Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2587
Title: การสำรวจความพึงพอใจของญาติผู้ต้องขังต่อการให้การบริการเยี่ยมผู้ต้องขังเรือนจำ : ศึกษาเฉพาะกรณีที่เรือนจำกลางสมุทรปราการ
Other Titles: A Survey on Prisoner Relatives' Satisfaction on Visiting Service Rendering by Samutpakarn Central Prison
Authors: ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล
Thipaporn Phothithawil
เชิญศักดิ์ ดอกเกี๋ยง
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Keywords: เรือนจำกลางสมุทรปราการ
Samutpakarn Central Prison
นักโทษ
Prisoners
ครอบครัวนักโทษ
Prisoners' families
ความพอใจ
Satisfaction.
Issue Date: 2004
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การทำการศึกษาด้วยตนเองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของญาติผู้ต้องขังที่เข้ามาใช้บริการเยี่ยมผู้ต้องขังในเรือนจำกลางสมุทรปราการ 2) เพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อเรือนจำและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการปรับปรุงและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพการให้บริการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากญาติผู้ต้องขังที่มาใช้บริการจำนวน 150 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละและค่าเฉลี่ย (x̄) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 70 และเพศชาย ร้อยละ 30 อายุระหว่าง 15-30 ปี ร้อยละ 57.3 อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 26.7 การศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 43.3 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 4,001-8,000 ร้อยละ 38.7 ขอรับบริการเรื่องการเยี่ยมผู้ต้องขัง ร้อยละ 69.3 และสถานภาพ โสด ร้อยละ 49.3 ผลการศึกษามีดังนี้ญาติผู้ต้องขังมีระดับความพึงพอใจ ต่อการมาใช้บริการเยี่ยมผู้ต้องขังของเรือนจำกลางสมุทรปราการสูงสุด คือความพึงพอใจต่อด้านบุคลากร ผู้ให้บริการอยู่ในระดับค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย 3.66) โดยแบ่งเป็นความพึงพอใจต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่รับจองคิวเยี่ยมผู้ต้องขังในระดับค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย 3.58) เจ้าหน้าที่ประจำห้องเยี่ยมผู้ต้องขังในระดับค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย 3.63) เจ้าหน้าที่รับ-ฝากเงินของผู้ต้องขังในระดับค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย 3.73) และเจ้าหน้าที่ร้านสงเคราะห์ผู้ต้องขังในระดับค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย 3.72)ความพึงพอใจด้านขั้นตอนการเยี่ยมผู้ต้องขัง ในระดับค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย 3.59) โดยแบ่งเป็นความพึงพอใจต่อการให้บริการเป็นระบบ ไม่ยุ่งยากในระดับค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย 3.68) ผู้ต้องขังในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.24) ระบบคิว คือ ใครมาก่อนได้รับบริการก่อนในระดับค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย 3.79) และการให้บริการอย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดพักเนื่องในระดับค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย 4.15)ความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ในระดับค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย 3.56) โดยแบ่งเป็นความพึงพอใจต่อการให้บริการหนังสือในระดับค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย 3.70) พัดลมในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.38) น้ำเย็นสำหรับดื่มในระดับค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย 3..52) โทรทัศน์ในระดับค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย 3.64) และโทรศัพท์ในระดับค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย 3.76)ด้านอาคารสถานที่ ในระดับค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย 3.57) โดยแบ่งเป็นความพึงพอใจต่อการให้บริการห้องเยี่ยมผู้ต้องขังในระดับค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย 3.60) ที่พักสำหรับพักรอเยี่ยมผู้ต้องขังในระดับค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย 3.55) ห้องน้ำในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.38) ลานจอดรถในระดับค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย 3.77) และร้านสงเคราะห์ผู้ต้องขังในระดับค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย 3.55)ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ คือ คัดเลือกเจ้าหน้าที่ผู้ทำหน้าที่การให้บริการอย่างเหมาะสม จัดเจ้าหน้าที่ให้บริการอย่างเพียงพอ สนับสนุนให้มีอาสาสมัครคอยให้คำแนะนำแก่ญาติผู้ต้องขัง จัดทำป้ายปิดประกาศพร้อมหมายเลขให้เห็นถึงแต่ละขั้นตอนเผยแพร่แจกให้กับญาติผู้ต้องขัง จัดทำแผ่นพับเกี่ยวกับกำหนดวัน เวลา และขั้นตอนเผยแพร่แจกให้กับญาติผู้ต้องขังจำแนกผู้ต้องขังออกเป็นประเภทต่างๆ เพื่อง่ายต่อการติดตามตัว นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการเยี่ยมผู้ต้องขัง ลดขั้นตอนการเยี่ยมผู้ต้องขังให้น้อยที่สุด จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้เพียงพอ จัดสถานที่ให้ดูสะอาด สวยงาม สะดวก ปลอดภัย มั่นคงและเพียงพอ
Description: ภาคนิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2547
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2587
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
A-Survey-on-Prisoner-Relatives-Satisfaction-on-Visiting-Service.pdf
  Restricted Access
10.43 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.