Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2607
Title: แรงจูงใจและการตัดสินใจของนักเรียนระดับอาชีวศึกษาที่มีผลต่อการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี : ศึกษาเฉพาะกรณี นักเรียนระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง จังหวัดชัยนาท
Other Titles: Incentive and Decision Making of Vocational Students Effecting the Continuing Study for Bachelor's Degree : A Case Study of Higher Vocational Students in Chainat Provice.
Authors: อารีนา เลิศแสนพร
Areena Lertsaenporn
ชานนท์ พวงทรัพย์
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Keywords: นักเรียนอาชีวศึกษา -- การศึกษาต่อ
Vocational school students -- Education
การศึกษาขั้นอุดมศึกษา
Education, Higher
การตัดสินใจ
Decision making
การจูงใจในการศึกษา
Motivation in education
Issue Date: 2008
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาแรงจูงใจและการตัดสินใจของนักเรียนระดับอาชีวศึกษาที่มีผลต่อการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี : ศึกษาเฉพาะกรณีนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จังหวัดชัยนาท ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจและการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง 2 ปี) เพื่อรวบรวมเหตุผลที่ใช้ตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง 2 ปี) โดยเก็บข้อมูลจากนักเรียนอาชีวศึกษาระดับ ป.ว.ส. ปี 2 ในจังหวัดชัยนาท จำนวน 289 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติเชิงอนุมาน ในการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยมีดังนี้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นชายร้อยละ 49.5 เป็นหญิงร้อยละ 50.5 ส่วนใหญ่มีพี่น้อง 1-2 คน คิดเป็นร้อยละ 73.7 เป็นบุตรลำดับที่ 1-2 คน คิดเป็นร้อยละ 85.2 ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในอำเภอเมือง คิดเป็นร้อยละ 24.9 เรียนสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คิดเป็นร้อยละ 28.8 เกรดเฉลี่ยสะสม 2.50-3.49 คิดเป็นร้อยละ 58.8 ระดับการศึกษาของบิดาของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 45.0 และมารดาจบการศึกษาระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 52.7 อาชีพของบิดาและมารดาส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมหรือปศุสัตว์ คิดเป็นร้อยละ 32.9 และร้อยละ 31.5 ตามลำดับ ส่วนใหญ่บิดามีรายได้อยู่ในช่วง 0-8,100 บาท คิดเป็นร้อยละ 42.9 มารดามีรายได้อยู่ในช่วง 0-7,900 บาท คิดเป็นร้อยละ 46.0ผลการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาต่อปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 75.8 คิดว่ารายได้จะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 49.1 คิดว่าค่าใช้จ่ายโดยประมาณต่อเทอมอยู่ในช่วง 15,000-20,000 บาท และร้อยละ 85.5 ต้องการที่จะศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีผลการศึกษาระดับความคิดเห็นด้านแรงจูงใจในการศึกษาต่อและระดับความเห็นด้านการตัดสินใจในการศึกษาต่อ พบว่า ระดับความเห็นต่อแรงจูงใจด้านครอบครัวอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ระดับความคิดเห็นต่อแรงจูงใจด้านความมั่นคงในอาชีพอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด และระดับความคิดเห็นด้านการตัดสินใจในการศึกษาต่ออยู่ในระดับเห็นด้วยมากผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับแรงจูงใจในการศีกษาต่อและระดับการตัดสินใจในระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง 2 ปี) กับตัวแปรต่างๆ พบว่า1. แรงจูงใจในด้านครอบครัวกับตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ลำดับการเป็นบุตรจำนวนพี่น้องร่วมบิดามารดา ระดับการศึกษาของบิดา ระดับการศึกษาของมารดา อาชีพของมารดา รายได้เฉลี่ยของบิดา รายได้เฉลี่ยของมารดา ความคาดหวังต่อการเพิ่มขึ้นของรายได้ เมื่อสำเร็จการศึกษา2. แรงจูงใจด้านความมั่นคงในอาชีพกับตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ ความต้องการเรียนต่อ คะแนนเฉลี่ยสะสม รายได้เฉลี่ยของบิดา รายได้เฉลี่ยของมารดา ความคาดหวังการเพิ่มขึ้นของรายได้ เมื่อสำเร็จการศึกษา3. การตัดสินใจศึกษาต่อกับตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความต้องการเรียนต่อ คะแนนเฉลี่ยสะสม ความคาดหวังต่อการเพิ่มขึ้นของรายได้ เมื่อสำเร็จการศึกษาจากผลการวิจัยดังกล่าวนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะต่อ รัฐบาลควรมีการสนับสนุนโครงการเรียนฟรีในระดับอุดมศึกษา หรือมีกองทุนกู้ยืมให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน ควรจัดตั้งหน่วยงานที่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา รัฐควรหามาตรการรองรับ นักศึกษาจบใหม่ให้มีงานทำทุกคน และตรงกับสายงานที่ตัวเองเรียน เพราะจากการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างต้องการศึกษาต่อเพราะต้องการอาชีพการงานที่มั่นคง รัฐควรจัดตั้งหน่วยงานหรือองค์กร ด้านการเพิ่มคุณภาพด้านการศึกษาของเยาวชนในต่างจังหวัด และมีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้ทั่วถึงทุกจังหวัด เพื่อเพิ่มปริมาณคุณภาพของประชาชน และลดภาระค่าใช้จ่ายในการศึกษาของประชาชนสถาบันการศึกษาควรมีหน่วยงานเกี่ยวกับการแนะแนวด้านการศึกษาต่อโดยเพาะ ซึ่งสามารถให้ความรู้ คำแนะนำ หรือให้คำปรึกษาแก่เด็กนักเรียนได้ มีการจัดหาโควต้าจากสถาบันต่างๆ เพื่อให้เด็กมีทางเลือกที่หลากหลาย มีการประชาสัมพันธ์ถึงข้อดีของการเรียนต่อ หรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเมื่อเรียนจบ ควรมีการจัดดูงานตามมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจแก่นักเรียนสถาบันครอบครัวควรให้การสนับสนุนด้านการเรียนแก่นักเรียน และคอยเป็นกำลังใจ หรือคอยกระตุ้นให้นักเรียนมีกำลังใจที่จะศึกษาต่อและประสพความสำเร็จในอนาคต ควรมีการแนะนำในด้านต่างๆ โดยการใช้เหตุผล ปลูกฝังให้ลูกมีการรักเรียนตั้งแต่เด็กคอยตักเตือนลูกๆ ในยามที่ลูกกระทำผิดสำหรับการศึกษาครั้งต่อไปควรมีการศึกษาและทำการวิจัยซ้ำ ในเรื่องแรงจูงใจและการตัดสินใจที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีและควรเพิ่มตัวแปรอิสระให้มากขึ้น เช่น ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย ความนิยมในการเลือกสถานที่เรียน ที่ตั้งของสถาบันการศึกษา ระยะทางในการเดินทางระหว่างที่อยู่อาศัยกับสถาบันการศึกษา และควรมีการศึกษาและทำการวิจัยในเรื่องแรงจูงใจและการตัดสินใจที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี กับกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในสถานศึกษาทั่วประเทศทั้งสายสามัญและสายอาชีพ
Description: การศึกษาอิสระ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2551
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2607
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Incentive-and-Decision-Making-of-Vocational-Students.pdf
  Restricted Access
12.88 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.