Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/261
Title: การศึกษาการเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการ SMEs ที่มีต่อการย้ายถิ่นของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Study of SMEs Entrepreneurs Preparation for Migration of Foreign Workers in Samutprakarn Province
Authors: ชุติระ ระบอบ
Chutira Rabob
จิราพร แสนบัว
Jiraporn Saenbua
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Keywords: ผู้ประกอบการ
แรงงานต่างด้าว -- ไทย -- สมุทรปราการ
การย้ายถิ่นของแรงงาน
Entrepreneurship
Foreign workers -- Thailand -- Samutprakarn
Migrant labor
Issue Date: 2018
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการ SMEs ที่มีต่อการย้ายถิ่นของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรปราการ และเพื่อวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคในการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการ SMEs ที่มีต่อการย้ายถิ่นของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรปราการ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Method Approach) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาผู้ประกอบกร SMEs จำนวน 397 ราย ที่แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ได้แก่ สัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา และใช้แบบสัมภาษณ์ สัมภาษณ์หน่วยงานราชการ จำนวน 3 หน่วยงาน และสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 3 ประเภทธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจการผลิต การค้า และการบริหาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม เพื่อวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-Way ANOVA สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่มีมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป ถ้าพบว่า ข้อมูลมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทำการตรวจสอบอีกครั้งโดยใช้วิธีของ Least Significant Difference LSD จากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า หากขาดแรงงานต่างด้าวเหล่านั้น ได้เดินทางกลับบ้านแล้วไม่กลับมาทำงานให้กับประเทศไทยจะส่งผลเรื่องการขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่กล้าเสี่ยงที่จะใช้แรงงานไทยที่มีอยู่ เนื่องจากมองว่าแรงงานไทยมีการเปลี่ยนงานบ่อย เลือกงานทำ ขาดความอดทน และยากต่อการบังคับบัญชา ผู้ประกอบการ SMEs มีปัญหาและอุปสรรคต่อการเตรียมความพร้อมในด้านต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น การดำเนินการขึ้นทะเบียนตามขั้นตอนทางกฎหมาย หากในช่วงขาดแคลนแรงงานกะทันหัน ทางหน่วยงานภาครัฐไม่สามารถจัดหาแรงงานมาได้ในทันที เนื่องจากต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนที่ซับซ้อน หากจะใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรเข้ามาทดแทนในทันทีไม่สามารถทำได้ เนื่องจากต้องใช้เงินทุนเป็นจำนวนมาก ซึ่งบางกิจการไม่มีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรมาช่วย
The purpose of this study is to determine the SMEs entrepreneur's preparation to the migrant workers in Samutprakorn province and analyse an opportunities and obstacles by Mixed Method Research. By using the questionnaire to accoumulate data from the 397 SMEs entrepreneurs who hire a migrant workers from 3 nationalities are as follows Burmese, Laos and Cambodian. And using interview along the 3 specific government with 3 categories of SMEs entrepreneurs which of the following is Manufacturing Business, Trades and Service. The data analysis by the One-Way ANOVA programs to find out the percentage, average and standard deviation representative sample. When differences in statistical significant, The Least Significant Differences LSD was examined again. After analysis, the result of in-depth interview found that, when the migrant workers return to their homeland and do not come back to Thailand, Thailand would be affected the labour shortage. Beacuse most of entrepreneur's thought is hiring the existed Thai workers was risk. They usually change jobs, unenthusiastic, impulsive, arrogant and difficult to control. The SMEs entrepreneur has a prepared problems and obstacles about expenses such as the process of registration. The government agencies unable to immediately provide a migrant workers during the labour shortage due to a complex processes. Using a technology or machine are impracticable because spend a lot of capital along with unnecessary in some business.
Description: วิทยานิพนธ์ (กจ.ม.) (การจัดการอุตสาหกรรม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2561.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/261
Appears in Collections:Business Administration - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
JIRAPORNSAENBUA.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.