Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2757
Title: | คุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้หญิงในระดับผู้บริหารในธุรกิจภาคการบริการ |
Other Titles: | Leadership Characteristics of Female Executive in Service Work |
Authors: | เสาวนิจ นิจอนันตชัย Saowanit Nitananchai ณัฏฐ์ปนิตา สีบุญเรือง Natpanita Sibunruang Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
Keywords: | ภาวะผู้นำของสตรี Leadership in women นักธุรกิจสตรี Businesswomen บุคลิกภาพ Personality การสนับสนุนทางสังคม Social support |
Issue Date: | 2004 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษานี้ เป็นการศึกษาคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้หญิงในระดับผู้บริหารในธุรกิจภาคการบริการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้หญิงในระดับผู้บริหารในสายงานด้านธุรกิจภาคงานบริการ จำนวน 8 คน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้หญิงที่มีบทบาทการเป็นผู้นำในระดับผู้บริหารผลการศึกษา พบว่า ผู้หญิงในระดับผู้บริหาร มีอายุเฉลี่ย 34 ปี ทุกคนมีสถานภาพสมรส สามีมีอายุเฉลี่ย 38 ปี อายุห่างระหว่างสามีภรรยามากที่สุด คือ 10 ปี จบการศึกษาปริญญาตรีถึงปริญญาโท การศึกษาของสามี อนุปริญญาโท จำนวนบุตร 0-3 คน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อบทบาทการเป็นผู้นำของผู้หญิงในระดับผู้บริหาร ได้แก่ ปัจจัยครอบครัว และคู่สมรส และปัจจัยทางสังคมผลการศึกษาปัจจัยครอบครัวและคู่สมรส ได้แก่ 1) การอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว พบว่ามาจากครอบครัวที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด อบอุ่นและรักใคร่กัน การอบรมเลี้ยงดูมีลักษณะของการช่วยเหลือตนเอง สอนให้รู้จักคิดและตัดสินใจด้วยตนเอง มีความรับผิดชอบต่อตนเอง แต่ไม่ทิ้งความสัมพันธ์ในลักษณะของการปรึกษาหารือ ลักษณะการอบรมเลี้ยงดูส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะมีความเป็นตัวของตัวเองสูงในทุกเรื่อง และให้ความสำคัญกับตนเองเป็นสำคัญ 2) การศึกษาและประสบการณ์การทำงานของคู่สมรส ประสบการณ์ และความรู้ของสามี มีส่วนน้อยในการผลักดันการทำงานของภรรยา เนื่องมาจากระดับการศึกษาที่ไม่ต่างกันน และลักษณะของการทำงานที่ไม่เหมือนกัน 3) ทัศนคติต่อการทำงานของคู่สมรสสามีมีส่วนในเรื่องของการทำงานของภรรยาน้อยมาก ในด้านความคิด การตัดสินใจยังคงขึ้นอยู่กับภรรยาเป็นส่วนใหญ่ สามีจะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาตามโอกาสเท่านั้น 4) ทัศนคติต่อการทำงานของครอบครัว ครอบครัวจะไม่มีอิทธิพลในการตัดสินใจในเรื่องหน้าที่การงาน ตำแหน่งงาน ตลอดจนเรื่องอื่นๆ 5) บทบาทภายในครอบครัว ในที่นี้ หมายถึง กิจกรรม หรือสิ่งที่กลุ่มตัวอย่างได้รับเมื่อครั้งอยู่กับครอบครัวของตนเองเป็นชีวิตก่อนการสมรส พบว่า บทบาทที่ได้รับมากที่สุด คือ การถูกปลูกฝังในเรื่องของการทำงานบ้าน 6) การแบ่งงานในครัวเรือนระหว่างสามีภรรยาในครอบครัวปัจจุบัน พบว่า เป็นไปอย่างพี่งพากัน โดยส่วนใหญ่สามีมีบทบาทอย่างมากในการให้ความข่วยเหลือในเรื่องการทำงานบ้านแก่ภรรยาที่ไม่มีเวลา 7) อำนาจการตัดสินใจในชีวิตสมรส ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับภรรยา