Suchada Hongjorn
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Keywords: ปลานิล -- การเลี้ยง
Nile tilapia
กุ้งขาว -- การเลี้ยง
Whiteleg shrimp
ต้นทุนและประสิทธิผล
Cost effectiveness
เกษตรกร -- ไทย -- สมุทรปราการ
Farmers -- Thailand -- Samutprakarn
ศีรษะจรเข้ใหญ่ (สมุทรปราการ)
Issue Date: 2020
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์ของการเลี้ยงปลานิลและการเลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งขาว เพื่อการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงปลานิลและการเลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งขาว เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงปลานิลกับการเลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งขาวของกลุ่มเกษตรกร ตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามร่วมกับการสัมภาษณ์จากกลุ่มเกษตรกรผู้การเลี้ยงปลานิล จำนวน 10 รายและเลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งขาวจำนวน 27 ราย ผลการศึกษาพบว่า ขนาดพื้นที่เลี้ยงขนาดเล็ก คือ ตั้งแต่ 1 ไร่ -10 ไร่ กลุ่มเกษตรกรที่เลี้้ยงปลานิลได้กำไรโดยเฉลี่ย 2,904 บาทต่อไร่ แต่กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งขาวได้กำไรเฉลี่ย 19,645 บาทต่อไร่ ได้ผลตอบแทนมากกว่าถึงร้อยละ 85 ขนาดพื้นที่เลี้ยงขนาดกลาง คือ ตั้งแต่ 11 ไร่ - 20 ไร่ กลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยงปลานิลได้กำไรโดยเฉลี่ย 1,697 บาทต่อไร่ แต่กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งขาวได้กำไรเฉลี่ย 9,894 บาทต่อไร ผลตอบแทนมากกว่าร้อยละ 82 สรุปกลุ่มผู้เลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งขาวได้กำไรเฉลี่ยบาทต่อไร่ มากกว่ากลุ่มผู้เลี้ยงปลานิล โดยต้นทุนน้อยที่ใช้เลี้ยงไม่แตกต่างกัน สำหรับการเลี้ยงปลานิลเพียงอย่างเดียวและการเลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งขาวจะได้กำไรสูงสุดเมื่อเลี้ยงในพื้นที่ขนาดเล็ก คือ ตั้งแต่ 1 ไร่-10 ไร่ เกษตรกรที่เลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งขาวใช้วิธีลดต้นทุนค่าอาหารโดยให้อาหารรำ อาหารเม็ด ฟางข้าว ขนมปัง ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มเกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงปลานิลเพียงอย่างเดียวที่นิยมเลี้ยงด้วยอาหารรำ อาหารเม็ด และขี้ไก่ จึงทำให้ได้ผลตอนแทนสูงสุด
The purpose of research to study the situation between tilapia farming and tilapia farming with white shrimp, to compare and analysis of cost and financial return of Nile Tilapia fish farming and Nile tilapia farming with white shrimp of a farmer group in Srisajorrakaeyai Bangsaothong Samutprakarn province. The data was collected by using questionnaires with interviews from 10 groups of farmers Nile Tilapia farming and 27 groups of farmers Nile Tilapia farming with white shrimp. The results of the study showed that the size of small farming areas is from 1 rai - 10 rai, the group of farmers Nile Tilapia farming get an average profit 2,904 baht/rai. The group of farmers Nile Tilapia fish with shrimp get an average profit of 19,645 baht/rai more than 85%. That the size of medium-sized farming areas is from 11 rai-20 rai. The group of farmers that raise tilapia earns an average profit of 1,697 baht/rai, but the group of fatmers Nile Tilapia with white shrimp earn an average of 9.894 baht/rai more than 82%. Summary farmers Nile Tilapia fish with white shrimp earns an average profit of baht/rai more than of the group of Nile Tilapia farmers. For Nile Tilapia farming, the highest profit will be achieved when culturing in the small area from 1 rai-10 rai, and farmers Nile Tilapia with white shrimp with raising by reducing the cost of food by feeding bran / grain food / rice straw / bread.
Description: วิทยานิพนธ์ (กจ.ม.) (การจัดการอุตสาหกรรม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2563.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/258
Appears in Collections:Business Administration - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SUCHADA-HONGJORN.pdf4.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.