Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2749
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorหทัยชนก บัวเจริญ-
dc.contributor.advisorวนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย-
dc.contributor.advisorHathaichanok Buajaroen-
dc.contributor.advisorVanida Durongrittichai-
dc.contributor.authorณฐมน เภรีวิวัฒน์-
dc.contributor.authorNatamon Pareewiwat-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.date.accessioned2024-09-05T13:25:44Z-
dc.date.available2024-09-05T13:25:44Z-
dc.date.issued2007-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2749-
dc.descriptionการศึกษาอิสระ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2550.en
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการจัดการผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารจากยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS) ในผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อโดยใช้การประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานข้อมูลของเมลินย์และไฟเอาท์-โอเวอร์ฮอลท์ (Melnyk, Fineout-Overholt. 2005) เป็นกรอบในการพัฒนาจนได้งานวิจัยที่ตรงประเด็นปัญหา จำนวน 30 เรื่อง นำงานวิจัยมาวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลในการจัดการผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารจากการใช้ยา NSAIDs ในผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อ จากนั้นนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปตรวจสอบความแม่นตรงและความเป็นไปได้จากแพทย์อายุรกรรม และพยาบาลประจำศูนย์สุขภาพชุมชนอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ผลการศึกษา พบว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 1) การประเมินข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ได้แก่ อายุ เพศ อาชีพ พันธุกรรมและค่าดัชนีมวลกาย 2) การประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงในระบบทางเดินอาหารจากการใช้ยา NSAIDS ได้แก่ ประวัติการเจ็บป่วยในเรื่อง โรคระบบทางเดินอาหาร ประวัติโรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคเบาหวานที่กำลังรักษา การใช้ยาในการรักษาโรคกระดูกและข้อ ลักษณะการใช้ยา NSAIDS การใช้ยาอื่นร่วมกับยา NSAIDS ประวัติการดื่มสุรา และประวัติการสูบบุหรี่ 3) การประเมินความรุนแรงของปัจจัยเสี่ยงต่อผลข้างเคียงในระบบทางเดินอาหารจากการใช้ยา NSAIDS 4) การประเมินการซักประวัติและตรวจร่างกายผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม โรครูมาตอยด์และโรคเกาต์ จากนั้นนำผลการประเมินมาแยกระดับความรุนแรงของผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารจากยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ คือ รุนแรงน้อย รุนแรงปานกลาง และรุนแรงมาก 5) การจัดการผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารจากยา NSAIDS โดยวิธีการใช้ยาและไม่ใช้ยา ตามระดับความรุนแรงของผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารจากยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ในแต่ละโรค ทั้ง 3 ระดับซึ่งการจัดการผลข้างเคียงโดยไม่ใช้ยา ได้แก่ การให้ความรู้ในเรื่องโรค การลดน้ำหนัก พืชตระกูลถั่วและชะเอมสามารถช่วยลดภาวะแทรกซ้อนของไอบูโปรเฟน การใช้ยาสกัดจากขิงแทนไดคลอฟิแนคในการลดอาการเจ็บปวด การออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อแข็งแรง กาลดการใช้ยา NSAIDS และการดูแลด้านจิตใจแก่ผู้ป่วย ส่วนการจัดการผลข้างเคียงโดยการใช้ยา ได้แก่ การใช้ยาให้ถูกต้องตามชนิดและประเภท การใช้ยาให้ถูกขนาด การใช้ยาให้ถูกวิธี การใช้ยาให้ถูกคน การใช้ยาให้ถูกเวลา และการใช้ยาให้ถูกทางข้อเสนอแนะในการศึกษา การใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลนี้ควรติดตามประเมินผลภายหลัง การใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล ประมารณ 2 สัปดาห์ และควรปรับปรุงแนวปฏิบัติการพยาบาลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอตามองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นen
dc.description.abstractThe Purpose of this study was to develop the clinical nursing practice guideline (CNPG) for gastrointestinal side effect management from Non-steroidal Anti-Inflammatory Drugs (NSAIDS) in orthopedic patients, including osteoarthritis, rheumatoid arthritis, and gout, by modifying a research utilization model of Melnyk, Fineout-Overholt’s (2550). Thirty papers were analyzed and synthesized underlying this model. The CNPG was then submitted for expert evaluation by two medical doctor and three nurses who work at primary care unit, Bangkontee District, Samutsongkram Province.The results found that the CNPG development consisted of 1) the general data assessment related to age, sex, occupational, family’s history and body mass index 2) risk assessment of gastrointestinal side effect occurred from NSAIDS usage including health history about gastrointestinal disease, cardiovascular disease, and Diabetes Melitus, NSAIDs usage, other drug usages, alcohol consumption, drinking and smoking history. 3) risk assessment of the severity of gastrointestinal side effect occurred from NSAIDs 4) health history and physical examination related to osteoarthritis, rheumatoid arthritis and gout. It was classified to be mild, moderate and severe 5) the management of side effect of NSAIDs to gastrointestinal system by non-pharmacological and pharmacological administrations. The non-pharmacological administration included health education, weight control, exercise for muscle strengthening, herb usage for reducing side effect of ibuprofen, ginger extract usage for reducing pain instead of diclofenac, gradual reducing NSAIDs usage and mental support. The nursing management for avoiding gastrointestinal side effect from pharmacological usage was the effective drug administration including right drug, right dose, right method, right time, right patient, and right technique.This CNPG should be evaluated the patient’s outcome after two weeks. It should be continually adjusted the assessment and the management guidelines, especially NSAIDs administration, for updating nursing practice and quality of life of orthopedic patients.en
dc.language.isothen
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.subjectข้อ -- โรคen
dc.subjectJoints -- Diseases.en
dc.subjectสารต้านการอักเสบ -- ผลข้างเคียงen
dc.subjectAnti-inflammatory agents -- Side effects.en
dc.subjectระบบกระเพาะอาหารและลำไส้en
dc.subjectGastrointestinal system.en
dc.subjectกระดูก -- โรคen
dc.subjectBones -- Diseasesen
dc.titleการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการจัดการผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารจากยาต้านการอักเสบไม่ใช่สเตียรอยด์ในผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อen
dc.title.alternativeThe Development of a Clinical Nursing Practice Guideline for Gastrointestinal Side Effect Management from Non-steroidal Anti-inflammatory Drugs (NSAIDs) in Orthopaedic Patientsen
dc.typeIndependent Studiesen
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนen
Appears in Collections:Nursing - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
The-Development-of-a-Clinical-Nursing-Practice-Guideline.pdf
  Restricted Access
23.31 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.