สามีเป็นเพียงที่ปรึกษาในบางกรณีเท่านั้นปัจจัยทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อลักษณะการเป็นผู้นำของผู้หญิงในระดับผู้บริหาร พบว่า ต้องได้รับแรงผลักดันทั้งจากองค์กร และการยอมรับจากสังคม โดยต้องอาศัยสื่อมวลชนเป็นกระบอกเสียงที่สำคัญ และมีอิทธิพลมากที่สุดที่จะเป็นเครื่องมือในการเรียกร้องสิทธิของสตรี ทำหน้าที่ในการนำเสนอบทบาท ความสามารถของผู้หญิง ให้สังคมได้ตระหนักว่า ผู้หญิงก็มีความสามารถทัดเทียมกับชาย สามารถอยู่ในตำแหน่งงานในระดับผู้นำได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในเรื่องของความสามารถในการทำงานของผู้หญิง เป็นเรื่องที่กลุ่มตัวอย่างต้องการให้สื่อมวลชนนำเสนอมากที่สุด รองลงมา คือ เรื่องของความคิดและสิทธิที่ผู้หญิงพึงได้รับเท่าเทียมกับผู้ชายลักษระของผู้หญิงที่มีบทบาทการเป็นผู้นำในระดับผู้บริหาร ได้แก่ การมีลักษณะการเป็นผู้นำในระดับผู้บริหาร ได้แก่ การมีลักษณะการเป็นผู้นำตามทฤษฎีคุณลักษณะของผู้นำ โดยเฉพาะมีความมั่นใจและเชื่อมั่นในตนเองอยู่ในระดับสูง มีความรู้ ความสามารถเชี่ยวชาญในงานที่ตนทำ โดยเฉพาะความสามารถในการบริหารทั้งงานในบ้านและนอกบ้าน มีลักษณะด้านกายภาพที่เหมาะสมกับคุณลักษณะของการเป็นผู้นำ ลักษณะพฤติกรรมของผู้นำหญิงในระดับผู้บริหารกลุ่มนี้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก จะมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อตนเอง มีแรงผลักดันและมุ่งความสำเร็จเพื่อตัวเอง การแสดงออกของพฤติกรรมมีลักษณะ การออกคำสั่ง เอาแต่ใจ ถือการตัดสินใจของตนเป็นใหญ่ หากมีใครขัดจะเกิดปัญหาทันที จะแสดงออกทั้งในหน้าที่การงานและครอบครัว กลุ่มที่สอง จะแสดงพฤติกรรมตรงกันข้ามกับกลุ่มแรกในเรื่องของความคิด แต่ยังคงบุคลิกภาพที่มั่นใจในตนเองอยู่ กล่าวคือ คนกลุ่มนี้จะถือคติเอาใจเขามาใส่ใจเรา รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ยึดติดเฉพาะตนเอง ด้านแรงจูงใจ สำหรับผู้นำของผู้หญิงในระดับผู้บริหาร ได้แก่ ตนเอง ครอบครัว สามี บุคคลใกล้ชิด และอื่นๆ ข้อเสนอแนะ จากการศึกษา คือ 1) สื่อมวลชน ควรนำเสนอบทบาทของผู้หญิงในด้านความรู้ ความสามารถให้เป็นที่ประจักษ์ในสังคมให้มากขึ้น และลดการนำเสนอภาพลักษณ์ในทางลบของผู้หญิง 2) การนำเสนอข่าวสารที่เกี่ยวกับภาพลักษณ์ของผู้หญิงไม่ควรส่งเสริมในฐานะวัตถุทางการค้า 3) รัฐควรตระหนักถึงความสำคัญของผู้หญิง โดยควรยืดกฎหมายรองรับสิทธิของผู้หญิงให้มากกว่าที่มีอยู่ 4) สังคมควรให้โอกาส ยอมรับ เชิดชูความรู้ความสามารถของผู้หญิงโดยเริ่มจากผู้หญิงเก่งในครอบครัว องค์กร ชุมชน จนถึงในระดับประเทศ 5) พ่อแม่ ควรมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ดีในบทบาทของลูกที่เป็นหญิง ด้วยการยอมรับและให้การส่งเสริมลูกสาวให้เท่าเทียมกับลูกชาย 6) ในครอบครัวควรเสนอความคิดและทัศนคติที่ดีให้กับลูกชายให้ยอมรับในความสามารถของผู้หญิง ซึ่งถือเป็นบันไดขั้นแรกในการให้ผู้ชายยอมรับในสิทธิของผู้หญิงมากขึ้น |
Description: | ภาคนิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2547 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2757 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Leadership-Characteristics-of-Femal-Executive-in-Service-Work.pdf Restricted Access | 15.89 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.